พิธีเปิดศูนย์กระจายสินค้าชุมชนตำบลหนองตากยา
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. ร่วมกับ เครือข่ายองค์กรชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี จัดพิธีเปิดศูนย์กระจายสินค้าชุมชนตำบลหนองตากยา ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ศูนย์ฯนำร่องของจังหวัด โดยมีว่าที่ร้อยตรีศุภมงคล บูชาถ่ายเทศ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย นายวิริยะ แต้มแก้ว ผู้ช่วยผู้อำนวยการ พอช. นายพิพัฒน์ แก้วจิตคงทอง ประธานคณะกรรมการศูนย์กระจายสินค้าชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี นายธวัชชัย วณิชยาพานิชย์ นายกเทศมนตรีตำบลหนองตากยา นายสายชล ตันมันทอง กำนันตำบลหนองตากยา หน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องทั้ง ภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้แทนเครือข่ายองค์กรชุมชนภาคกลางและภาคตะวันตก และพี่น้องชาวชุมชนตำบลหนองตากยาเข้าร่วม กว่า 300 คน ณ อาคารวิสาหกิจชุมชน ศูนย์กระจายสินค้าชุมชนตำบลหนองตากยา อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี
ร้านค้าศูนย์กระจายสินค้าชุมชนหนองตากยา
ศูนย์กระจายสินค้าชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี เป็นการสร้างการผลิตแบบครบวงจร เชื่อมโยงตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบ จัดหาสินค้า การบริการที่เกี่ยวข้องกับชุมชน การแปรรูปวัตถุดิบ การกระจายสินค้า การบริโภค จัดจำหน่าย การตลาด และการจัดสรรผลประโยชน์ที่ทุกภาคส่วนร่วมกันพัฒนา โดยศูนย์กระจายสินค้าและบริการของชุมชน “การสร้างความมั่นคง ยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจชุมชนได้ ต้องมีการส่งเสริมระบบเศรษฐกิจฐานราก เพื่อให้ชุมชนท้องถิ่นมีการผลิต และระบบการตลาดที่ครบวงจร” ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล มียุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์เน้นตอบโจทย์การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม ผ่านการส่งเสริมเศรษฐกิจระดับชุมชนท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็งและมีศักยภาพในการแข่งขัน สามารถพึ่งพาตนเองได้ ยกระดับมาตรฐานการครองชีพและความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น โดยทุกคนได้รับประโยชน์อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
ว่าที่ร้อยตรีศุภมงคล บูชาถ่ายเทศ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ได้กล่าวถึง เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าชุมชนแห่งนี้ ว่า เป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและภาคส่วนต่าง ๆ ในการส่งเสริมรายได้ของประชาชนในพื้นที่ตำบลหนองตากยา เป็นการลดรายจ่ายผ่านการจัดหาสินค้าราคาถูก และการสร้างผลตอบแทนให้แก่สมาชิกในชุมชน ความสำเร็จนี้จะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนให้กับชุมชนตำบลหนองตากยา โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่ได้สนับสนุนโครงการนี้ ได้แก่ กองทุนพัฒนารอบโรงไฟฟ้ากาญจนบุรีที่ให้การสนับสนุนการก่อสร้างอาคาร สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช) ที่สนับสนุนด้านสินเชื่อ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย รวมไปถึงผู้นำท้องถิ่น ท้องที่ และสมาชิกชุมชนช่วยกันดูแลและพัฒนาศูนย์แห่งนี้ให้ขยายผลครอบคลุมทั้งตำบลและพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อประโยชน์อย่างสูงสุดแก่ชุมชน
นายวิริยะ แต้มแก้ว ผู้ช่วยผู้อำนวยการ พอช. กล่าวว่า พอช. เป็นหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนช่วยเหลือแก่องค์กรชุมชนและเครือข่ายองค์กรชุมชนในการประกอบอาชีพ การพัฒนาอาชีพ เพิ่มรายได้ โดยยึดหลักแบบองค์รวมหรือบูรณาการ และหลักการพัฒนาสมาชิกชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดวิธีการพัฒนาด้วยตนเอง มีเจตนารมณ์สำคัญที่มุ่งเน้นให้ “ชุมชนท้องถิ่นมีระบบเศรษฐกิจและทุนชุมชนที่มั่นคง สามารถพึ่งพาตนเอง และจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน” โดยสถาบันฯ มีฐานงานที่นำไปสู่การเชื่อมโยงกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและทุนชุมชน ที่สำคัญ คือ 1) ฐานระบบการเงินและทุน เช่น การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ การสนับสนุนระบบสินเชื่อเพื่อการพัฒนา การบูรณาการกองทุน การแก้หนี้นอกระบบ และสถาบันการเงินชุมชน 2) ฐานการพัฒนาอาชีพ รายได้ เช่น การส่งเสริมการรวมกลุ่มอาชีพต่างๆ การจัดตั้งธุรกิจชุมชน-วิสาหกิจชุมชน การจัดทำแผนชุมชน ระบบการผลิต และเกษตรยั่งยืน
นายวิริยะ กล่าวต่อไปอีกว่า พอช. ได้สนับสนุนสินเชื่อเรื่องการพัฒนาอาชีพ ให้กับ “ศูนย์กระจายสินค้าชุมชน” จ. กาญจนบุรี เป็นจำนวนเงิน 7,390,000 บาท เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนดำเนินการนำร่อง ใน 3 พื้นที่ ได้แก่ ตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค ตำบลหนองโรง อำเภอพนมทวน และตำบลหนองตากยา อำเภอท่าม่วง นอกจากนี้แล้วยังได้ประสานความร่วมมือกับหลายหน่วยงานให้เข้าสนับสนุน “ศูนย์กระจายสินค้าชุมชน” ให้เกิดความเข้มแข็ง ทั้งด้านบุคลากร องค์ความรู้เชิงวิชาการในการขับเคลื่อนงาน ด้านต่างๆ และจะขยายผลไปยังพื้นที่ในระยะต่อไป
นายพิพัฒน์ แก้วจิตคงทอง ประธานคณะกรรมการศูนย์กระจายสินค้าชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี กล่าวว่า ต้นทางเกิดจากที่ท่าเสา ทํามา 20 กว่าปีแล้วสำหรับการสร้างระบบเศรษฐกิจที่ให้ชุมชนเองมีส่วนร่วมและเป็นเจ้าของ วันนี้เราจะยกระดับจังหวัดของเราสร้างเป็นโมเดลเพราะเรามีกําลังบริโภคของพวกเราอยู่แล้วนี่คือผลประโยชน์ของเขา
เราจะไปตั้งตรงไหนก็ได้ไม่ว่าชุมชนนั้นจะใหญ่แค่ไหนขอให้ชุมชนนั้นเข้ามาเป็นสมาชิก มามีส่วนร่วม เขาได้รับผลประโยชน์ และให้ผลประโยชน์กับเขา คุณบริโภคมาก คุณมีกําไรมาก คุณปันผลมาก คุณซื้อมาก คุณมีส่วนลด ปันผลให้ปลายปีอีก มีศูนย์จังหวัดเป็นแม่ข่าย ในการที่จะให้ลงไปพัฒนา รวมทั้งจัดหาสินค้าภายนอก ลงไปยังศูนย์ตําบลต่างๆ ต้องคัดเลือกตัวแทนระดับตําบลขึ้นมาคอยดูแลศูนย์ ระบบการบริหารจัดการใช้ระบบโปรแกรมทั้งหมด
ทีมบริหารของศูนย์จังหวัดคอยดูแลเรื่องระบบ ปิดงบดุลบัญชีในแต่ละวัน ทุกสิ้นเดือนต้องมีประกาศให้ตําบลว่าเดือนเนี้ยขายไปยอดไปเท่าไหร่ รายจ่ายค่าจ้างค่าน้ําค่าไฟต่างต่างเท่าไหร่ แต่ละเดือนกําไรเท่าไหร่ซึ่งเขาสามารถตรวจสอบได้ทั้งหมด เด็กส่วนใหญ่ระดับปริญญาตรีเขาบอกว่าอย่างน้อยเขาอยู่ใกล้ใกล้พ่อแม่ทํางานในพื้นที่ไม่มีค่าใช้จ่ายถ้าเราสร้างตรงนี้มั่นคงเขาไม่มีวันตกงาน แต่มีจะโตขึ้น ให้ทุกคนสามารถถือหุ้นได้ 60% จะเป็นหุ้นภายในตําบล อีก 40% ให้หุ้นภายนอก หุ้นภายนอกก็คือไม่ว่าจะเป็นคนจังหวัดหรือคนต่างจังหวัด สามารถมาซื้อหุ้นตรงนั้นได้ แต่มีเงื่อนไขว่าคนนึงไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน ถ้ากลุ่มองค์กรไม่เกิน 50,000 บาท
“ต่อให้เราไปตั้งร้านค้าที่ไหนในประเทศ ถ้าเขามีหุ้นกับตัวศูนย์จังหวัด เขาก็ถือว่าเขาเป็นเจ้าของ ระบบแบบนี้สามารถกระจายไปยังทุกภูมิภาคของประเทศไทย มีการรวมกลุ่มเพื่อการพัฒนา ร้านค้าของพวกเราเรากินเราใช้ ผลประโยชน์กลับคืนสู่เราทั้งหมด รายได้ส่วนหนึ่งกลับไปช่วยเหลือในสังคม ทุกคนเข้าร้านของตัวเอง เราผลิต เรากิน เราใช้ ตลาดเป็นของเราผลประโยชน์ทุกอย่างกลับคืนสู่เราทั้งหมด” นายพิพัฒน์ กล่าวในตอนท้าย
นายธวัชชัย วณิชยาพานิชย์ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลหนองตากยา กล่าวว่า การเปิดอาคารวิสาหกิจชุมชนศูนย์กระจายสินค้าชุมชนตำบลหนองตากยา ถือเป็นก้าวสำคัญที่สะท้อนถึงความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคท้องถิ่น เอกชน สถาบันการศึกษา และองค์กรชุมชน ซึ่งได้ร่วมกันผลักดันและพัฒนาโครงการนี้จนสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย ศูนย์กระจายสินค้าชุมชนแห่งนี้ ไม่เพียงแต่เป็นสถานที่กระจายสินค้า แต่ยังเป็นศูนย์กลางในการสร้างโอกาส สร้างรายได้ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในตำบลหนองตากยา อันจะนำไปสู่ความมั่นคงและยั่งยืนในอนาคต มีหลายหน่วยงานและองค์กรทุกฝ่ายที่ได้ร่วมกันสนับสนุน ทั้งด้านงบประมาณ กองทุนพัฒนาไฟฟ้า, ด้านอุปกรณ์และการพัฒนาระบบจากศูนย์กระจายสินค้าจังหวัด, และการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีและมหาวิทยาลัยมหิดล ไทรโยค
นายสายชล ตันมันทอง กำนันตำบลหนองตากยา กล่าวว่า ท่าเสาเขามีร้านค้าชุมชนการดําเนินงานของเขาเป็นอย่างไรถึงประสบความสําเร็จผู้นําในตําบลหนองตากยาไปดูงานที่ศูนย์กระจายสินค้าท่าเสาเรามีหุ้นภายนอกกับภายในภายในก็คือคนที่อยู่ในตําบลหนองตากยาภายนอกก็คือคนที่อยู่นอกตําบลนะครับก็สามารถซื้อหุ้นเราได้ อาคารหลังนี้ได้รับงบประมาณจากกองทุนรอบโรงไฟฟ้าจังหวัดกาญจนบุรี รูปแบบการดําเนินงานเราก็มีศูนย์จังหวัดคอยดูแลแล้วก็มีคณะกรรมการในระดับตําบลคอยดูแล ก็จะมีผู้จัดการสาขาพนักงาน มีทั้งหมด8 คน แต่ละคนก็ต้องหมุนเวียนทําหน้าที่ คือต้องเป็นทุกอย่าง ส่วนใหญ่ก็เป็นคนในพื้นที่
“ร้านค้าอยู่ได้ สมาชิกก็อยู่ได้เช่นกัน ถ้าไปซื้อร้านทั่วไป คุณก็ไม่ได้เงินคืน ที่ไปซื้อร้านอื่นก็ไม่ได้เงินปันผลคืนถ้ามาซื้อที่ร้านแห่งนี้ แต่ละคนก็เป็นสมาชิกอยู่แล้ว สิ้นปีก็มีปันผล ในอนาคตจะขยับขยายแล้วก็อาจจะไปตั้งสาขาย่อยเพื่อความสะดวกสบายของสมาชิก พ่อแม่พี่น้องทุกท่านก็เป็นเจ้าของ เงินไม่รั่วไหลอยากให้เงินอยู่ในชุมชน ต้องมาสนับสนุนร้านค้าแห่งนี้” นายสายชล กล่าวทิ้งท้าย
ด.ร.พินิตา แก้วจิตคงทอง ผู้อำนวยการศูนย์กระจายสินค้าชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี ได้กล่าวถึงระบบการฝากขายสินค้าของชุมชน ว่า คนที่จะมาขายสินค้าในร้านเราได้ มีกําแพงเดียวคือต้องเป็นสมาชิก การเป็นสมาชิกตั้งแต่ 1 หุ้นๆร้อยเดียวก็เป็นได้ มีสิทธิ์เท่ากัน มีสิทธิ์ฝากขายเท่ากัน สินค้าที่มาฝากขายก็จะเป็นสินค้าที่เขาผลิตเอง ตั้งราคาเองได้กําหนดราคาเองได้ ร้านเราได้จากเอ่อเปอร์เซ็นต์การฝากขาย มีตั้งแต่ 10 -20% แล้วแต่ประเภทของสินค้า และการฝากวางระยะเวลาการดูแลของพนักงานที่เราต้องดูแลให้ ท่าเสาเป็นโมเดลทางความคิด แต่หนองตากยาจะเป็นโมเดลทั้งความคิดแล้วก็ตัวอาคาร ตัวสินค้าแล้วก็ตัวระบบ ศูนย์ต่อไปที่จะเปิดใหม่ นับจากนี้เป็นต้นไป สามารถยกโมเดลของหนองตากยาไปตั้งได้เลย
พนักงานศูนย์กระจายสินค้าชุมชนตำบลหนองตากยา
สินค้าภายในศูนย์กระจายสินค้าชุมชนตำบลหนองตากยา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ประกาศผล 8 กองทุน เข้ารับรางวัลองค์กรสวัสดิการชุมชนดีเด่น ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ประจำปี พ.ศ. 2567
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหารชน) หรือ พอช. ร่วมกับ คณะทำงานพิจารณารางวัลองค์กรสวัสดิการชุมชนประจำปี 2567 จัดเวทีพิจารณา รางวัลองค์กรสวัสดิการชุมชน
ชุมชนทั่วประเทศ ระดมข้อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาให้รัฐ ในการประชุม ‘ระดับชาติสภาองค์กรชุมชนตำบล’ ครั้งที่ 16 ปี 2567 เชื่อมั่น “พลังชุมชน พลังประชาชน สามารถเปลี่ยนแปลงประเทศได้”
การประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบลครั้งที่ 16’ ปี 2567 ผู้แทนสภาองค์กรชุมชน ทั่วประเทศ ระดมข้อเสนอเชิงนโยบายให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ
“16 ปี สภาองค์กรชุมชนตำบล” “พัฒนาประชาธิปไตยฐานราก สร้างพลังชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง”
‘สภาองค์กรชุมชนตำบล’ จัดตั้งขึ้นมาตาม ‘พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551’ ปัจจุบันเป็นระยะเวลา 16 ปี มีการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนในระดับตำบล เทศบาล และเขต
โค้งสุดท้าย 26 กองทุนฯทั่วไทย ลุ้นรางวัลกองทุนสวัสดิการชุมชนดีเด่น ‘ป๋วย อึ๊งภากรณ์’
กรุงทพฯ/(16 ธ.ค. 67) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหารชน) หรือ พอช. ร่วมกับ ภาคีเครือข่าย คณะทำงานพิจารณารางวัลองค์กรสวัสดิการชุมชนประจำปี 2567
พลเอกนิพัทธ์ ทองเล็ก นำทีมช่างชุมชน Kick Off ซ่อมบ้านผู้ประสบภัยพิบัติ ‘แม่ยาวโมเดล’
พอช. หนุนงบกว่า 30 ล้าน ซ่อม สร้าง 6 ตำบล 875 ครัวเรือน สร้างรูปธรรม การจัดการที่ดิน ที่อยู่อาศัย ยกระดับคุณภาพชีวิต พร้อมยื่นข้อเสนอเชิงนโยบายจากชุมชน ถึงรัฐบาล
สส.อัครนันท์ ขอบคุณรัฐบาลอิ๊งค์ แก้ไขปัญหาไฟฟ้า-น้ำประปา ให้พี่น้องปชช.
นายอัครนันท์ กัณณ์กิตตินันท์ สส.กาญจนบุรี เขต 1 พรรคเพื่อไทย กล่าวว่าตามที่ครม.มีมติเมื่อ 8 ตุลาคม 67 ในการช่วยเหลือปร