“16 ปี สภาองค์กรชุมชนตำบล” “พัฒนาประชาธิปไตยฐานราก สร้างพลังชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง”

การรวมพลังจากทุภาคส่วนเวทีประชุมระดับชาติสภาองค์กรชุมชนครั้งที่ 16

‘สภาองค์กรชุมชนตำบล’ จัดตั้งขึ้นมาตาม ‘พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551’ ปัจจุบันเป็นระยะเวลา 16 ปี มีการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนในระดับตำบล เทศบาล และเขต (ใน กทม.) ขึ้นมาทั่วประเทศ รวม7,795 แห่ง

สภาองค์กรชุมชนตำบลต่างๆ เหล่านี้  มีบทบาทและภารกิจแตกต่างกันไปตามบริบทของพื้นที่และสภาพปัญหา  นับตั้งแต่การดูแลอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  ป่าไม้  แหล่งน้ำ  แหล่งอาหาร  การส่งเสริมอาชีพ  ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะ  วัฒนธรรม  การแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน  ที่อยู่อาศัย สาธารณูปโภค  ฯลฯ เป็นภารกิจที่ครอบจักรวาล ด้วยการทำงานเชื่อมประสานกับหน่วยงานภาคีในท้องถิ่น ทั้งหน่วยงานรัฐ  อปท. หรือสิ่งใดที่สภาองค์กรชุมชนตำบลสามารถทำเองได้ก็สามารถทำได้ทันที  ไม่ต้องรอให้หน่วยงานใดสั่งการลงมา…ถือเป็นรากฐานการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นที่ประชาชนมีส่วนร่วม…เป็นเจ้าของ…เป็นประชาธิปไตยที่กินได้อย่างแท้จริง

ดังเหตุผลส่วนหนึ่งในการประกาศใช้ พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551 ที่ระบุว่า… “เพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็งสามารถจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศ การสร้างระบอบประชาธิปไตย และระบบธรรมาภิบาลซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติรับรองสิทธิชุมชนและประชาชนให้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่นตามความหลากหลายของวิถีชีวิต วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของท้องถิ่น จึงเห็นสมควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนและประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ  จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้”

ผู้เข้าร่วมเวทีประชุมระดับชาติสภาองค์กรชุมชนครั้งที่ 16

การประชุมระดับชาติสภาองค์กรชุมชนครั้งที่ 16

นับตั้งแต่ปี 2551 หลังจากที่ พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551 ได้ประกาศใช้  เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนทั่วประเทศ  ร่วมกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)  และกระทรวงหารพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะที่ได้รับมอบหมายตาม พ.ร.บ.ให้มีภารกิจในการส่งเสริมกิจการของสภาองค์กรชุมชน  ได้จัดให้มี ‘การประชุมในระดับชาติสภาองค์กรชุมชน’ มาแล้ว 15 ครั้ง  โดยปี 2567 จะเป็นการจัดประชุมครั้งที่ 16

กรุงเทพฯ/ ผู้แทนสภาองค์กรชุมชนตำบลทั่วประเทศเข้าร่วม ‘การประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล’ ครั้งที่ 16 ประจำปี 2567 ที่  พอช.  โดยร่วมระดมข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาจากชุมชนท้องถิ่นที่ชาวชุมชนประสบนำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหา ครอบคลุมทุกมิติ 

ระหว่างวันที่ 18-19 ธันวาคมนี้   สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ ‘พอช.’  ร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  และเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบลทั่วประเทศ  จัดงาน ‘การประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล’ ครั้งที่ 16 ประจำปี 2567  มีผู้แทนสภาองค์กรชุมชนตำบลระดับจังหวัด  ผู้ทรงคุณวุฒิระดับจังหวัดจากสภาองค์กรชุมชนตำบลทั่วประเทศเข้าร่วมประชุมประมาณกว่า 400 คน ณ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ  ถนนนวมินทร์  เขตบางกะปิ  กรุงเทพฯ 

การจัดประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบลเป็นไปตาม ‘พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551’ ที่กำหนดให้มีการจัดประชุมระดับชาติปีละ 1 ครั้ง  โดยครั้งนี้เป็นครั้งที่ 16  มีเป้าหมายสำคัญเพื่อรวบรวมข้อเสนอและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ประชาชนทั่วประเทศประสบมานำเสนอในที่ประชุม  และรวบรวมสังเคราะห์  นำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและรัฐบาลเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาต่อไป

โดยในวันนี้ 18 ธันวาคม 2567  เป็นการจัด ‘การเวทีระดมและสรุปข้อเสนอที่ประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบลครั้งที่ 16’  และพิธีลงนามความร่วมมือ “เพื่อพัฒนานโยบายสาธารณะ” โดยมีผู้แทนหน่วยงานภาคีต่างๆ  อาทิ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  สภาเกษตรกรแห่งชาติ  สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ  กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  ฯลฯ  เข้าร่วมงานและกล่าวแสดงความเห็นในประเด็นต่างๆ

นางสาววิภาศศิ ช้างทอง ประธานที่ประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล  กล่าวว่า  สภาองค์กรชุมชนตำบลเป็นพื้นที่ที่ขับเคลื่อน สร้างโอกาส ปกป้องสิทธิชุมชน เชื่อมโยงองค์กรชุมชน เพื่อขับเคลื่อนสังคมสู่องค์กรหลักในการกำหนดแผนพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตร่วมกันของทุกพื้นที่  การจัดงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ     1.ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ภายใต้ พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551  มาตรา 32  2.เป็นเวทีพัฒนาข้อเสนอสาธารณะร่วมกัน   หากมีเนื้อหาที่ต้องนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีจะนำเนื้อหาเข้าสู่ที่ประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล   3.เสนอนโยบาย เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติของคณะรัฐมนตรี  และ 4.การจัดประชุมระดับชาติที่รัฐสภาเพื่อเปิดพื้นที่ให้ฝ่ายการเมืองได้เห็นศักยภาพของสภาองค์กรชุมชน  เกิดกลไกความร่วมมือระหว่างภาคประชาชนกับรัฐบาล และเกิดการแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริง

พอช. กับแนวทางการสนับสนุนสภาองค์กรชุมชนและการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

นายกฤษดา  สมประสงค์  ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ กล่าวถึง “แนวทางการสนับสนุนสภาองค์กรชุมชนและการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน”  มีใจความสำคัญว่า  พอช. มีเป้าหมายหลักในการทำงาน คือการหนุนเสริมขบวนองค์กรชุมชน ให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น  โดย พอช. ดำเนินงานหลายด้าน  เช่น  เรื่องที่อยู่อาศัย องค์กรการเงิน  การสร้างสังคมสุจริต  การพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก  ป่าชุมชน  ฯลฯ  ซึ่งทุกเรื่องเป็นฐานรากสำคัญที่จะทำให้พี่น้องประชาชน  คนในครอบครัวเกิดความมั่นคง   หากครอบครัวมีความมั่นคง  อบอุ่น  จะช่วยส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน

“การทำงานของ พอช. เปรียบเหมือนร่างกายมนุษย์  มีหัวใจ 2 ดวง  หัวใจของบุคลากร 300 กว่าชีวิต  ขับเคลื่อนงานในพื้นที่ กทม. และต่างจังหวัด   หัวใจอีก 1 ดวง  คือ  พี่น้องขบวนองค์กรชุมชนและพี่น้องประชาสังคม  ในการสร้างความสัมพันธ์กับหน่วยงานรัฐ  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  สถาบันการศึกษา  ภาคส่วนต่าง ๆ ที่มีอยู่ในพื้นที่ เชื่อมโยง ทำให้เกิดการทำงานหลายมิติ”   นายกฤษดากล่าวถึงบทบาทการทำงานของ พอช.

ผอ.พอช. กล่าวต่อไปว่า  พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชนเกิดขึ้นในปี 2551   ปีนี้เป็นปีที่ 16  สภาองค์กรชุมชนรับฟังคนอื่น และมุ่งสู่การทำงานเพื่อสังคมและชุมชน  กฎหมาย (พ.ร.บ.) ฉบับนี้เกิดขึ้นเพื่อรับรองสถานะขององค์กรชุมชน  สภาองค์กรชุมชนเป็นพื้นที่กลางในการสร้างความตระหนักในปัญหาร่วมกัน  ร่วมกันพัฒนากำหนดเรื่องราวต่าง ๆ  หากพี่น้องประชาชนเดือดร้อน  สภาฯ มีหน้าที่จะสะท้อนปัญหาของพี่น้อง ทั้งในระดับท้องถิ่นและประเทศ  และเสนอแนวทางไปยังรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชน

ส่วนเรื่อง พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชนฉบับนี้ใช้มา 16 ปีแล้ว  ต้องมีการปรับปรุงแก้ไขให้สอดรับกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง  และต้องช่วยกันขับเคลื่อนเป้าหมายให้มีความชัดเจนมากขึ้น  โดย พอช.จะตั้งทีมงานชุดเล็กขึ้นมาเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ร่วมกัน  เพื่อนำไปสู่เป้าหมายประเทศไทยมีรากฐานที่แข็งแรง หากชุมชนท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง  ประเทศไทยจะไปรอด

สภาองค์กรชุมชนกับการขับเคลื่อนจังหวัดจัดการตนเอง

นายเอกนัฐ บุญยัง เลขานุการที่ประชุมในระดับชาติ  กล่าวถึง  สภาองค์กรชุมชนกับการขับเคลื่อนจังหวัดจัดการตนเอง ซึ่งในพื้นที่ได้มีการขับเคลื่อนจากพื้นที่เป้าหมาย 22 จังหวัด  ได้มีการกำหนดแนวทางในการพัฒนาขับเคลื่อนจังหวัดบูรณาการ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการกระจายอำนาจของประชาชน และยกระดับสู่สภาพลเมือง โดยมีเป้าหมายในการขับเคลื่อน คือการพัฒนาภาคประชาชนให้เป็นองค์กรชุมชนจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิต ผลักดันการเลือกตั้งผู้ว่าทุกจังหวัด พร้อมการพัฒนาพื้นที่ตำบลควบคู่กันไป ส่งเสริมผลักดันนโยบายสาธารณะ (1จังหวัด/1นโยบายสาธารณะ) ผลักดันประเด็นร่วมต่าง ๆ ซึ่งเป็นวาระสำคัญของคนในจังหวัด และใช้ระบบฐานข้อมูลนำไปสู่การไขปัญหาเชิงพื้นที่ พร้อมทั้งยกระดับกลไกการขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์ และกลไกเชิงประเด็น เป็นเครื่องมือในการพัฒนา การบูรณาการความร่วมมือ ประสานพลังภาคี สร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนกับหน่วยงานภาครัฐ  โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อสร้างความร่วมมือกัน และขับเคลื่อนร่วมกับองค์กรอื่น ๆ สนับสนุนความเข้มแข็งให้กับพื้นที่ สนับสนุนการพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน

สำหรับข้อเสนอต่อการขับเคลื่อนจังหวัดจัดการตนเอง กำหนดฐานการพัฒนาจากต้นทุนของพื้นที่ มีการจัดสมัชชาระดับจังหวัด/ภูมิภาค และการสร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ซึ่งได้กำหนดรูปแบบกลไกการสนับสนุนการพัฒนา ได้แก่ การสร้างกรอบคิดการพัฒนา องค์ประกอบของคณะทำงานกลาง ที่ปรึกษา พร้อมทั้งระบุ บทบาท หน้าที่ในการทำงานให้ชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างการบูรณาการ ความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ส่งเสริมให้พื้นที่เกิดความเข้มแข็ง นายเอกนัฐ กล่าวทิ้งท้าย

“พัฒนาประชาธิปไตยฐานราก ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง”

 ในการประชุมสภาองค์กรชุมชนครั้งที่ 16 นี้ ได้มีการ ปาฐกถาพิเศษ “พัฒนาประชาธิปไตยฐานราก ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง”  โดย ศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ หัวหน้าโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีเนื้อหาโดย สรุปคือ  การสร้างุชมชนเข้มแข็ง คือการสร้างประชาธิปไตยจากฐานราก เพราะชุมชนเป็นพื้นฐานของสังคมไทย โดยชุมชนมีแนวทาง อนาคตในการกระจายอำนาจมิติใหม่ ที่ต้องขับเคลื่อน การออกแบบโครงสร้างสถาบันทางการเมือง ที่ต้องใช้วิธีจากฐานรากเท่านั้นจึงจะประสบความสำเร็จ ส่งเสริมแนวคิดตามทฤษฎีประชาสังคมอย่างมีดุลยภาพ เพื่อดุลยภาพในทุกมิติ เป็นประชาธิปไตยแบบตัวแทน สามารถกำหนดทิศทางการพัฒนาด้วยตนเองได้ เรียนรู้การพัฒนา จัดการทักษะของชุมชน สร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมือง การสร้างภาคประชาสังคม สร้างประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือเพื่อถ่สงดุลยืประชาธิปไตยผู้แทน สร้างสังคมให้เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง โดยแนวทางในการสร้างประชาชธิปไตยแบบอัตลักษณ์ไทย จำเป็นต้องเรียนรู้และเข้าใจพื้นฐานในการพัฒนาในการสร้างความเข้มแข็งหลายประการ ได้แก่ การหล่อหลอมสร้างสำนึกแบบพลเมือง  การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เป็นการเปลี่ยนแปลงโดยคนชั้นนำ ไม่ก้อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างแท้จริง  ระบบราชการบริหารแผ่นดินของประเทศไทย เป็นแบบรวมศูนย์จึงเป็นปัญหาในการกระจายอำนาจ ส่งเสริมสถาบันภาคประชาชน ที่มีอำนาจในการต่อรองทางนโยบาย  ประชาธิปไตยจากคนชั้นนำ ขาดการเชื่อมโยงกับฐานมวลชนทั่วไป นักวิชาการ มองข้ามทุนทางสังคมที่กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศไทย กระบวนการต่อสู้ของชุมชน จะนำมาสู่การรับรองสิทธิชุมชน แสดงให้เห็นความเข้มแข็งของชุมชนไทย  ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง เป็นสิ่งที่เกิดจากการจัดการตนเองของชุมชน เป็นกลไกในการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาตนเอง สามารถให้เห็นความเข้มแข็งของชุมชนไทย ประเด็นที่ชุมชนเข้มแข็งได้ดำเนินการ แบ่ง 7 ประเด็น ได้แก่ การจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่น ด้านการเมืองชุมชน การจัดการตนเองด้านแผนชุมชน การจัดการตนเองด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การเกษตร เศรษฐกิจพอเพียง ความั่นคงทางด้านอาหาร การต่อสู้กับความยากจน

ศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ

ชุมชนท้องถิ่นสามารถรองรับปัญหา วิกฤติต่างๆ ที่ประสบได้ สามารถสร้างสังคมให้เข้มแข็ง สร้างประชาธิปไตยฐานราก โดยต้องส่งเสริมแนวคิดการกรกะจายอำนาจ ด้วย 2 แนวทาง ได้ก่ การจายอำนาจในการจัดทำนโยบายสาธารณะ และการะจายอำนาจด้านบริหารจัดการ โดยภาคประชาชน ประชาสังคมเข้าไปมีส่วนร่วมในการกระจายอำนาจด้วย และต้องมีแนวทางร่วมให้องค์กรปกครองท้องถิ่น มีอำนาจในการบริหารจัดการท้องถิ่นร่วมกับชุมชน ซึ่งมีข้อเสนอต่อการพัฒนา ดังนี้ 1)เพิ่มมาตรการให้องค์กรชุมชน และองค์กรภาคประชาสังคมเข้มแข็ง โดยมีมาตรการส่งเสริมด้านงบประมาณด้วย รวมทั้งองค์กรที่ขับเคลื่อนภารกิจร่วมกับรัฐ ต้องมีมาตรการในการส่งเสริมและสนับสนุนองค์กรนั้นด้วย  2)เพิ่มมาตรการให้สภาองค์กรชุมชน เข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกับองค์กรปกครองท้องถิ่นได้ ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการมีบทบาทกับท้องถิ่น 3)กำหนดเป้าหมายการพัฒนาร่วมกันกับภาคประชาสังคม เพื่อสนับสนุนความเข้มแข็งของภาคประชาชน โดยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนส่งเสริมภาคประชาสังคมในพื้นที่  4)สร้างมาตรการกลไกของราชการส่วนภูมิภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรชุมชน ภาคประชาสังคม สามารถบริหารจัดการในพื้นที่ได้กว้างขึ้น 5)มีรูปธรรมในพื้นที่ที่สามารถนำเสนอรูปธรรม เกิดจากการปฏิบัติการจริง 6)ส่งเสริมการออกระเบียบกฎหมายเพื่อจัดตั้งสภาพลเมือง ในแต่ละพื้นที่ 7)ให้มีหลักสูตรการสร้างความเป็นพลเมืองต่างๆ บูรณาการนำไปใช้ในระบบการศึกษาไทยในทุกช่วงวัย

บทสรุป คือ ลำพังการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่สามารถสร้างระบบการมืองไทยให้มีเสถียรภาพหรือยั่งยืนได้  เพราะระบบการเมืองไทยยังขาด “ประชาธิปไตยฐานราก”  ที่เป็นเสมือนเสาเข็มที่จะรองรับอาคารประชาธิปไตยของไทย สังคมไทยยังไร้รากทางการเมืองที่เชื่อมโยงกับประชาชนในฐานะประชาธิปไตยทางตรง ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ หรือประชาธิปไตยฐานชุมชนท้องถิ่น

เวทีเสวนา “การพัฒนาจังหวัดจัดการตนเอง”

ในเวทีวันนี้ยังได้มี เวทีเสวนา “การพัฒนาจังหวัดจัดการตนเอง” ผู้ร่วมเสวนาประกอบไปด้วย นางสาวศิริวรรณ บุตราช ผู้แทนสภาองค์กรชุมชนจังหวัดตราด นายสมภา ใจกล้า ผู้แทนสภาองค์กรชุมชนจังหวัดพัทลุง นายจารึก ไชยรักษ์ ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ นายวิริยะ แต้มแก้ว ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ดำเนินการโดย นายสมบูรณ์ คำแหง ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนระดับชาติ (กป.อพช.) ซึ่งได้มีข้อเสนอเพิ่มเติมจากเวทีเสวนาครั้งนี้ คือ   การขับเคลื่อนในระดับจังหวัด อาจจะมีปัญหา หรือกรณีต่าง ๆ ทำให้เกิดความติดขัดต่อการเคลื่อนงาน จึงจำเป็นต้องใช้แนวทางในการแก้ไขปัญหา ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนปัญหา มีกระบวนการสร้างความเข้าใจร่วมกัน  ใช้สภาองค์กรชุมชนเป็นเครื่องมือในการทางร่วมในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งหาแนวทางพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง เชื่อมโยงประสานการแก้ไขปัญหา จัดทำแผนร่วม เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหา และเกิดการบูรณาการในพื้นที่    ในการจัดการตนเองของจังหวัด สิ่งที่สำคัญคือการร่วมมือ สนับสนุนร่วมกับท้องถิ่น เพื่อเชื่อมโยงแผนงาน สนับสนุนการทำงานของสภาองค์กรชุมชนในพื้นที่ร่วมด้วย   สภาองค์กรชุมชน เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มองค์กรชุมชนที่มีความหลากหลาย และมีแกนนำองค์กรชุมชน ในการนำพาชุมชนให้มีความเข้มแข็ง โดยเปิดพื้นที่กลาง และพื้นที่แห่งการพูดคุยร่วมกัน

สรุปข้อเสนอ “การพัฒนาจังหวัดจัดการตนเอง”

นายสุวัฒน์ คงแป้น ที่ปรึกษาคณะกรรมการดำเนินการสภาองค์กรชุมชนตำบลระดับชาติ  ไปกล่าวถึงข้อเสนอ “การพัฒนาจังหวัดจัดการตนเอง” ว่า ก้าวความสำเร็จของจังหวัดจัดการตนเอง พื้นที่ต้องสามารถจัดการปัญหาได้ด้วยตนเอง สร้างจุดยืนของภาคประชาชน พร้อมทั้งสร้างการรับรู้ ให้ทั่วถึงทั้ง 77 จังหวัด เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของจังหวัดตามศักยภาพของพื้นที่แต่ละจังหวัด โดยการขับเคลื่อนงานพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานภาคีต่างๆ แนวทางข้อเสนอต่อการพัฒนาจังหวัดจัดการตนเอง เพื่อนำไปสู่รูปธรรมความสำเร็จของจังหวัด ได้แก่ 1) การสร้างจุดยืนของภาคประชาชน ซึ่งจะเป็นพลังของประชาชนที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงประเทศได้ 2) ร่วมกันพัฒนาระบบต่าง ๆ เพื่อให้เกิดเสถียรภาพในการขับเคลื่อนงาน 3) สนับสนุนสร้างความร่วมมือกับภาคีทุกภาคส่วน ผลักดันให้เกิดการกระจายอำจาจชุมชนท้องถิ่น 4) มีกลไกร่วมในการขับเคลื่อน สนับสนุนความเข้มแข็ง 5) มีมาตรากรส่งเสริมให้สภาองค์กรชุมชน ได้ดำเนินการตามภารกิจได้ครอบคลุมในพื้นที่ 6) ส่งเสริมงานด้านวิชาการ และพัฒนาหลักสูตรในการจัดการตนเอง โดยส่งเสริมการศึกษาและให้ความรู้ในทุกระดับ

พิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ “เพื่อพัฒนานโยบายสาธารณะ”

ต่อจากนั้นยังได้มี พิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ “เพื่อพัฒนานโยบายสาธารณะ” ระหว่าง สภาองค์กรชุมชน  โดย นางสาววิภาศศิ  ช้างทอง ประธานที่ประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) โดย นายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ โดย นายแพทย์สุเทพ เพชรมาก เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และ สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ โดย นายณรงค์รัตน์ ม่วงประเสริฐ รองเลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ รักษาการแทนเลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ  ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้  ด้วยความมุ่งมั่นของ สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และสภาองค์กรชุมชน กับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ในการสร้างชุมชนที่เข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ 4 หน่วยงาน จึงร่วมกันในการบูรณาการความร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ.2553 พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551 และ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2543 ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 และเชื่อมโยงไปสู่แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 14 อันมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาความสมดุลในทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี และความเป็นอยู่ที่ยั่งยืนของประชาชน โดยมีเจตนารมณ์ร่วมกันในการส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนในทุกขั้นตอนของการพัฒนา ตลอดจนการสร้างพื้นที่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานรัฐ ชุมชน และภาคประชาสังคม โดยมีเป้าหมายการขับเคลื่อนงานตามภารกิจของทั้ง 4 หน่วยงาน ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในทุกพื้นที่

สภาเกษตรกรแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และสภาองค์กรชุมชน กับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) จึงร่วมกันบูรณาการทรัพยากร ความรู้ และประสบการณ์ที่มีอยู่ เพื่อเสริมสร้างชุมชนให้มีความสามารถ ในการพึ่งพาตนเองในทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาวะ โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงและพร้อมที่จะขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน สร้างชุมชนที่เข้มแข็ง และสร้างสังคมที่มีความสมดุลในระยะยาว  บันทึกข้อตกลงฉบับนี้ทำขึ้น ณ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2567

ผู้แทนสภาองค์กรชุมชนร่วมแลกเปลี่ยนในเวทีเสวนา

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประกาศผล 8 กองทุน เข้ารับรางวัลองค์กรสวัสดิการชุมชนดีเด่น ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ประจำปี พ.ศ. 2567

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหารชน) หรือ พอช. ร่วมกับ คณะทำงานพิจารณารางวัลองค์กรสวัสดิการชุมชนประจำปี 2567 จัดเวทีพิจารณา รางวัลองค์กรสวัสดิการชุมชน

ชุมชนทั่วประเทศ ระดมข้อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาให้รัฐ ในการประชุม ‘ระดับชาติสภาองค์กรชุมชนตำบล’ ครั้งที่ 16 ปี 2567 เชื่อมั่น “พลังชุมชน พลังประชาชน สามารถเปลี่ยนแปลงประเทศได้”

การประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบลครั้งที่ 16’ ปี 2567 ผู้แทนสภาองค์กรชุมชน ทั่วประเทศ ระดมข้อเสนอเชิงนโยบายให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ

โค้งสุดท้าย 26 กองทุนฯทั่วไทย ลุ้นรางวัลกองทุนสวัสดิการชุมชนดีเด่น ‘ป๋วย อึ๊งภากรณ์’

กรุงทพฯ/(16 ธ.ค. 67) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหารชน) หรือ พอช. ร่วมกับ ภาคีเครือข่าย คณะทำงานพิจารณารางวัลองค์กรสวัสดิการชุมชนประจำปี 2567

พอช. หนุน “ศูนย์กระจายสินค้าชุมชน” โมเดลสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจชุมชนฐานราก ที่กาญจนบุรี

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. ร่วมกับ เครือข่ายองค์กรชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี จัดพิธีเปิดศูนย์กระจายสินค้าชุมชนตำบลหนองตากยา

พลเอกนิพัทธ์ ทองเล็ก นำทีมช่างชุมชน Kick Off ซ่อมบ้านผู้ประสบภัยพิบัติ ‘แม่ยาวโมเดล’

พอช. หนุนงบกว่า 30 ล้าน ซ่อม สร้าง 6 ตำบล 875 ครัวเรือน สร้างรูปธรรม การจัดการที่ดิน ที่อยู่อาศัย ยกระดับคุณภาพชีวิต พร้อมยื่นข้อเสนอเชิงนโยบายจากชุมชน ถึงรัฐบาล

สุราษฎร์ธานี จัดงานวันที่อยู่อาศัยโลกปี67 ย้ำชุมชนต้องเป็นแกนหลักในการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยคนจน

UN – HABITAT หรือ ‘โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ’ กำหนดให้วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมทุกปีเป็น ‘วันที่อยู่อาศัยโลก’ หรือ ‘World Habitat Day’