มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) ตอกย้ำพันธกิจในการให้บริการวิชาการแก่สังคม ด้วยการร่วมมือกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และพาณิชย์จังหวัดในพื้นที่ ดำเนินโครงการยกระดับศักยภาพเกษตรกรรุ่นใหม่และผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
โครงการนี้มีเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนผ่านการเพิ่มพูนความรู้ด้าน ทรัพย์สินทางปัญญา สินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) และการสร้าง เครื่องหมายการค้า ซึ่งเป็นกลยุทธ์สำคัญในการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของสินค้าและบริการชุมชน โครงการยังสอดคล้องกับ พันธกิจของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในการพัฒนาศักยภาพของชุมชนอย่างยั่งยืน รวมถึงสนับสนุนนโยบายรัฐบาลที่มุ่งเน้นการพัฒนา เศรษฐกิจฐานราก (Grassroots Economy) ผ่านการนำแนวคิด เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) มาประยุกต์ใช้
โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โครงการนี้จะช่วยเสริมศักยภาพเกษตรกรรุ่นใหม่และผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนให้สามารถแข่งขันในตลาดทั้งในและต่างประเทศได้อย่างยั่งยืน พร้อมทั้งเป็นการสร้างแรงบันดาลใจและส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจชุมชนในพื้นที่ที่เต็มไปด้วยศักยภาพและเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พนมพัทธ์ สมิตานนท์ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวว่า "มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มุ่งมั่นในการส่งเสริมความรู้และศักยภาพของชุมชนในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ดังคติพจน์ประจำมหาวิทยาลัยที่ว่า มสธ.ที่ไหนเวลาใด ใคร ๆ ก็เรียนได้ โดยในโครงการนี้ มสธ ได้มีโอกาส เข้าทำกิจกรรมในเฉพาะพื้นที่ที่มีความพิเศษทั้งด้านทรัพยากรและวัฒนธรรม เช่น 3 จังหวัดชายแดนใต้ เราเชื่อมั่นว่าการพัฒนาผ่านองค์ความรู้ที่ครอบคลุม ทั้งด้านทรัพย์สินทางปัญญา การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการสร้างตราสินค้าจะช่วยเสริมสร้างศักยภาพให้กับชุมชนได้อย่างยั่งยืน โครงการนี้ไม่เพียงแค่เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชน แต่ยังสร้างแรงบันดาลใจและความภาคภูมิใจใน
อัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ ซึ่งเป็นจุดแข็งสำคัญในการแข่งขันในตลาดระดับประเทศและระดับสากล เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลลัพธ์จากความร่วมมือครั้งนี้จะสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับทั้งชุมชนและเศรษฐกิจของประเทศ"
ผศ. ดร. ภาวิน ชินะโชติ ประธานกรรมการประจำสาขาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช กล่าวว่า “การส่งเสริมองค์ความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน สร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา รวมถึงการพัฒนาสินค้าผลิตภัณฑ์จากกลุ่มสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( GI ) จะช่วยยกระดับชุมชนให้เกิดการพัฒนาอย่างแข็งแรง ยั่งยืน ทางมหาวิทยาลัยในฐานะที่เป็นหน่วยมีองค์ความรู้ และเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านที่มีส่วนส่งเสริม จึงได้เข้ามาเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาแก่ชาวบ้านอย่างใกล้ชิด โดยเราคาดหวังผลลัพธ์ของการเติบโตในระดับประเทศ และต่างประเทศในอนาคต”
ดร.ปภาวัลย์ สุทธิประสิทธิ์ อาจารย์ประจำสาขาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัย
ธรรมาธิราช กล่าวว่า “หลังจากที่ได้ทราบข้อมูล จากศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ว่าในพื้นที่เหล่านี้ มีความจำเพาะของผลผลิตอย่างสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( GI ) และ
อัตลักษณ์เฉพาะถิ่น จึงได้เกิดความสนใจในการทำโครงการเพื่อสนับสนุนอัตลักษณ์ ส่งเสริมให้เกิดรายได้และความภูมิใจแก่พี่น้องที่อยู่อาศัยในพื้นที่นี้ ผ่านขั้นตอนการส่งต่อความรู้ ทั้งการเรียนทางไกล การสัมมนาอบรมในพื้นที่ รวมถึงการเข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบ และช่วยในการยื่นจดเครื่องหมายการค้า ซึ่งทางมหาวิทยาลัยมองว่าจะช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ประกอบการ และส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนได้”
พลตำรวจโท วรรณพงษ์ คชรักษ์ เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ (ศอ.บต. ) กล่าวว่า “การลงพื้นที่ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เพื่อเข้ามา วิจัย เก็บข้อมูล เพื่อมีส่วนร่วมกับคนในพื้นที่อย่างใกล้ชิด ถือเป็นโครงการที่ดีและสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดในอนาคตได้ การที่โครงการเลือกพัฒนาสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ( GI ) ของแต่ละท้องถิ่น เพื่อต่อยอดและส่งเสริม จะช่วยให้สินค้าชุมชน สามารถไปต่อในตลาดได้ง่ายขึ้น ซึ่งหลังจากผ่านกระบวนการของโครงการแล้ว ผู้ประกอบการ เกษตรกรจะมีความรู้เรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทรัพย์สินทางปัญญา รวมถึงเครื่องหมายการค้า นับได้ว่าเป็นโครงการที่ดี ที่ได้ทำงานร่วมกันครับ”
โดยในโครงการนี้ มีผู้ประกอบการและเกษตรกรในท้องถิ่นเข้าร่วมจำนวนมาก อาทิ
- คุณ โมฮำหมัดรอสดี มะมิง ประธานกลุ่มอนุรักษ์ต้นหยี : บ้านปูลาตะเยาะฆอ จ.ปัตตานี
- คุณ อามีเนาะ บูราเฮง : วิสาหกิจชุมชนบ้านปูลาตะเยาะฆอ จ.ปัตตานี
- คุณ สันติชัย จงขจรเกียรติ เกษตรผู้เลี้ยงปลา จ. ยะลา
- คุณวิรัตน์ แซ่ตัน เกษตรผู้เลี้ยงปลา จ. ยะลา
- คุณ ศักดิ์ศรี สง่าราศรี เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน จ. ยะลา
- คุณแวมีเนาะ ตาและ เจ้าของผลิตภัณฑ์กล้วยหินฉาบบันนังสตา จ. ยะลา
- คุณ อุษา แก้วมุสิก เกษตรกรสวนป้าอุษา
- คุณ ปวีณา แก้วมุสิก เกษตรกรสวนป้าอุษา
- คุณเมธี บุญรักษา เกษตรกรสวนเกษตรเมธี
โครงการยกระดับศักยภาพเกษตรกรรุ่นใหม่และผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในการผลิตสินค้าชุมชนนี้ ถือเป็นความร่วมมือที่ทรงคุณค่าในการสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การเพิ่มมูลค่าสินค้า และการส่งเสริมความเข้าใจด้านทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาที่มั่นคงและยั่งยืน พร้อมเสริมสร้างความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ของชุมชนในอนาคต
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา - ปตท. ขยายความร่วมมือ ต่อยอดพัฒนานวัตกรรมการเกษตรสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่สู่สังคม
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ
ม.สุโขทัยฯ ย้ำสรรหานายกสภามหาวิทยาลัย ถูกต้อง
ม.สุโขทัยฯ ออกแถลงการณ์ ยันสรรหานายกสภามหาวิทยาลัย ถูกต้องตามกฎหมาย คัดเลือกบุคคลผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ตามหลักธรรมาภิบาล ทุกประการ
'สุดาวรรณ' ร่วมทีม 'เศรษฐา' โหมโปรโมตเที่ยว 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
สุดาวรรณ ร่วมคณะนายกรัฐมนตรีร่วมกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว “เที่ยวใต้สุดใจ” ที่ปัตตานี ยะลา นราธิวาส หาทางยกระดับและพัฒนาการท่องเที่ยวสามจังหวัดชายแดนใต้
ภูมิใจไทยรอด! 'นักวิชาการ' ชี้เป็นความผิดส่วนบุคคล ส่วนเงินบริจาคไม่ผิดกฎหมาย
รศ.ดร.ยุทธพร อิสรชัย อาจารย์ประจำสาขาภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ให้ความเห็นต่อโอกาสยุบพรรคภูมิใจไทย จากความผิดของเลขาธิการพรรคว่า
'เศรษฐา' ค้างคืน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ปลาย ก.พ. เมิน 'พิธา' ชิงตัดหน้า
นายกฯ จ่อค้างคืนพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ปลาย ก.พ. ดูเศรษฐกิจปากท้องชาวบ้านให้ดีขึ้น ชี้ 'พิธา' ลงไปก่อนเป็นเรื่องดี ไม่มองโดนตัดหน้า
เตรียมซวย! นักวิชาการระบุชัดเศรษฐาต้องรับผิดชอบหากดิจิทัล วอลเล็ตล่ม
'ยุทธพร' ชี้ หากพระราชบัญญัติกู้เงินไม่ผ่านทั้งสภาผู้แทนราษฎร-ศาลรัฐมนตรี นายกฯต้องรับผิดชอบ