สสว. ยกศักยภาพ SME จัดกิจกรรมเชื่อมแหล่งเงินทุน เพิ่มโอกาสผู้ประกอบการในพื้นที่ EEC และพื้นที่ต่อเนื่อง

สสว. มุ่งมั่นยกศักยภาพผู้ประกอบการ จัดกิจกรรมเชื่อมแหล่งเงินทุนให้กับผู้ประกอบการที่ยกระดับนวัตกรรมในธุรกิจได้ ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาการเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในพื้นที่ EEC และพื้นที่ต่อเนื่อง ปีงบประมาณ 2567 ณ จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง หวังช่วยเพิ่มโอกาสทางการค้า ตลาดในประเทศ

นางสาวปณิตา ชินวัตร รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม  รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า ในปี 2567 นี้ สสว. ได้จัดให้มี กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาการเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) และพื้นที่ต่อเนื่อง ประกอบด้วยจังหวัด ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และจันทบุรี เป็นการส่งเสริมและเพิ่มขีดความสามารถ เพื่อยกระดับนวัตกรรมในอุตสาหกรรมเป้าหมายให้เกิดการลงทุนหรือสามารถก่อตั้งธุรกิจได้ พร้อมเชื่อมโยงแหล่งเงินทุนให้กับผู้ประกอบการที่ยกระดับนวัตกรรมในธุรกิจได้ และยังเป็นการเพิ่มโอกาสทางการค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศให้กับผู้ประกอบการในเขตพื้นที่ โดยได้มีการจัดกิจกรรมการพัฒนาผู้ประกอบการในพื้นที่ ที่สมัครเข้าร่วมโครงการ จำนวน 4 กิจกรรมหลัก เริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน 2567 และจะจัดต่อเนื่องไปจนถึงเดือนธันวาคม 2567

รักษาการ ผอ.สสว. กล่าวเพิ่มเติมว่า กิจกรรมเชื่อมแหล่งเงินทุนให้กับผู้ประกอบการ ที่ยกระดับนวัตกรรมในธุรกิจได้ ซึ่งได้เชื่อมโยงแหล่งเงินทุน SME D Bank หรือธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ( ธพว.) และธนาคารออมสิน เป็นหนึ่งใน 4 กิจกรรมการพัฒนาผู้ประกอบการในเขตพื้นที่ EEC และพื้นที่ต่อเนื่อง โดยได้เชื่อมโยงผู้ประกอบการที่ผ่านกิจกรรมที่ 2 (กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจเชิงลึก) เพื่อรับการส่งเสริมจำนวนทั้งสิ้น 30 ราย

ด้าน นางสาวณัชชารีย์ วังศิริไพศาล เจ้าของกิจการ Bake my Day Studio (จ.จันทบุรี) ผลิตภัณฑ์แยมกุหลาบหรือสัปปะรด เล่าถึงจุดเริ่มธุรกิจว่า ตนทำเบเกอรี่มา 6 ปี โดยทำเค้กและขนมปัง ในช่วงแรกยังไม่มีหน้าร้าน จนเมื่อมีหน้าร้านจึงเริ่มทำแยมผลไม้ Homemade ขึ้นมา และได้ผลตอบรับทั้งลูกค้าชาวไทย และต่างประเทศเป็นอย่างดี เลยอยากต่อยอดจากสิ่งที่ทำอยู่ และคิดว่าธุรกิจนี้สามารถเติบโตไปได้อีก ขณะนี้ได้มีการติดต่อไปยังโรงแรมและสายการบินหลายแห่ง

เจ้าของกิจการ Bake my Day Studio เผยว่า สิ่งที่คาดหวังที่จะได้รับจากโครงการนี้คือแหล่งเงินทุนและการตลาด

“เมื่อได้เข้าร่วมโครงการฯ ได้รู้ว่าทางภาครัฐมีการสนับสนุนต่อยอดไปได้อีก ตนเองคิดว่า ถ้าไม่มีโครงการนี้ นักธุรกิจตัวเล็กคงเข้าถึงแหล่งเงินทุนค่อนข้างยาก และการที่ได้เข้าร่วมโครงการฯ นอกจากแหล่งเงินทุนแล้ว ยังมีทีมเข้ามาช่วยเหลือเรื่องเทคโนโลยีด้านการผลิตให้ได้มาตรฐานรวมไปถึงคุณภาพและรสชาติที่ดีอีกด้วย”

ขณะที่ นายปิยะณัฐ แสงจันทร์ เจ้าของกิจการ PROINS ตั๊กแตนผสมแพลนท์เบส เปิดเผยว่า ธุรกิจมีจุดเริ่มต้นมาจากการเลี้ยงตั๊กแตนช่วงโควิดคู่ขนานไปกับการศึกษาผลงานวิจัยเกี่ยวกับตั๊กแตนทั้งในประเทศและต่างประเทศพบว่า ตั๊กแตนมีโปรตีนค่อนข้างสูง

“ที่โรงงานเราสามารถผลิตผงโปรตีนจากตั๊กแตนเองได้ถือว่าเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการที่ผลิตได้มากที่สุดในประเทศไทย และเป็นที่ 2 ของโลก ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการด้านอาหารโปรตีนของโลก เรามองเห็นช่องทางและโอกาส ที่ตอบโจทย์ Pain point ของโลก และตอบโจทย์สุขภาพดี ลดโลกร้อน ช่วยเหลือสังคม จึงทำผลิตภัณฑ์นี้ออกมา ตอนนี้ได้มาตรฐาน GAP ORGANIC FARM GMP และกำลังจะได้ มาตรฐานฮาลาล โดยมีแผนจะส่งออกไปยังประเทศจีน และเมื่อได้ฮาลาลมา ก็จะส่งออกไปยังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (United Arab Emirates: UAE) ด้วย”

นายปิยะณัฐ ยังเผยถึงความคาดหวังจากการเข้าร่วมโครงการนี้ว่า ตนอยากมีพันธมิตรหรือการจับคู่ธุรกิจ และสนับสนุนชุมชนที่เราดูแลเพื่อสร้างมูลค่ากับผลิตภัณฑ์ เกิดการจ้างงานมากขึ้น และคาดหวังว่าผู้เชี่ยวชาญจะช่วยแนะนำให้การเรียนรู้ด้วยตัวเองสั้นลง สามารถเชื่อมโยงไปถึงแหล่งเงินกู้และแหล่งสนับสนุนของเงินทุนได้ ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการนี้ หลักๆ คือเรื่องแผนธุรกิจและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ตัวแบรนด์สกัดจากตั๊กแตนที่ปลอดสารเคมีและเพิ่มอาหารเสริมเข้าไป เทียบเคียงกับตัวแบรนด์สกัดที่ขายในร้านสะดวกซื้อ ทั้งยังได้รู้จักคู่ค้าหรือนักธุรกิจได้มีมุมมองใหม่ๆ และ การเชื่อมโยงต่างๆ ในการที่จะไปขายหรือต่อยอดธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ และยังได้แหล่งเงินจากทางภาครัฐที่สนับสนุน และ SME D Bank ได้ให้คำแนะนำว่า ควรเดินบัญชีอย่างไรในการเตรียมตัวยื่นกู้หรือขอเงินหมุนเวียน ซึ่งธนาคารมีเงินช่วยสนับสนุนในการส่งผลิตภัณฑ์ไปออกงานที่ต่างประเทศด้วย ถือว่าช่วยลดค่าใช้จ่ายในการออกบูธที่ต่างประเทศ และเพิ่มโอกาสให้คนรับรู้มากขึ้นอีกช่องทางหนึ่ง

กิจกรรมเชื่อมแหล่งเงินทุนให้กับผู้ประกอบการ ที่ยกระดับนวัตกรรมในธุรกิจได้ เป็นหนึ่งใน 4 กิจกรรมการพัฒนาผู้ประกอบการในเขตพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) และพื้นที่ต่อเนื่อง ตลอดโครงการ ตั้งแต่เดือนกันยายน 2567 ถึง เดือนธันวาคม 2567 ประกอบด้วย กิจกรรมที่ 1 :  ฝึกอบรมหลักสูตรการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ Entrepreneurship เปิดประตูสู่ความ เป็นผู้ประกอบการและนวัตกรรม กิจกรรมที่ 2 : กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจเชิงลึกโดยรับการพัฒนารายละ 6 ครั้ง กิจกรรมที่ 3 : สนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศ และกิจกรรมที่ 4 : เชื่อมโยงแหล่งเงินทุนหรือสถาบันการเงินอื่นๆ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'อาจารย์อุ๋ย' เตือนรัฐบาลรับมือสินค้าจีนทะลักรอบใหม่ ส่อหนักกว่าเดิม หลังทรัมป์ชนะเลือกตั้ง

นายประพฤติ ฉัตรประภาชัย หรืออาจารย์อุ๋ย นักวิชาการด้านกฎหมายและอดีตผู้สมัคร สส. กรุงเทพมหานคร เขตบางกะปิ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการพิจารณา

พิษน้ำท่วม SME ยังไม่คลายกังวล ฉุดดัชนีความเชื่อมั่นต่ำกว่าฐานต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3

ผลกระทบน้ำท่วม สภาวะเศรษฐกิจทรงตัว การท่องเที่ยวชะลอตัวตามฤดูกาล ส่งผลดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SMESI ก.ย. 67 ต่ำกว่าระดับค่าฐานต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 แม้เริ่มเห็นสัญญาณการกลับมาของกำลังซื้อในระยะสั้น แต่ค่าคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า เพิ่มขึ้นจากฤดูกาลท่องเที่ยวช่วงปลายปีและเทศกาลเฉลิมฉลองต่าง ๆ จะสามารถดึงความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SME กลับมาได้

‘สสว.’ จับมือ ‘INET’ เปิดพื้นที่ขาย ผ่าน Nex Gen Commerce Platform ช่วย SME

สสว. และบริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ลงนาม MOU ให้สิทธิประโยชน์ผู้ประกอบการที่ลงทะเบียน SMEs ผู้รับบริการภาครัฐ เปิดพื้นที่ขาย ผ่าน Nex Gen Commerce Platform “พร้อมฟรี E-Tax Invoice และ E-Factoring”

สสว. แถลงข่าว “SME Privilege Club” เดินหน้าผนึกพันธมิตร เสริมแกร่งผู้ประกอบการ

สสว. แถลงข่าวความสำเร็จงานพัฒนาสิทธิประโยชน์ “SME Privilege Club คลับพิเศษสำหรับ SME” โครงการที่เพิ่มความร่วมมือพันธมิตร 3 ด้าน ทั้งเพิ่มผลิตภาพ/ลดต้นทุน ขยายช่องทางการตลาด เชื่อมโยงแหล่งเงินทุน

สสว. ผนึก LINE ผลักดันสิทธิประโยชน์ เสริมแกร่ง UPSKILL SME

สสว. ลงนามความร่วมมือ เดินหน้าพัฒนาสิทธิประโยชน์เพิ่มผลิตภาพ/ลดต้นทุน ภายใต้ “SME Privilege Club คลับพิเศษสำหรับ SME” จัดสัมมนา UPSKILL SME “ยอดขายโตทั่วไทย ด้วยโซลูชันจาก LINE”

สสว. เดินหน้าจับมือ ช้อปปี้ ผลักดันสิทธิประโยชน์ SME เน้นเสริมตลาดออนไลน์ ติดอาวุธองค์ความรู้สู่ตลาดสากล

สสว. เดินหน้าประสานความร่วมกับช้อปปี้ เสริมแกร่ง SME ภายใต้แนวคิด “SME Privilege Club คลับพิเศษสำหรับ SME” มุ่งเน้น 3 ด้านสำคัญ การเพิ่มผลิตภาพ/ลดต้นทุน การขยายช่องทางการตลาด และการเชื่อมโยงแหล่งเงินทุน พร้อมสนับสนุนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ตลาดออนไลน์แข่งขันในระ