นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า มีนายจ้างแจ้งลูกจ้างเข้าทำงานและแจ้งออกจากงานล่าช้าไม่เป็นไปตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ส่งผลให้ลูกจ้างไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ เสียสิทธิที่พึงได้รับ หรือได้รับประโยชน์ทดแทนเกินสิทธิ สำนักงานประกันสังคมจึงจำเป็นต้องมีการปรับแนวทางการดำเนินการกับนายจ้าง ที่ได้มีการแจ้งเข้า - ออกล่าช้า หากพบว่านายจ้างมีเจตนาแจ้งเข้าออกล่าช้า ให้ดำเนินการตามกฎหมายโดยเคร่งครัด ซึ่งมีโทษทางอาญา คือ การเปรียบเทียบปรับ และโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ
นางมารศรี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวเตือนให้นายจ้างแจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างทุกครั้งที่ลูกจ้างมีการเข้าทำงานภายใน 30 วัน และแจ้งออกจากงาน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป โดยส่งข้อมูลผ่านระบบ e-Service ของสำนักงานประกันสังคม ทั้งนี้ ขอความร่วมมือนายจ้างซึ่งมีลูกจ้างทำงานในสถานประกอบการตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ต้องแจ้งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส. 1-03) สำหรับผู้ที่ไม่เคยขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนมาก่อน หรือขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน สำหรับผู้ที่เคยขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนแล้ว โดยนายจ้างที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครให้ยื่นแบบได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ สำหรับนายจ้างที่มีสำนักงานใหญ่ในส่วนภูมิภาคให้ยื่นแบบขึ้นทะเบียนได้ที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัด/สาขาที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ทั้งนี้ นายจ้างมีหน้าที่ขึ้นทะเบียนลูกจ้างภายใน 30 วัน กรณีที่มีลูกจ้างลาออกจากงาน ให้นายจ้างแจ้งการออกจากงาน พร้อมระบุสาเหตุการออกจากงาน โดยใช้หนังสือแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน (สปส. 6-09) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากที่ลูกจ้างลาออกจากงาน
อย่างไรก็ตาม สำนักงานประกันสังคมยังมีช่องทางอำนวยความสะดวกแก่นายจ้าง ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต หรือ e-Payment โดยนายจ้างสามารถใช้บริการผ่านระบบอินเทอร์เน็ตดังกล่าว ได้แก่ งานขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส.1-03) การแจ้งลาออก (สปส.6-09) การแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงผู้ประกันตน (สปส. 6-10) และการส่งข้อมูลเงินสมทบ (สปส.1-10) ซึ่งเมื่อนายจ้างทำการลงทะเบียนผ่านระบบเรียบร้อยแล้ว จะมี e – mail ตอบกลับให้พิมพ์แบบ สปส. 1-05 แล้วนำกลับมายื่นที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่/จังหวัด/สาขาก่อน เจ้าหน้าที่จึงจะทำการอนุมัติ USER PASSWORD ให้แก่นายจ้าง โดยจะตอบกลับอัตโนมัติ หลังจากนั้น นายจ้างสามารถเข้าใช้บริการได้ทันที เพื่ออำนวยความสะดวก และรวดเร็วแก่นายจ้างในการชำระเงินสมทบ โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปยังสำนักงานประกันสังคมพื้นที่/จังหวัด/สาขา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สปส. เอาใจนายจ้าง ขยายกำหนดเวลาส่งเงินสมทบ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ไปอีก 7 วันทำการ
นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า ตามประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบและการนำส่งเงินสมทบผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) พ.ศ. 2567 ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2567
ประกันสังคม เตือนนายจ้าง อย่าลืม!! ชำระเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนประจำปี 2568 ภายในวันที่ 31 มกราคม 2568 และรายงานค่าจ้างประจำปี 2567 ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2568
นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานประกันสังคมมีการจัดเก็บเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนจากนายจ้างเป็นรายปี โดยได้จัดส่งใบประเมินเงินสมทบประจำปี 2568 พร้อมแบบแสดงเงินค่าจ้างประจำปี 2567 ให้นายจ้างทั่วประเทศ เมื่อเดือนธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา
ประกันสังคม มอบเงินช่วยเหลือ ผู้รับเหมา ผู้ประกันตนที่เสียชีวิตเหตุอาคารถล่ม ปราจีนบุรี แล้ว “พิพัฒน์” กำชับดูแลสิทธิประโยชน์ให้ทายาท
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กำชับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่ เหตุการณ์อาคารโรงงานถล่มในนิคมอุตสาหกรรม อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี วันที่ 30 ธันวาคม 2567 ทับคนงานของผู้รับเหมาที่กำลังปฏิบัติงาน เสียชีวิต 5 ราย พร้อมมอบให้สำนักงานประกันสังคม
ข่าวดี ! ผู้ประกันตนรับเงินสงเคราะห์บุตรเพิ่มเป็นหนึ่งพันบาทต่อบุตรหนึ่งคน มีผลบังคับใช้มกราคม 68
นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เผยว่าตามที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ มอบหมายให้สำนักงานประกันสังคมศึกษาการเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตร เพื่อส่งเสริมการมีบุตรให้กับผู้ประกันตน ด้วยสาเหตุจากประเทศไทยมีอัตราการเกิดของประชากรลดลงอย่างต่อเนื่อง
ข่าวดี รมว.แรงงาน “พิพัฒน์” จัดเต็มของขวัญปีใหม่ปี 68 มอบประกันสังคม ยกระดับคุณภาพชีวิตให้ผู้ประกันตน “ตรวจและรักษามะเร็งฟรี SSO Cancer Care”
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงาน ได้มอบนโยบายสำคัญให้สำนักงานประกันสังคมดูแลสุขภาพด้านการรักษาที่มีคุณภาพครอบคลุมทุกโรคให้แก่ผู้ประกันตนทุกคนอย่างดี