กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากําลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) จัดงานประชุมวิชาการประจำปี 2567 เพื่อยกระดับการพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูง และส่งเสริมงานวิจัยและนวัตกรรมล้ำสมัย พร้อมเครือข่ายความร่วมมือจากนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญกว่า 800 คนจาก 80 หน่วยงาน
โดยได้รับเกียรติจาก นางสาวสุชาดา ซาง แทนทรัพย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
เป็นประธานเปิดงาน ได้กล่าวว่า ในปัจจุบันโลกกำลังเผชิญความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ทั้งทางเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งล้วนขับเคลื่อนโลกสู่ยุคเศรษฐกิจนวัตกรรม หรือ Innovation - Driven Economy สิ่งนี้นำมาซึ่งความจำเป็นในการพัฒนากำลังคนที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านรองรับอุตสาหกรรมใหม่ เช่น พลังงานสะอาด (Clean Energy) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) และเทคโนโลยีควอนตัม (Quantum Technology) ซึ่งไม่เพียงแต่ส่งผลต่อวิถีชีวิตและการทำงานของเรา แต่เข้ามาเป็นกลไกสำคัญในการกำหนดทิศทางของเศรษฐกิจและสังคมโลก การพัฒนากำลังคน (Brainpower) ให้สามารถปรับตัวและใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ จึงเป็นหัวใจสำคัญในการเตรียมประเทศไทยให้พร้อมสู่ความท้าทายในอนาคต
กระทรวง อว. โดย บพค. ได้ร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของประเทศ อันเป็น Agenda - based issue พร้อมทั้งตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในการสร้างโอกาสด้านการศึกษา การวิจัย และนวัตกรรม ผ่านการพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูง และการส่งเสริมความร่วมมือระดับนานาชาติ กระทรวง อว. มีนโยบายสำคัญด้านการพัฒนา “กำลังคน เรียนดี มีความสุข มีรายได้” ควบคู่ไปกับ “วิจัย - นวัตกรรมดี ตอบโจทย์ ตรงความต้องการ” และ เน้นประเด็นสำคัญของประเทศ ได้แก่ Go Green, พอเพียง, ความยั่งยืน (Sustainability), ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality), พลังงานสะอาด, ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม, เศรษฐกิจชีวภาพ, เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดย บพค. เป็นหน่วยบริหารและจัดการทุนภายใต้กระทรวง อว. ที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง และได้ก่อเกิดขึ้นมาแล้วย่างเข้าสู่ปีที่ 5 ภายหลังการปฏิรูปกระทรวง บพค. เน้นย้ำเรื่องสร้างคน คนที่เป็นมันสมองสำคัญของประเทศ ผู้ที่จะสร้างสิ่งใหม่ ๆ ให้กับประเทศของเรา ผ่านการใช้งานวิจัยขั้นแนวหน้าที่สำคัญด้วยความร่วมมือระหว่างภาคีพันธมิตรทุกภาคส่วน
“การจัดงาน PMU-B Brainpower Congress 2024 ครั้งนี้ นับเป็นเวทีสำคัญที่รวบรวมนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและระดับสากลมาร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และแนวทางปฏิบัติในระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) จึงเป็นอีกก้าวสำคัญในการรวมพลังสมองของคนไทยเพื่อปลดล็อกศักยภาพของประเทศและจุดประกายความคิดใหม่ ๆ ที่จะพาประเทศเข้าสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคตอย่างมั่นคง และตอบโจทย์โลกแห่งอนาคต” เลขานุการ รมว.อว. กล่าว
โอกาสนี้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นายแพทย์ สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ประธานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) ให้เกียรติกล่าวสร้างขวัญและให้กำลังใจแก่นักวิจัย โดยกล่าวว่า “ปีนี้ บพค. มีอายุย่างเข้าสู่ปีที่ 5 แล้ว ที่ผ่านมาได้มุ่งเน้นการบริหารและจัดการทุนด้านพัฒนากำลังคนเป็นหลักเพื่อป้อนเข้าสู่ระบบตลาดแรงงานทักษะสูงเป็นสำคัญ สอดรับกับนโยบายต่างๆ ของกระทรวง อว. โดยมุ่งเน้นไปที่การเสริมทักษะให้เป็นบุคลากรสมรรถนะสูงที่สามารถทำงานได้อย่างทันท่วงที แม้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือการแทรกแซงทางเทคโนโลยี (Technology Disruption) ผ่านกลไกมากมาย อาทิ การหนุนเสริมผ่าน Re-skill Up-skill New-skill การสร้างกำลังคนให้ตอบโจทย์ความต้องการของภาคผู้ใช้บัณฑิตเป็นหลัก อันเป็น Demand-driven platform ด้วยหลักสูตรแบบ Sandbox ที่มีทั้งหลักสูตรแบบระยะสั้น-ระยะยาวแบบ Non-degree และ Degree Certificate ให้มีคนเข้าทำงานได้เท่าทันต่อโลกที่หมุนเวียนอย่างรวดเร็ว
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นายแพทย์ สิริฤกษ์ฯ ยังกล่าวย้ำอีกว่า “สุดท้ายกระผมอยากจะส่งขวัญและกำลังใจให้แก่นักวิจัยทุก ๆ ท่าน ให้ทุกคนมาร่วมกันกับกระทรวง อว. ของเราได้พัฒนาระบบอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) ให้เป็นที่พึ่งของประชาชนคนไทยได้อย่างเต็มภาคภูมิใจ และก้าวเข้าสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วให้ได้ตามเป้าหมายของรัฐบาล”
นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ ดร.นพ.สิริฤกษ์ฯ ยังได้ขึ้นกล่าวปาฐกถาพิเศษภายใต้หัวข้อ “Unlocking Potential of SRI System” ที่ได้มุ่งเน้นนโยบายการดำเนินงานของกองทุนส่งเสริม ววน. ประจำปี 2567-2568 โดยมีการจัดสรรเงินทุนวิจัยออกเป็น 4 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ (1) Fundamental Fund (FF) (2) Strategic Fund (SF) (3) Science and Technology (ST) และ (4) Research Utilization (RU) ซึ่งมีหน่วยงานในระบบ ววน. และหน่วยบริหารจัดการทุน เป็นผู้ขับเคลื่อนการใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในการส่งมอบผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบที่สำคัญแก่ประเทศ อันเป็น Agenda-based และ Targeted-based เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศต่อไป
ด้าน ศาสตราจารย์ ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรร (สกสว.)อดีตผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) กล่าวปาฐกถาพิเศษ ภายใต้หัวข้อ “SRI for ALL Thailand Research Nexus” ย้ำว่า สกสว. เป็นหน่วยงานภายใต้ระบบ ววน. ที่มุ่งเน้นการจัดสรรงบประมาณไปยังภาคส่วนต่าง ๆ อันเป็น Strategic Partners เพื่อให้เกิดการสานพลังและถักทอสายใยเปรียบเสมือน “เส้นใยไหม” หรือ SILK ที่จำเป็นต้องอาศัยการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย (Consortium) และมีองค์ประกอบ 4 ส่วนสำคัญ ได้แก่ (1) Synergy and Boundaryless การสอดประสานการทำงานอย่างไร้รอยต่อ (2) Intelligent SRI system ระบบ ววน. ต้องมีความฉลาด ทันสมัยและเท่าทันแห่งยุค (3) Leap technology investment การลงทุนงบประมาณในเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดด (4) Knowledge governance การบริหารจัดการอย่างมีองค์ความรู้ และร่วมแบ่งปันประสบการณ์ เพื่อให้ระบบ ววน. สร้างประโยชน์เพื่อทุก ๆ คน (SRI for ALL)
โอกาสนี้ ดร.สุรชัย สถิตคุณารัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) รักษาการแทนผู้อำนวยการ บพค. ได้กล่าวขอขอบคุณคณะผู้บริหาร ผู้ทรงคุณวุฒิ อาจารย์ นักวิจัยและผู้เข้าร่วมงานทุกคน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การจัดงานประชุมวิชาการ บพค. ประจำปี 2567 ในครั้งนี้ จะเป็นกิจกรรมสำคัญที่กระทรวง อว. ได้รวบรวมสหวิทยาการที่ยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่งที่จะมาร่วมกันผลักดันให้ระบบ ววน. เป็นที่พึ่งพิงให้แก่ประเทศชาติในอนาคตได้ และพร้อมดำเนินการให้นโยบายของภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง IGNITE THAILAND ที่มุ่งปั้นบุคลากรสมรรถนะสูงด้านการวิจัยและพัฒนาให้มีกำลังเพียงพอต่อความต้องการของอุตสาหกรรมเป้าหมาย
ภายในงานยังมีกิจกรรมการเสวนาพิเศษ โดยวิทยากรที่มีชื่อเสียงในวงการสำคัญของประเทศไทย อาทิ ดร.ทัดพงศ์ พงศ์ถาวรกมล กรรมการผู้จัดการ บริษัท กสิกรบิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป จำกัด ดร.ธวิน เอี่ยมปรีดี หรือ ดร.นาว Senior Researcher ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. CEO CTO และผู้ก่อตั้งบริษัท โครโนไลฟ์ จำกัด ดร.เจน ชาญณรงค์ ประธานชมรมผู้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล ศาสตราจารย์ เภสัชกร ดร.ปิติ จันทร์วรโชติ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ คุณชัชฎา อภิชาสุทธากุล บริษัท TOUCH Technologies จำกัด ที่ให้เกียรติมาร่วมกิจกรรมในการให้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ต่อการนำไปใช้ประโยชน์ได้เชิงพาณิชย์ อีกทั้ง กิจกรรมการเฉลิมฉลอง บพค. ก้าวสู่ปีที่ 5 และ การเฉลิมฉลองความร่วมมือระดับนานาชาติสู่การพัฒนากำลังคนอย่างยั่งยืน โดยมีสถานทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย หน่วยงานให้ทุนจากประเทศญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์เข้าร่วมด้วย
จากผลการจัดกิจกรรมงานประชุมวิชาการฯ ประจำปี 2567 นั้น ได้รับการตอบรับจากคณะผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย อาจารย์และผู้เข้าร่วมงานทั่วไปอย่างล้นหลามกว่า 800 คน ตลอดทั้ง 3 วัน มีผลงานการนำเสนอภาคบรรยาย (Oral presentation) จำนวนกว่า 156 โครงการ และผลงานการนำเสนอแบบโปสเตอร์ จำนวนกว่า 145 ผลงาน การแสดงพิเศษจากผู้ชนะเลิศ MHESI MUSIC VARIETY AWARD 2024 ถ้วยรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากมหกรรมงาน อว.แฟร์ ประจำปี 2567 วงศิษย์ลูกแม่ไท้ (รำไพพรรณี) มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี อีกด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“ศุภมาส” จัดเต็ม ! ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ขนทัพมหาวิทยาลัยจากทั่วประเทศรวมไว้ในที่เดียว พร้อมเปิดงาน One Stop Open House 2024 มหกรรมการศึกษาครั้งยิ่งใหญ่
วันที่ 27 พ.ย.67 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดงาน “One Stop Open House 2024”
เดินหน้าต่อเนื่อง! "ศุภมาส" ประกาศจัดงาน "One Stop Open House 2024" สานต่อความสำเร็จของ "อว.แฟร์"
เมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) แถลงข่าวประกาศความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ของการจัด งาน "อว.แฟร์ : SCI POWER FOR FUTURE THAILAND" ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 - 28 กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ พร้อมประกาศการเตรียมจัดงาน "One Stop Open House 2024" ภายใต้แนวคิด "อนาคตของคุณเริ่มต้นที่นี่:
อว.หนุนเต็มที่ ! "ศุภชัย" เปิดประชุมนานาชาติด้านชีววิทยาสังเคราะห์ SynBio Consortium 2024
วันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้องอีเทอร์นิตี้ บอลรูม โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ นายศุภชัย ใจสมุทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้รับมอบหมายจาก นางสาวศุภมาส อิศรภักดี
ไปแอ่วหละปูนกันเต๊อะ ยลมหานครโคมโลก !
ประเด็น "การเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล" ในไหล่ทวีป 26,400 ตารางกิโลเมตร ระหว่างไทย-กัมพูชา กลับมาเป็นเรื่องร้อนๆ ที่ถูกพูดถึงทางการเมืองอีกครั้ง
“ศุภมาส” นั่งหัวโต๊ะประชุม ก.พ.อ. เตรียมชง ครม. เยียวยาข้าราชการพลเรือนมหาวิทยาลัยหลังข้าราชการครูปรับเงินเดือนขึ้น พร้อมปรับเงินเดือนชดเชยให้กับพนักงานมหาวิทยาลัยที่บรรจุก่อน 1 พ.ค. 2567 และก่อน 1 พ.ค. 2568
เมื่อวันที่ 30 ต.ค.67 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)