ชี้คนไทย"พร่อง"กิจกรรมทางกาย สสส.รณรงค์สร้างสุขกระฉับกระเฉง

โรคไม่ติดต่อ (NCDs) เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 1 เฉลี่ย 3 แสนคนต่อปี คิดเป็น 75% ของสาเหตุการตายทั้งหมด ส่งผลให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจสูง 1.6 ล้านล้านบาทต่อปี ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมเสี่ยง เช่น บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ รับประทานอาหารไม่ถูกหลักตามโภชนาการ ที่สำคัญขาดการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ

เป็นที่น่ากังวลใจว่า สังคมไทยมีสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำด้านกิจกรรมทางกายอยู่ในระดับสูงมาก จากการศึกษาสำรวจในรอบ 12 ปี (ปี 2555-2566) พบว่า คนไทยมีระดับกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ต่ำกว่า 70% สะท้อนว่ายังมีคนไทยกว่า 30% ไม่สามารถมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอได้ โดยเฉพาะช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ยิ่งส่งผลให้สถานการณ์แย่ลง เนื่องจากไม่สามารถทำกิจกรรมนอกบ้านได้ จึงจำเป็นต้องเร่งสานพลังความร่วมมือส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ตอบโจทย์เป้าหมายของแผนการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พ.ศ. 2561-2573 เพิ่มอัตราการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอของคนไทยให้อยู่ที่ 85% ภายในปี 2573

เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (TPAK) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และภาคีเครือข่าย จัดงานแถลงสถานการณ์ “12 ปี การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย เพื่อวิถีชีวิตสุขภาวะของคนไทย” เพื่อสะท้อนสถานการณ์และการขับเคลื่อนการมีกิจกรรมทางกาย รวมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการออกแบบและกำหนดทิศทางการส่งเสริมและสนับสนุนการมีกิจกรรมทางกายอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม สร้างระบบกลไกการสนับสนุนการมีกิจกรรมทางกาย ลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง นำไปสู่การผลักดันนโยบายระดับประเทศ

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการ สสส. เผยว่า ปัจจุบันเราใช้ชีวิตสะดวกสบายกลับมานอนที่บ้านเป็นวิถีชีวิตที่อันตราย ตาย พิการก่อนวัยอันควร ร่างกายต้องมีหลอดเลือดที่ยืดหยุ่น โรคหัวใจ เส้นเลือดสมองตีบ โรค NCDs เกิดโรคมหาศาลกว่าจะรู้ตัว อายุ 50-60 ปีกลายเป็นโรคอัมพาตติดเตียง

ผลงานวิจัยพบความเหลื่อมล้ำในการออกกำลังกาย ดังนั้นต้องสร้างนิสัยในการตระหนักรู้ ถ้าเราออกกำลังกายวันละ 1 ชั่วโมง อายุจะยืน 7 ชั่วโมง เบาหวานหายได้ถ้าออกกำลังกายและควบคุมอาหาร ลงทุนออกกำลังกายวันนี้เพื่อเราจะได้ไม่เสียชีวิตก่อนวัย ไม่ป่วยนอนติดเตียง ต้องช่วยกันสร้างค่านิยมการออกกำลังกายเป็นเรื่องปกติ คนที่ไม่ออกกำลังกายเป็นคนผิดปกติ กทม.สร้างสวนสาธารณะ 10 นาทีกระจายไปหลายพื้นที่

"สสส.ร่วมกับภาคีเครือข่าย เร่งขับเคลื่อนกลยุทธ์การส่งเสริมและการสนับสนุนการมีกิจกรรมทางกาย เพื่อลดความเหลื่อมล้ำให้ทุกคนเข้าถึงกิจกรรมทางกายอย่างเพียงพอ ผ่าน 3 มาตรการ ได้แก่

1.รณรงค์ส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่อง โดยออกแบบมาตรการให้เหมาะสมตามบริบทของชุมชน เช่น ‘Healthy city เมืองน่าอยู่ เมืองสุขภาพดี’, ‘ลานสร้างสุขภาวะชุมชน’

2.จัดการสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวก สถานที่ และพื้นที่สาธารณะอย่างปลอดภัย เช่น ‘พัก กะ Park พื้นที่สุขภาวะแบบมีส่วนร่วม’, ‘สวน 15 นาทีสวนสาธารณะใกล้บ้าน’

3.จัดกิจกรรมและบริการด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมและหลากหลาย เช่น ‘Healthy Organization องค์กรสุขภาพดี’, ‘Healthy+Active Meeting การประชุมสุขภาพดี’ เพื่อสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีวิถีชีวิตที่กระฉับกระเฉง พัฒนานวัตกรรม และสร้างโอกาสในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายสำหรับทุกคนอย่างเท่าเทียมและยั่งยืน" ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าว

รศ. ดร.ปิยวัฒน์ เกตุวงศา ผู้อำนวยการศูนย์ TPAK เปิดเผยว่า ประชากร 5 กลุ่มที่กำลังเผชิญความเหลื่อมล้ำโอกาสเข้าถึงการมีกิจกรรมทางกาย ได้แก่ 1.กลุ่มผู้สูงอายุ  มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 60% 2.กลุ่มที่มีรายได้น้อย มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 59% 3.กลุ่มผู้ที่ไม่ได้ประกอบอาชีพหรือไม่ทำงาน มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 46.5% 4.กลุ่มผู้หญิง มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 40% ซึ่งเป็นกลุ่มที่น่าห่วง เนื่องจากตกอยู่ในภาวะขาดกิจกรรมทางกายที่เพียงพอกว่า 16 ล้านคน โดยเฉพาะผู้หญิงที่เป็นแม่บ้านดูแลครอบครัวและลูก ผู้หญิงที่มีรายได้น้อย ขาดความมั่นใจหรือกังวลเรื่องการถูกตีตราจากสังคม เช่น เล่นกีฬาไม่เป็น/ไม่เก่ง ไม่มั่นใจในรูปร่างหรือมีภาวะอ้วน มีอุปสรรคในการขยับเคลื่อนไหวร่างกาย โดยเฉพาะในเขตชนบท 5.กลุ่มเด็ก มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ 20% เทียบเท่ากับ 4 ใน 5 คนมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ กระทบต่อการเรียนรู้ในระยะยาว

มีการเจาะลึกข้อมูลเปรียบเทียบชายและหญิงมีกิจกรรมทางกายไม่เท่ากัน หญิงออกกำลังกายน้อยกว่าชายเนื่องจากมีภารกิจการเป็นแม่บ้าน คนมีรายได้น้อยจะออกกำลังกายน้อยกว่าคนมีรายได้มาก การศึกษาน้อยมักออกกำลังกายน้อยกว่าคนมีการศึกษาสูง คนเมืองออกกำลังกายน้อยกว่าคนในชนบท และยังมีข้อสังเกตด้วยว่า กลุ่มทำงานออนไลน์ ไรเดอร์จะออกกำลังกายน้อยกว่าอาชีพอื่นๆ

“การติดตามประเมินผลการมีกิจกรรมทางกาย และภาวะเนือยนิ่งที่ทันต่อสถานการณ์จำเป็นอย่างยิ่ง การใช้ข้อมูลเชิงวิชาการสนับสนุนการขับเคลื่อนทางนโยบาย และกลยุทธ์การสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย ลดพฤติกรรมเนือยนิ่งให้ตรงกับแต่ละกลุ่มเป้าหมาย จะช่วยเพิ่มระดับการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอแก่ประชากรในประเทศ ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย www.tpak.or.th/th” ผู้อำนวยการศูนย์ TPAK กล่าว

ดร. นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม รองผู้จัดการ สสส. เปิดเผยว่า กำหนดเป้าหมายในปี 2573 ส่งเสริมให้คนไทยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นเป็น 85% จำเป็นต้องอาศัยการดำเนินงานแบบบูรณาการจากหลายภาคส่วนร่วมเป็นภาคีเครือข่าย ทั้งภาคการศึกษา การคมนาคมขนส่ง การบริหารจัดการเมือง ภาคการกีฬา นันทนาการและการท่องเที่ยว ภาคเอกชนรวมถึงชุมชนท้องถิ่น ก่อนหน้านี้ในช่วงสถานการณ์โควิดโลกทั้งโลกอยู่บ้านต้านโควิด มีพฤติกรรมคนไทยเนือยนิ่ง กระทั่งเปิดเมืองมีกิจกรรมทางกายดีขึ้นก็จริง แต่ยังไม่ถึงจุดที่น่าพอใจ ตามที่ WHO องค์การอนามัยโลกได้กำหนดกิจกรรมทางกายระดับปานกลาง อย่างน้อยสัปดาห์ละ 150-300 นาที ดังนั้นต้องร่วมกันสานพลังภาคี ส่งเสริมกิจกรรมทางกายวิถีใหม่ภายใต้ยุทธศาสตร์ 3 Actives สร้างความตระหนักรู้ความเข้าใจในระดับบุคคล ส่งเสริมให้คนมีความกระฉับกระเฉง การสร้างกิจกรรมมวลชน วิ่ง ปั่นจักรยาน สื่อสารกับสังคมโดยมีฐานข้อมูลองค์ความรู้จากงานวิจัยมารองรับ

“เด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มประชากรที่มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ WHO เร่งผลักดันให้กิจกรรมทางกายเป็นวาระสำคัญระดับชาติ สร้างความร่วมมือเพื่อเป็นการลดช่องว่างการดำเนินงานให้เกิดขึ้นอย่างเสมอภาค นับตั้งแต่ 1.Workplace สถานที่ทำงาน สถานประกอบการ จัดให้มีกิจกรรมทางกาย 2.Whole of School  Approach ทุกวันนี้เด็กมีกิจกรรมทางกายน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับเด็กในระดับโลก เพราะเด็กอยู่กับโทรศัพท์มือถือ ถึงเวลาจะต้องปรับเปลี่ยนเวลาให้เด็กใช้เวลาอยู่ในสนามกีฬา ปรับหลักสูตรให้มีพื้นที่เล่น แทนที่จะนั่งอยู่บนโต๊ะเรียน จัดกิจกรรมจัดสวน 3.Community Wide Programmes จัดเส้นทางในชุมชนเป็นงานที่ท้าทายสำหรับการออกแบบ” ดร. นพ.ไพโรจน์ชี้แจง

ดร. นพ.ไพโรจน์ยืนยันว่า การทำงานในเชิงกระตุ้นด้วยการรวมพลังสร้างศักยภาพ ม.มหิดลเคยทำเครื่องวัดออกกำลังกายให้มีความพร้อมทั้งบุคลากรจัดเป็นเครือข่ายเชื่อมในระดับโลกด้วย งานนี้จะลดความเหลื่อมล้ำเติมเต็มเพื่อสร้างความเป็นธรรม ลดโรค NCDs คนไทยจะมีสุขภาพดีทั้ง 4 มิติ มีเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจน จะเอาชนะข้อท้าทายได้เป็นอย่างดี การที่ สสส.เดินทางไกล 12 ปีด้วยการยกระดับกิจกรรมทางกาย จะส่งผลดีต่อสุขภาพโดยรวมของคนไทยในอนาคตด้วย

น.ส.นิรมล ราศรี ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. (สำนัก 5) เปิดเผยถึงเส้นทางนโยบายเพื่อกระตุ้นสังคมไทยให้กระฉับกระเฉง ว่านโยบายผู้บริหารเป็นเรื่องสำคัญ กว่าจะเริ่มต้นกิจกรรมทางกายได้นั้น เริ่มต้นจากการแข่งขันกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ เป็นผู้นำในการแข่งขันกีฬาเพื่อสุขภาพให้เกิดการเปลี่ยนแปลง มีคนอยู่บนยอดเพียงไม่กี่คนที่จะได้เข้าไปออกกำลังกายในสนามกีฬา มีวิวัฒนาการในการส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพให้มากยิ่งขึ้น กระตุ้นให้อยากเป็นนักกีฬาได้เหรียญทองโอลิมปิก การสร้างแรงบันดาลใจในการออกกำลังกาย ประสบการณ์ของคนที่ออกกำลังกายแล้วมีสุขภาพดีขึ้น จุดเปลี่ยนสำคัญของการส่งเสริมกิจกรรมทางกายมาจาก ศ. นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม, ดร.วิลาสินี พิพิธกุล ร่วมกันลงนามกฎบัตร Toronto ว่าด้วยการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในไทย Sport ความเป็นเลิศ ให้ความสำคัญในการเข้าถึงโอกาสได้ทุกคน การลดพฤติกรรมเนือยนิ่งที่นั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งวัน ด้วย 2 เพิ่ม 1 ลด มีกิจกรรมทางกายเพิ่มมากขึ้น การจัดงาน Thai Health Day  Run วิ่งที่มีความหมายมากกว่างานวิ่ง มีนักวิ่งหน้าเก่า หน้าใหม่เพิ่มขึ้น การวิ่งเป็นครอบครัว วิ่งเดี่ยว เพื่อให้งานวิ่งเป็นมาตรฐานระดับสากล.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รณรงค์ "กินให้หมดจาน" 50ร้านต้นแบบช่วยลดขยะ

รู้หรือไม่?!?..... มีสถิติระบุว่า ขยะอาหารโลกพุ่งกว่า 1 พันล้านตัน ภาพขยะกองสูงเป็นภูเขาที่รอฝังกลบ กว่าครึ่งคือขยะอาหาร คนไทยเพียงคนเดียวผลิตขยะสูงลิ่ว 146 กก./คน/ปี

“รองนายกฯ ประเสริฐ” สั่งเดินหน้าคุมเข้มลดเจ็บ-ตายปีใหม่ เฝ้าระวัง “นักซิ่งเยาวชน” หลังพบดื่มแล้วขับ “เจ็บ-ตาย” เฉลี่ยชั่วโมงละ 3 คน เล็งเชื่อมข้อมูลทำระบบ “ใบสั่งออนไลน์”

เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2567 ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ในฐานะประธานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

"สิทธิในอาหาร..เพื่อชีวิตที่ดี" ทุกภาคส่วนต้องร่วมผลักดัน

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กำหนดให้วันที่ 16 ต.ค.ของทุกปี เป็นวันอาหารโลก (World Food Day) เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงสิทธิในอาหาร

สสส. ทำถึง กวาด 14 รางวัลสื่อสาร จากแอด พีเพิล อวอร์ส 2567 ผ่าน 5 ผลงาน สื่อสารการตลาดเพื่อสังคม “Walk Stadium” “หมวกกันน็อกคืนชีพ” “แอร์ล้างได้ปอดล้างไม่ได้” “พวงเครื่องปรุงจิ๋ว” “การเดินทางของบุหรี่”

น.ส.สุพัฒนุช สอนดำริห์ ผู้อำนวยการสำนักอาวุโส สำนักสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ผลงานโฆษณาและการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สสส. ได้รับรางวัลแอด พีเพิล อวอร์ส 2567

ต่อยอด! ติดอาวุธสมองป้องกัน ความเสี่ยงภัยบนโลกไซเบอร์

ผลสำรวจปี 2567 คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตมากถึง 88% ของประชากรทั้งหมด และส่วนใหญ่ใช้งานนานเกือบ 8 ชั่วโมงต่อวัน แสดงให้เห็นว่าเราใช้เวลาเกือบ 1 ใน 3 ท่องโลกอินเทอร์เน็ต