สสส. สานพลัง มูลนิธิปลูกต้นไม้ ปลูกธรรมะ ผนึกกำลัง 17 หน่วยงาน ชวนทำบุญวิถีใหม่ เวียนเทียนต้นไม้ ลดฝุ่น PM2.5 งดจุดธูป-เทียน ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ตลอดปี 68

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 16 ม.ค. 2568 ที่ อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ มูลนิธิปลูกต้นไม้ ปลูกธรรมะ และภาคีเครือข่าย 17 หน่วยงาน     ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการทำบุญวิถีใหม่ เวียนเทียนด้วยต้นไม้ ลดฝุ่น ส่งเสริมการทำบุญวิถีใหม่ที่บูรณาการการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ลดฝุ่น PM2.5 และสร้างพื้นที่สีเขียว เพื่อสร้างสุขภาวะที่ยั่งยืนให้กับสังคม ตามแนวทางพระพุทธศาสนาและการอนุรักษ์ธรรมชาติ

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม รองผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า จากข้อมูลของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า มลพิษอากาศ เป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตมากที่สุดเป็นอันดับ 5 ของโลก และเป็น 1 ใน 5 ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อ NCDs และเป็นปัจจัยเสี่ยงก่อโรคมะเร็ง ทั้งยังทำให้อายุเฉลี่ยของคนไทยลดลง 1.78 ปี โดยสถานการณ์มลพิษอากาศของประเทศไทยเกินค่ามาตรฐาน โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล ภาคกลาง และภาคเหนือ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ 38 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้ป่วยโรคหอบหืด ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง และเด็กเล็ก รวม 15 ล้านคน

“โครงการทำบุญวิถีใหม่ เวียนเทียนด้วยต้นไม้ ลดฝุ่น เป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยแก้ไขปัญหาวิกฤตฝุ่นควัน PM2.5 โดยการรณรงค์ให้งดจุดธูปเทียนที่สร้างมลพิษในทุกวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาตลอดปี 2568 โดยเฉพาะ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา ที่มีการเวียนเทียน และนำต้นกล้าไปปลูกในชุมชน วัด และพื้นที่สาธารณะ เพราะแค่ 1 ใน 4 ของวัดทั่วประเทศ ที่จัดกิจกรรมเวียนเทียนด้วยต้นไม้ ปีละ3 วัน ก็จะทำให้มีการปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้นปีละไม่ต่ำกว่า 3 ล้านต้น ดังนั้น การสร้างพื้นที่สีเขียวสร้างป่า จึงมีส่วนช่วยบรรเทาปัญหาฝุ่น PM2.5 ได้ สอดคล้องกับการแก้ไขและลดมลพิษในอากาศที่ สสส. ดำเนินงานอยู่ เพื่อคืนลมหายใจสะอาดให้กับประชาชน ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค NCDs และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ดี ต่อสุขภาพกาย จิตใจ ปัญญา และสังคม ของประชาชนทั่วประเทศ” ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าว

นายธวัชชัย โตสิตระกูล ผู้อำนวยการมูลนิธิปลูกต้นไม้ ปลูกธรรมะ กล่าวว่า พระพุทธศาสนามีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวไทยมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะในเรื่องของการทำบุญ ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญในชีวิตของคนไทย หากวัดและพระสงฆ์สามารถมีบทบาทในการส่งเสริมค่านิยมใหม่ ให้มีการทำบุญด้วยการปลูกต้นไม้ เพื่อส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อมให้เป็นประโยชน์ โดยมีเป้าหมายสำคัญในการเวียนเทียนด้วยต้นไม้ คือ การได้นำกล้าไม้ที่ใช้ในการเวียนเทียนไปปลูกต่อ ซึ่งผู้เวียนเทียนสามารถนำต้นไม้มาจากบ้าน หรือมารับในงานได้ เมื่อเวียนเทียนเสร็จก็สามารถนำกลับไปปลูกที่บ้านเพื่อเป็นสิริมงคล หรือมอบกล้าไม้ให้วัดหลังเสร็จสิ้นกิจกรรมได้เช่นกัน เพื่อสร้างความร่มรื่น สร้างสุขภาวะที่ยั่งยืนให้กับสังคม ตามแนวทางพระพุทธศาสนาและการอนุรักษ์ธรรมชาติ

ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานกรรมการมูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย อดีตปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ปัจจุบันโลกกำลังเผชิญกับวิกฤติปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภาวะโลกร้อน ฝุ่นควัน หรือมลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะปัญหาฝุ่น PM2.5 ซึ่งถือเป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทุกกลุ่ม ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รัฐบาลไทยเล็งเห็นถึงความรุนแรงของปัญหานี้ และได้ยกระดับขึ้นเป็น ‘วาระแห่งชาติ’ ที่ต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วนและครบทุกมิติ โครงการทำบุญวิถีใหม่ เวียนเทียนด้วยต้นไม้ ลดฝุ่น เป็นตัวอย่างของนวัตกรรมทางสังคมที่เชื่อมโยงศรัทธาในพระพุทธศาสนาเข้ากับการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยการปลูกต้นไม้แทนที่การใช้ธูปเทียนในพิธีกรรมทางศาสนา เนื่องจากต้นไม้มีคุณสมบัติในการช่วยเก็บกักฝุ่น ใบและลำต้น ถือเป็นเครื่องฟอกอากาศธรรมชาติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยังดีต่อสุขภาพพระสงฆ์และประชาชนที่ร่วมกิจกรรมอีกด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชาวเชียงใหม่อุ่นใจ สสส.-มช. เดินหน้าโครงการ "Chiang Mai Greentopia" ช่วยลดสารเคมีตกค้างในเลือดได้สูง ภายใน 2 ปี ลดเหลือ 66% จาก 90%

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 13 ม.ค. 2568 ที่สวนผักฮักร้องขุ้ม อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ตัวแทนเกษตรกร ภาคีเครือข่าย และสื่อมวลชน ติดตามการดำเนินงานโครงการ Chiang Mai Greentopia : ต้นแบบการสร้างความมั่นคงทางอาหาร

พลังแห่งการเล่น..พาเด็กก้าวข้ามวิกฤต ไทยเปิดตัว"สมาคมการเล่นนานาชาติ"

การเล่นเพื่อเปลี่ยนโลก!! เชื่อว่าผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ มีปุจฉา และต้องการวิสัชนาว่า ทำไม?!? เรื่องเล่นๆ ถึงจะมาเปลี่ยนโลกได้ และท่ามกลางสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจ

สสส. สานพลัง พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม)-Mappa-กสศ.-กทม. จัดเทศกาล 'Relearn Festival 2025' ชูแนวคิด 'Intergeneration ลดช่องว่างระหว่างวัย สร้างความเข้าใจระหว่างกัน' วันที่ 11 ม.ค.-9 ก.พ.68 นี้

เปิดพื้นที่ชวนครอบครัวเปลี่ยนมุมมอง-สร้างทักษะการเลี้ยงดูเด็กยุคใหม่ ลดช่องว่างระหว่างวัยของเด็ก-ผู้ใหญ่ หลังพบเด็ก 25.6% ไม่ได้อาศัยอยู่กับพ่อแม่ ความรุนแรงในครอบครัวพุ่งสูงขึ้น 2 เท่า ในรอบ 7 ปี

เด็กไทยป่วยซึมเศร้าทะลุ 2,200 คน ต่อประชากรแสนคน เสี่ยงทำร้ายตัวเอง 17.4% ซ้ำเข้าไม่ถึงบริการสุขภาพจิต

ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สานพลังภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนงานสุขภาวะเด็กและเยาวชน จัดกิจกรรม “ดูแลวัยเด็กด้วยศิลปะด้านใน เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ปี 2568” ภายใต้โครงการโมเดลวิทยากรต้นแบบศิลปะด้านในเชิงลึกเพื่อขยายชุมชนการเรียนรู้และพัฒนาสุขภาวะเด็กก่อนวัยรุ่น เปิดพื้นที่ให้เด็ก เยาวชน พ่อแม่

กรมกิจการเด็กและเยาวชน จับมือ มูลนิธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว-สสส. จัดเสวนาสะท้อนปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ 68 เสริมแกร่งความรู้ความเข้าใจด้านสิทธิเด็ก

เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 8 ม.ค. 2568 ที่โรงแรมแมนดาริน กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) พร้อมด้วยมูลนิธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ชี้คนไทย"พร่อง"กิจกรรมทางกาย สสส.รณรงค์สร้างสุขกระฉับกระเฉง

โรคไม่ติดต่อ (NCDs) เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 1 เฉลี่ย 3 แสนคนต่อปี คิดเป็น 75% ของสาเหตุการตายทั้งหมด ส่งผลให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจสูง