วันที่ 26 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ตอบกระทู้ถามสด ของ นายสหัสวัต คุ้มคง สส.พรรคประชาชน ในสภาผู้แทนราษฎร ที่สอบถามกรณี การดำเนินการของศูนย์ออกเอกสารรับรองบุคคล (CI) หลังจากที่มี มติ ครม.ในวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2567 มีการลงทะเบียนไปแล้วจำนวนเท่าไหร่ และนายจ้างที่อยู่ตามบ้านจะต้องทําอย่างไร ว่า ในขณะนี้มีการลงทะเบียนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มาแล้วประมาณ 500,000 คน ซึ่งในส่วนนี้ พยายามที่จะอํานวยความสะดวก โดยให้นายจ้าง ลงทะเบียนด้วยตนเองก็ได้ หรือจะให้ บมจ.เข้ามาช่วยลงทะเบียนให้ก็ได้ ซึ่งจะมีการต่อใบอนุญาตอีก 2 ปี จะครบกําหนดภายในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568
.
“เราเชื่อว่าเมื่อถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558 ถ้าหากว่ายังไม่ครบ หรือยังมีผู้ใช้แรงงาน โดยเฉพาะนายจ้างยื่นความจํานงว่าทําการให้เราให้ไม่ทัน ผมเองคงต้องนําเรื่องเข้าหารือกับกรมการจัดหางาน แล้วนําเรื่องเข้า ครม.เพื่อขยายอายุในการที่จะต่อใบอนุญาต” นายพิพัฒน์ กล่าวว่า
.
นายพิพัฒน์ กล่าวว่า การลงทะเบียนในคราวนี้เราจะอํานวยความสะดวกโดยไม่จําเป็นต้องให้ผู้ใช้แรงงานกลับไปในประเทศของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นประเทศเมียนมา หรือกัมพูชาก็ดี เพราะฉะนั้นตรงนี้น่าจะมีความรวดเร็วในการดําเนินการ ซึ่งถ้าหากว่ายังไม่ทัน ทางเราจะทําการยืดอายุให้อีกครั้งหนึ่ง ส่วนการที่นายจ้างตามบ้านจะทําอย่างไรก็ขอให้นายจ้างลงทะเบียนผ่านอิเล็กทรอนิกส์มาได้เช่นกันว่าเรามีลูกจ้างกี่คน หากไม่สะดวกไปยื่นที่กรมการจัดหางานในแต่ละจังหวัดทั้ง 76 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร ซึ่งตรงนี้ทางเจ้าหน้าที่ได้มีการเตรียมความพร้อม ถึงแม้จะเป็นวันหยุดเราก็มีการสแตนด์บาย สําหรับเจ้าหน้าที่เพื่อจะรองรับ
.
นายพิพัฒน์ ชี้แจงถึงสถานพยาบาลที่มีการตรวจสอบโรคจำนวนน้อย โดยยืนยันว่า โรงพยาบาลทั้งหมด 57 แห่ง สามารถที่จะทําการทันในการตรวจเช็คร่างกาย โรงพยาบาลมีจํานวนไม่มากอย่างที่พวกเราต้องการ เพราะในแต่ละสถานที่จะออกใบรับรองแพทย์ ต้องมีห้องแลปเป็นของตัวเอง นี่คือข้อจํากัด เพราะในอดีตที่ผ่านมาทางกรมการจัดหางานได้ตรวจสอบแล้วพบว่าใบรับรองแพทย์เคยมีหลุดมาว่ามีโรคที่ประเทศไทยเราไม่มีแล้ว เพราะฉะนั้นในคราวนี้ เราถึงได้วางมาตรการที่เข้มงวดเพิ่มขึ้น และขณะนี้มีการแพร่ระบาดของเชื้ออหิวาตกโรคในเมียนมา มีการติดเชื้อหลายพันคน และติดเข้ามาสู่ในไทย เราถึงต้องออกมาตรการที่เข้มงวด
.
นายพิพัฒน์ ชี้แจงกรณีแรงงานต่างด้าว เข้ามาแย่งอาชีพสงวนของคนไทย ว่า ได้ตั้งชุดเฉพาะกิจประกอบด้วย 13 หน่วยงาน บูรณาการร่วมกัน เพื่อออกตรวจ ซึ่งตอนนี้เริ่มออกตรวจในบางสถานที่ โดยกําชับไปว่าถ้าเจอคือจะปรับ แล้วผลักดันออก และขอให้เก็บอัตลักษณ์เพื่อจะเป็นการพิสูจน์ให้ครั้งต่อไป
.
“ในอดีตอาจจะมีการเก็บอัตลักษณ์หรือไม่มีการเก็บอัตลักษณ์ ผมไม่ขอกล่าวถึง แต่คราวนี้ขอให้มีการเก็บอัตลักษณ์ ถ้าตรวจเจอว่าคุณถูกผลักดันกลับไปแล้วและคุณลักลอบกลับเข้ามาใหม่ แน่นอนว่าเราจะดําเนินคดีทางอาญา ซึ่งในส่วนนี้ได้แจ้งไปทางกรมการจัดหางาน ชุดเฉพาะกิจเพื่อทําการตรวจสอบและผลักดัน จับกุม แต่ถ้าเข้ามาครั้งที่สองเราจะมีโทษจําคุกประกอบเข้าไปด้วย” รมว.แรงงาน กล่าวชี้แจง
.
นายพิพัฒน์ ชี้แจงกรณี แรงงานต่างด้าว เข้าระบบประกันสังคมตามมาตรา 33 การรักษาพยาบาลส่วนบุคคล หรือแรงงานต่างด้าวที่ไม่ได้เข้าสู่ระบบประกันสังคมตามมาตรา 33 ทางกรมการจัดหางาน ได้วางมาตรการว่า จะต้องประกันสุขภาพ มี 2 ระยะคือ 6 เดือน และ 1 ปี เราได้กําหนดคุณสมบัติของบริษัทที่เข้ามารับทำประกัน จะใช้คุณสมบัติที่ค่อนข้างจะมีความแข็งแรง หรือเข้มข้น
.
รมว.แรงงาน กล่าวว่า โดยเฉพาะมีคุณสมบัติข้อที่ 9 ต้องมีทุนจดทะเบียนชําระแล้วเต็ม ไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท ข้อที่ 10 ผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องมีสินทรัพย์รวมสิ้นปี 2566 จํานวนไม่ต่ำกว่า 30,000 ล้านบาท และข้อที่ 11 ผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องมีอัตราส่วนความเพียงพอต่อการดํารงกองทุนตามกฎหมาย หรือค่าเรโช ไว้ไม่ต่ำกว่า 200 % ณ สิ้นปี 2566 และบริษัทประกัน ต้องไม่มีผลการขาดทุน เป็นระยะเวลาติดต่อกัน 3 ปี นี่คือเงื่อนไขต่างๆ ที่ทางกรมการจัดหางานตั้งเงื่อนไขที่สูงเอาไว้ มีบริษัทผ่านคุณสมบัติเพียง 3 บริษัท คือ บริษัททิพยประกันภัย บริษัทเมืองไทยประกัน และโตเกียวมารีน ซึ่งเรายังไม่ได้ปิดกั้นสําหรับบริษัทอื่นๆ ที่ขณะนี้ยังมีทยอยยื่นคุณสมบัติตาที่ได้กําหนดไว้ หากบริษัทใดที่มีคุณสมบัติตามข้อที่ได้กล่าวมา ทั้งหมมี 13 ข้อจะได้รับการบรรจุเข้ามาเพื่อรับประกันแรงงานต่างด้าว
.
“ผมมีความจําเป็นว่าทําไมเราต้องตั้งเงื่อนไขที่สูงเอาไว้ เพราะเรามีประสบการณ์จากการรับประกันของโควิด 19 ที่ผ่านมา พวกเราคงเห็นอยู่ มีหลายบริษัทที่เราคิดว่ามีความแข็งแรง เป็นบริษัทใหญ่ แต่สุดท้ายแล้วก็ล้มละลาย เพราะเราไม่ได้กําหนดเรื่องของค่าเรโช เรื่องของเงินทุนจดทะเบียน เรื่องเงื่อนไขต่างๆ ทั้ง 13 ข้อ เพราะฉะนั้นเพื่อความปลอดภัย จากที่ได้หารือกับทาง กปภ.เสนอแนะว่าถ้าหากกระทรวงแรงงานโดยกรมการจัดหางาน จะสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ที่เข้ามาซื้อประกัน เราต้องตั้งค่าคุณภาพที่สูงไว้ก่อน ผมเข้าใจความแออัดในการเข้าไปตรวจสุขภาพ 2 ล้านกว่าคน” นายพิพัฒน์ กล่าว
.
นายพิพัฒน์ ชี้แจงถึงการตั้งศูนย์พิสูจน์สัญชาติ ที่มีเพียง 3 ศูนย์ใน 3 จังหวัดคือ เชียงใหม่ กรุงเทพ และระนอง เพราะ เป็นเรื่องข้อเสนอของรัฐบาลเมียนมา ซึ่งเราไม่สามารถที่จะเป็นผู้กําหนดได้ ถ้าหากกําหนดได้ จะกําหนดว่าจังหวัดไหนที่มีแรงงานต่างด้าวเกินกว่า 5,000 คนขึ้นไป จะตั้งจังหวัดนั้นให้เป็นศูนย์ แต่ทางรัฐบาลเมียนมาบอกว่าไม่มีกําลังเจ้าหน้าที่มากมายขนาดนั้น
.
นายพิพัฒน์ ชี้แจงถึงค่าใช้จ่ายในการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวในการให้รัฐบาลเมียนมา มาเก็บภาษีในไทย ว่า ไม่เถียงที่บอกว่าเขาทําไมต้องมาเก็บภาษีในไทย เรื่องนี้คณะอนุกรรมาธิการได้เชิญทางกรมสรรพากรมา ก็ไม่ได้ชี้ว่าผิดหรือถูก แต่ตั้งข้อสังเกตว่าน่าจะไม่ผิด ส่วนที่ว่าไม่ใช้แบบเดิม คิดว่าการใช้ในแบบรูปแบบปัจจุบัน ปีนี้เราอํานวยความสะดวกให้กับแรงงานเมียนมาที่มาทำ mou return ซึ่งแน่นอน ในขณะที่เราประกาศอยู่ ถึงแม้จะเลยระยะเวลาวันที่ 13 กุมภาพันธุ์ 2568 ไป อยู่ในช่วงของการประกาศ ส่วนเราจะยืดอายุไปอีกกี่วัน แรงงานเหล่านั้นยังไม่ถือเป็นแรงงานเถื่อนเพราะอยู่ในช่วงของการประกาศเพื่อที่จะให้มาต่อสัญญาอีก 2 ปี ซึ่งถ้าเป็นอย่างที่ท่านบอกทําแบบในอดีต จะเกิดความโกลาหล
.
“แรงงาน 2 ล้านกว่าคน ท่านจะขนคนออกไปตามด่านชายแดนได้กี่ด่าน ในอดีตด่านชายแดนตามที่รัฐบาลเมียนมาบอกคือ จังหวัดระนอง และอําเภอแม่สอด จังหวัดตาก การที่จะขนคนถึง 2 ล้านกว่าคน เราจะขนอย่างไรและโดยเฉพาะยังมีประเทศกัมพูชาอีก 3-4 แสนคน พวกเราจะทําอย่างไร เพราะฉะนั้นคราวนี้กรมการจัดหางาน โดยกระทรวงแรงงาน ถึงได้อํานวยความสะดวก นายจ้างมาเป็นผู้ยื่นหรือ บลจ.มาเป็นผู้ยื่น ก่อนที่จะมายื่นลงทะเบียนทางอิเล็กทรอนิกส์ก่อน” นายพิพัฒน์ ชี้แจง
.
นายพิพัฒน์ ยืนยันว่า จะมีการจัดเก็บภาษีหรือไม่ จะไปจัดเก็บทีเดียวในศูนย์ซีไอ หรือจะกระทําอย่างไรต้องรอผลจากการประชุมของรัฐบาลเมียนมา ซึ่งข้อมูลที่ท่านเอามาโชว์คิดว่ามีหลายๆ ข้อมูล ที่มันไม่ใช่ เพราะฉะนั้นค่าเดินทาง ค่านู่น นี่ นั่นกว่า 20,000 บาท คิดว่าไม่ใช่ เพราะเราไม่มีค่าเดินทาง เพราะไม่จําเป็นต้องเดินทางกลับไปประเทศต้นทาง เราอํานวยความสะดวกให้ไปยื่นโดยผ่านนายจ้าง หรือ บลจ. สิ่งที่ยังตอบไม่ครบถ้วน จะไปตอบโดยส่งเอกสารมาให้ทางรัฐสภาอีกครั้งหนึ่ง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สภาเดือด! ถกปัญหาลงทะเบียนแรงงานเมียนมา
'สหัสวัต' ไม่ทน ถามถ้าผมเป็น 'ประชาชนพม่า' แล้วรัฐบาลเป็นอะไร เอื้อ 'รบ.ทหารพม่า' จนเป็นหนึ่งเดียวขนาดนี้ หวั่นทำแรงงานตกค้าง ด้าน 'พิพัฒน์' แจง หากไม่ทันเสนอ ครม.ยืดอายุได้
ข่าวดี รมว.แรงงาน “พิพัฒน์” จัดเต็มของขวัญปีใหม่ปี 68 มอบประกันสังคม ยกระดับคุณภาพชีวิตให้ผู้ประกันตน “ตรวจและรักษามะเร็งฟรี SSO Cancer Care”
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงาน ได้มอบนโยบายสำคัญให้สำนักงานประกันสังคมดูแลสุขภาพด้านการรักษาที่มีคุณภาพครอบคลุมทุกโรคให้แก่ผู้ประกันตนทุกคนอย่างดี
"พิพัฒน์" กระทรวงแรงงานมอบของขวัญปีใหม่ ให้ลูกจ้างนายจ้าง รวม 7 รายการ มูลค่ากว่า 20 ล้านบาท
วันที่ 24 ธ.ค.2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานแถลงข่าวของขวัญปีใหม่กระทรวงแรงงาน ปี 2568 โดยมี นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวรายงาน นายสิรภพ ดวงสอดศรี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน นายอารี ไกรนรา
ครม. ไฟเขียวขึ้นค่าแรง 400 บาท ประเดิม 4 จังหวัด 1 อำเภอ มีผล 1 ม.ค.68
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.รับทราบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2568 ตามมติคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22
รมว. พิพัฒน์ มอบ เลขา อารี ลงพื้นที่ จ.ระยอง เปิดอาคาร สปส. สาขาปลวกแดง สร้างความเชื่อมั่น พร้อมยกระดับการให้บริการ
ในวันที่ 22 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
”พิพัฒน์“ เปลี่ยนกระทรวงสู่ยุคAI สร้างทักษะการใช้ AI บริการหางาน พัฒนาฝีมือ แจ้งข้อร้องเรียน รับสิทธิประกันสังคม ให้สะดวก รวดเร็วขึ้น .
วันที่ 23 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในงานการประชาสัมพันธ์ด้านปัญญาประดิษฐ์และการนำไปใช้สำหรับบุคลากรภาครัฐ (Kick off Artificial Intelligence Literacy for Government officer)