การขยายสิทธิประโยชน์ของบัตรทองในปี 2568 ภายใต้นโยบายของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มุ่งหวังให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้อย่างครอบคลุมและทั่วถึงมากยิ่งขึ้น ด้วยการเพิ่มงบประมาณกว่า 9.8% เพื่อสนับสนุนการดูแลสุขภาพที่มีคุณภาพ ขณะเดียวกันยังมีการเพิ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหน้าใหม่ในระบบ เช่น คลินิกเอกชน และการให้บริการทางการแพทย์ผ่านทางไกล (Telemedicine) เพื่อให้บริการถึงมือประชาชนได้รวดเร็วและสะดวกสบายมากขึ้น อย่างไรก็ตามความท้าทายที่ตามมาคือการปรับปรุงและพัฒนาระบบบริหารจัดการสุขภาพ เพื่อให้สามารถรองรับการขยายสิทธิประโยชน์และการเพิ่มผู้ให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพในยุคที่เปลี่ยนผ่าน สู่ยุค AI ที่ซึ่งเทคโนโลยีมีบทบาทในชีวิตประจำวัน
‘เทคโนโลยี’ เป็นกุญแจปลดล็อกการขยายบริการสุขภาพ
ในยุคที่ระบบสุขภาพต้องการความรวดเร็วและแม่นยำ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาล (Hospital Information system หรือ HIS) เป็นส่วนสำคัญเปรียบเสมือนแกนกลางในการเชื่อมโยงและประมวลผลข้อมูลภายในโรงพยาบาล หรือคลินิก อย่างเป็นระบบและเกิดประสิทธิภาพ เช่น การเข้ารับบริการผู้ป่วยต้องมีการทำประวัติ ซึ่งปัจจุบันใช้ระบบบันทึกเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Health Records หรือ EHR) ถูกพัฒนาให้สามารถบริหารหลังบ้านตลอดห่วงโซ่ซัพพลายเชนในธุรกิจการให้บริการแพทย์ นอกจากจะบันทึกข้อมูลการรักษา ยังสามารถส่งต่อข้อมูลระหว่างโรงพยาบาล-คลินิก ช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์ผู้ตรวจวินิจฉัยรักษาได้ต่อเนื่องรวดเร็วและแม่นยำ ประกอบกับการช่วยบริหารจัดการทรัพยากรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรทางการแพทย์และเวชภัณฑ์ การจัดการทางด้านการเงินและบัญชี ติดตามการจัดการและการเบิกจ่ายงบประมาณ ผ่านระบบบริหารจัดการทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning หรือ ERP)
นอกจากนี้ HIS ยังเป็นระบบที่ให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล สามารถกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลได้ตามบทบาทของผู้ใช้งาน เช่น แพทย์ เภสัชกร หรือเจ้าหน้าที่ธุรการ ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการรักษาผู้ป่วยรายนั้นเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงข้อมูลผู้ป่วยได้ ช่วยรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วย ขณะเดียวกันเทคโนโลยีการแพทย์ทางไกลก็มีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยในพื้นที่ห่างไกลสามารถเข้าถึงการรักษาได้ทันที ซึ่งข้อมูลทั้งหมดถูกบันทึกในระบบ HIS เดียวกัน จะเพิ่มความสะดวกในการติดตามและการรักษาได้ต่อเนื่อง
ยกระดับ ERP เชื่อมต่อกับการบริหารงานโรงพยาบาล HIS
คุณเอกฤทธิ์ ธรรมกุล กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัทแบ็คยาร์ด พูดถึงความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศในระบบสุขภาพในยุคปัจจุบันว่า เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งตอบสนองต่อระบบการดูแลสุขภาพต้องการความรวดเร็ว แม่นยำ และครบถ้วน ทั้งระบบ HIS และ ระบบ ERP หรือระบบบริหารจัดการทรัพยากรองค์กรใช้เชื่อมโยงการทำงานร่วมกัน จึงไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือสำหรับบันทึกข้อมูล แต่ยังเป็นการวางรากฐานสำคัญที่ช่วยให้หน่วยบริการสุขภาพทุกระดับสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความซ้ำซ้อน เพิ่มความโปร่งใส โดยเฉพาะการบริหารจัดการงบประมาณ และสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ และทำให้เกิดความยั่งยืนในการบริหารจัดการระบบสุขภาพของประเทศในระยะยาวอีกด้วย
"การพัฒนา HIS และการใช้ระบบ ERP จึงถือเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วย ให้การบริหารงานโรงพยาบาลและคลินิกมีประสิทธิภาพ และช่วยขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศไทยให้ก้าวสู่ยุคใหม่ ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ ครอบคลุม และปลอดภัยได้อย่างเท่าเทียม ในฐานะบริษัทผู้พัฒนาเทคโนโลยีโซลูชันด้านเฮลท์เทค พร้อมมุ่งมั่นในการพัฒนาและสนับสนุนเทคโนโลยีนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้รับการดูแลสุขภาพที่ดีที่สุด" คุณเอกฤทธิ์ กล่าว
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาล (HIS) และระบบ ERP หรือระบบบริหารจัดการทรัพยากรองค์กร สามารถติดต่อสอบถามได้ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ www.backyard.in.th หรือโทร 02-853-9131
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา Better Regulation for Better Life : โอกาสและความท้าทายในยุคเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)”
การใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของประชาชนทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน
เอกชนแนะ สร้าง Ecosystem ด้านสุขภาพ เพื่อเป็นศูนย์กลาง Medical Hub ของอาเซียน
ประเทศไทยมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) ผ่านการพัฒนา Ecosystem ด้านสุขภาพที่ครบวงจร ซึ่งไม่เพียงส่งเสริมเศรษฐกิจ แต่ยังยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ
เหรียญที่มีสองด้านของ AI ในสังคมไทย
ประเทศไทยมีการเติบโตด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วในหลายภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ บริการและในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆอันนำไปสู่ปัญหาของสังคมเช่น
‘หมอยง’ สะท้อน จริยธรรมการใช้ AI กับงานทางวิชาการ งานวิจัย
ถ้าให้ AI ทำงานแทนเราทั้งหมด โดยไม่ได้ออกจากแนวความคิดเราเลย หรือเอา AI มาเป็นผู้ร่วมวิจัย ถือว่าไม่เป็นยอมรับ