ทำความรู้จัก “เชื้อดื้อยา” จากผลงานประกวดภาพวาดการ์ตูนคอมมิค

การสื่อสารในประเด็น “เชื้อดื้อยา”เพื่อให้คนส่วนใหญ่ รับรู้ เข้าใจ ถึงผลกระทบ และร่วมกันป้องกัน เป็นเรื่องที่องค์กรที่ทำงานด้านนี้ได้พยายามทำมาอย่างต่อเนื่อง โดยศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา(กพย.)  ได้ร่วมMORU  และภาคีเครือข่าย  จากการสนับสนุนของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  จัดการประกวดภาพวาดการ์ตูน ”เชื้อดื้อยา” ภายใต้หัวข้อที่กำหนดไว้ ได้แก่ เชื้อดื้อยาและถิ่นที่อยู่, เชื้อดื้อยาในโลกอนาคต และไฝว้กับเชื้อดื้อยายังไงให้รอด  ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมของการจัดงาน “สัปดาห์รู้รักษ์ตระหนักปัญหาเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ ปี 2567” จัดขึ้นที่สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผลงานที่ได้รางวัลชนะเลิศเป็นการสร้างสรรค์ร่วมระหว่าง น.ส.ภัทรธิดา บุตรดีวงศ์ และ น.ส.ชนากานต์ สุขคล้า นักศึกษาชั้นปีที่ 2 จากคณะแพทยศาสตร์ สาขาเวชนิทัศน์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในหัวข้อ “เชื้อดื้อยาและถิ่นที่อยู่” ซึ่งเจ้าของผลงานทั้งสอง แจงที่มาของแนวคิดการออกแบบการ์ตูน จนกระทั่งคว้ารางวัลชนะเลิศสำเร็จว่า เชื้อดื้อยาซ่อนตัวอยู่ในหลากหลายพื้นที่ ทุกคนจึงมีโอกาสที่จะสัมผัสกับเชื้อดื้อยา จึงเกิดไอเดียนำเสนอผลงานในรูปแบบการสืบสวน ในการวาดการ์ตูนเปรียบเสมือนกับการตามรอยฆาตกร

ส่วนรางวัลรองชนะเลิศอันดับ1 เป็นผลงานของ นายสิมโรจน์  พิมาศกมลพัฒน์ นักศึกษาวิทยาลัยอาชีวลำปาง  สาขาดิจิทัลกราฟิก ในหัวข้อ “ไฝว้กับเชื้อดื้อยายังไงให้รอด” ทั้งนี้ เจ้าตัวยอมรับว่าเป็นเรื่องค่อนข้างยาก แต่ก็ได้ใช้ความพยายามตีโจทย์ หาข้อมูล สร้างแรงบันดาลใจให้กับตนเอง จนความคิดตกผลึก” อยากสื่อให้ทุกคนเข้าใจสาเหตุของเชื้อดื้อยา และ รับมือกับมันในรูปแบบการ์ตูนคอมมิค เพื่อให้ทุกคนเข้าใจง่าย และนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้อง ”

และ รางวัลชนะเลิศ อันดับ2 เป็นของ น.ส.ชญาทิศ นิธิรัถยา จากโรงเรียน เซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ กรุงเทพฯ ซึ่งได้หยิบยกข้อปฏิบัติง่ายๆ ที่ใครๆ ก็ทำได้ มาถ่ายทอดผ่านผลงาน “การล้างมือเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว เป็นการตอกย้ำให้ทุกคนได้เห็นว่า เพียงแค่ล้างมือให้สะอาด ทำให้เราห่างจากเชื้อดื้อยาได้ ซึ่งก็ตรงกับหัวข้อที่เลือก คือเชื้อดื้อยาใกล้กว่าที่คิด ระวังให้ดี ”

ทิววัฒน์ ภัทรกุลวณิชย์ นักวาดการ์ตูนการเมือง กรรมการที่ร่วมการตัดสินครั้งนี้  เผยถึงความรู้สึกที่มีต่อผลงานของผู้ที่ได้รับรางวัลนี้ว่า “ผลงานทุกชิ้นถ่ายทอดออกมาได้อย่างน่าทึ่ง สำหรับคนในวัยนี้ ซึ่งได้ทำการบ้านมาเป็นอย่างดี ผ่านการอ่านเรื่องเชื้อดื้อยา นำไปวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล แล้วนำมาออกแบบเป็นภาพการ์ตูนเพื่อสื่อสาร ถือว่าเป็นการเริ่มต้นในเส้นทางนี้ได้ดีมาก อย่างเช่น ผลงานที่ชนะเลิศ มีความโดดเด่นทั้งด้านสีสันและเนื้อหา สาระ ความพิเศษมีตั้งแต่หัวเรื่องที่มีความสะดุดตาน่าอ่านผ่านการออกแบบ”

ด้านผศ.ดร. ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้อำนวยการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา(กพย.) กล่าวถึงการประกวดภาพวาดการ์ตูนเพื่อสื่อสาร “เชื้อดื้อยา” ในปีนี้ว่า มีผู้สนใจส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดทั้งสิ้นจำนวน 337 ภาพ โดยเกณฑ์พิจารณา หลักๆ ได้แก่ เนื้อหามีความเกี่ยวข้องกับหัวข้อการประกวด  มีการใช้ AI ในการสร้างสรรค์ผลงาน  ภาพและเนื้อหามีความสมบรูณ์แบบ โดยแบ่งผู้ชนะทั้ง3 รางวัลจะได้รับใบประกาศเกียรติคุณพร้อมเงินรางวัลมูลค่ารวม 30,000 บาท

“เราต้องการกระตุ้นให้เยาวชน มีความสนใจ และตระหนักในประเด็นเรื่องเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ จึงมองหาสื่อมาเป็นเครื่องมือสื่อสารไปสู่วงกว้าง เชื้อดื้อยาเป็นเรื่องซับซ้อน เข้าใจยาก ที่สำคัญหากปัญหานี้ไม่ได้รับการแก้ไข ก็จะตกไปถึงคนรุ่นใหม่ ที่จะได้รับผลกระทบ เราจึงอยากส่งไม้ต่อให้มีการสื่อสารไปสู่รุ่นต่อๆไป “ ผอ.กพย. กล่าวเสริมว่า ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาถึง 38,000 คนต่อปี จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนจะต้องทำความเข้าใจกับเรื่อง”เชื้อดื้อยา”เพราะหากใครได้รับเข้าไปก็จะส่งผลกระทบต่อชีวิต ซึ่งยารักษาเชื้อดื้อยามีไม่มากนัก แถมยังมีราคาแพง ยาบางชนิดก็มีผลข้างเคียง ทำให้การรักษายุ่งยากใช้เวลานาน”

สำหรับผู้สนใจชมผลงานการ์ตูนคอมมิค”เชื้อดื้อยา” จากผลงานของผู้ที่ได้รับรางวัลทั้ง 3 รางวัล สามารถเข้าไปชมได้ที่ Facebook สาระ ณสุข: เพจที่ให้สาระด้านสาธารณสุข และ www.thaidrugwatch.org

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รณรงค์ "กินให้หมดจาน" 50ร้านต้นแบบช่วยลดขยะ

รู้หรือไม่?!?..... มีสถิติระบุว่า ขยะอาหารโลกพุ่งกว่า 1 พันล้านตัน ภาพขยะกองสูงเป็นภูเขาที่รอฝังกลบ กว่าครึ่งคือขยะอาหาร คนไทยเพียงคนเดียวผลิตขยะสูงลิ่ว 146 กก./คน/ปี

“รองนายกฯ ประเสริฐ” สั่งเดินหน้าคุมเข้มลดเจ็บ-ตายปีใหม่ เฝ้าระวัง “นักซิ่งเยาวชน” หลังพบดื่มแล้วขับ “เจ็บ-ตาย” เฉลี่ยชั่วโมงละ 3 คน เล็งเชื่อมข้อมูลทำระบบ “ใบสั่งออนไลน์”

เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2567 ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ในฐานะประธานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

"สิทธิในอาหาร..เพื่อชีวิตที่ดี" ทุกภาคส่วนต้องร่วมผลักดัน

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กำหนดให้วันที่ 16 ต.ค.ของทุกปี เป็นวันอาหารโลก (World Food Day) เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงสิทธิในอาหาร

สสส. ทำถึง กวาด 14 รางวัลสื่อสาร จากแอด พีเพิล อวอร์ส 2567 ผ่าน 5 ผลงาน สื่อสารการตลาดเพื่อสังคม “Walk Stadium” “หมวกกันน็อกคืนชีพ” “แอร์ล้างได้ปอดล้างไม่ได้” “พวงเครื่องปรุงจิ๋ว” “การเดินทางของบุหรี่”

น.ส.สุพัฒนุช สอนดำริห์ ผู้อำนวยการสำนักอาวุโส สำนักสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ผลงานโฆษณาและการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สสส. ได้รับรางวัลแอด พีเพิล อวอร์ส 2567

ต่อยอด! ติดอาวุธสมองป้องกัน ความเสี่ยงภัยบนโลกไซเบอร์

ผลสำรวจปี 2567 คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตมากถึง 88% ของประชากรทั้งหมด และส่วนใหญ่ใช้งานนานเกือบ 8 ชั่วโมงต่อวัน แสดงให้เห็นว่าเราใช้เวลาเกือบ 1 ใน 3 ท่องโลกอินเทอร์เน็ต