นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน (สปส.) กล่าวเตือนผู้ประกันตนอย่าลืมไปใช้สิทธิกรณีทันตกรรม ก่อนหมดสิ้นปี 2567 สำนักงานประกันสังคม ให้สิทธิผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 สามารถทำฟัน โดยการถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูนและผ่าตัดฟันคุด ไม่ต้องสำรองจ่ายในสถานพยาบาลที่ทำความตกลงกับสำนักงานประกันสังคม สามารถใช้สิทธิได้สูงสุด 900 บาทต่อคนต่อปี ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ซึ่งเป็นสิทธิของผู้ประกันตนที่พึงจะได้รับประจำปี 2567 สามารถขอรับบริการในสถานพยาบาลเอกชนและเครือข่าย หรือสถานพยาบาลของรัฐ ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2567 นอกจากนี้การทำฟันประกันสังคมยังครอบคลุมถึงการใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้บางส่วนหรือชนิดถอดได้ทั้งปาก ดังนี้
1. ใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้บางส่วน ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์และค่าฟันเทียมเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นในวงเงินไม่เกิน 1,500 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ใส่ฟันเทียม ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
- จำนวน 1 - 5 ซี่ จ่ายเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นในวงเงินไม่เกิน 1,300 บาท
- จำนวนมากกว่า 5 ซี่ จ่ายเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นในวงเงินไม่เกิน 1,500 บาท
2. ใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปาก ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์และค่าฟันเทียมเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นในวงเงินไม่เกิน 4,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ใส่ฟันเทียม ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
- ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปากบนหรือล่าง จ่ายเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นในวงเงินไม่เกิน 2,400 บาท
- ฟันเทียมชนิดถอดได้ทั้งปากบนและล่าง จ่ายเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นในวงเงินไม่เกิน 4,400 บาท
นางมารศรี กล่าวย้ำว่า สิทธิประโยชน์กรณีทันตกรรม 900 บาทต่อคนเป็นสิทธิปีต่อปี หากไม่ใช้สิทธิในปีนี้เท่ากับเสียโอกาสในการดูแลสุขภาพในช่องปาก ทั้งนี้ ผู้ประกันตนที่จะไปใช้สิทธิฯ สามารถใช้บัตรประชาชนเพียงใบเดียวในการเข้ารับบริการกรณีทันตกรรมกับสถานพยาบาล โดยสังเกตป้ายสติ๊กเกอร์ที่ระบุว่า สถานพยาบาลแห่งนี้ให้บริการผู้ประกันตนกรณีทันตกรรม “ทำฟัน” ไม่ต้องสำรองจ่าย
เลขาธิการ สปส. กล่าวในตอนท้ายว่า หากกรณีผู้ประกันตนเข้ารับบริการกรณีทันตกรรมในสถานพยาบาลที่ไม่ได้ทำความตกลงกับสำนักงานประกันสังคมเรื่องการเบิกจ่าย ผู้ประกันตนสามารถยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนออนไลน์ E-Self Service ผ่านเว็บไซต์ www.sso.go.th พร้อมแนบหลักฐาน ประกอบด้วยใบเสร็จรับเงิน ใบรับรองแพทย์ และสำเนาสมุดบัญชีธนาคาร ประเภทออมทรัพย์ หน้าแรกที่มีชื่อและเลขบัญชีของผู้ประกันตน หรือยื่นที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขาทั่วประเทศ ภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่เข้ารับบริการที่ระบุไว้ในใบเสร็จและใบรับรองแพทย์ หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1506 ให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ประกันสังคม เตือนนายจ้าง อย่าลืม!! ชำระเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนประจำปี 2568 ภายในวันที่ 31 มกราคม 2568 และรายงานค่าจ้างประจำปี 2567 ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2568
นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานประกันสังคมมีการจัดเก็บเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนจากนายจ้างเป็นรายปี โดยได้จัดส่งใบประเมินเงินสมทบประจำปี 2568 พร้อมแบบแสดงเงินค่าจ้างประจำปี 2567 ให้นายจ้างทั่วประเทศ เมื่อเดือนธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา
เผยขั้นตอนลงทะเบียนรับเงิน 'สงเคราะห์บุตร' 1,000 บาท สำหรับผู้ประกันตน
นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตรของผู้ประกันตน เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2567 เป็น 1,000 บาทต่อเดือดต่อบุตร 1 คน
ประกันสังคม มอบเงินช่วยเหลือ ผู้รับเหมา ผู้ประกันตนที่เสียชีวิตเหตุอาคารถล่ม ปราจีนบุรี แล้ว “พิพัฒน์” กำชับดูแลสิทธิประโยชน์ให้ทายาท
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กำชับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่ เหตุการณ์อาคารโรงงานถล่มในนิคมอุตสาหกรรม อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี วันที่ 30 ธันวาคม 2567 ทับคนงานของผู้รับเหมาที่กำลังปฏิบัติงาน เสียชีวิต 5 ราย พร้อมมอบให้สำนักงานประกันสังคม
ประกันสังคม ดูแลผู้ประกันตนทุกช่วงวัย โชว์ความสำเร็จการดำเนินงาน ปี 67
เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2567 นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ได้เปิดการแถลงข่าว ผลการดำเนินงานสำนักงานประกันสังคม ประจำปี 2567
”พิพัฒน์“ เปลี่ยนกระทรวงสู่ยุคAI สร้างทักษะการใช้ AI บริการหางาน พัฒนาฝีมือ แจ้งข้อร้องเรียน รับสิทธิประกันสังคม ให้สะดวก รวดเร็วขึ้น .
วันที่ 23 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในงานการประชาสัมพันธ์ด้านปัญญาประดิษฐ์และการนำไปใช้สำหรับบุคลากรภาครัฐ (Kick off Artificial Intelligence Literacy for Government officer)