ศูนย์เรียนรู้ตามแนวพระราชดำริ โครงการฯ เขาชะงุ้ม จ.ราชบุรี เกษตร GAP และนวัตกรรมไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

นางสุพร ตรีนรินทร์ เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ( สำนักงาน กปร.) เป็นประธานในพิธีมอบโล่เชิดชูเกียรติพร้อมประกาศนียบัตร ศูนย์เรียนรู้ตามแนวพระราชดำริ 2567 ของโครงการศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้มอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ราชบุรี โดยมีนางสาวกฤษณา ทิวาตรี รักษาการผู้อำนวยการโครงการศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้มฯ กล่าวต้อนรับ นายปริญญวัฒน์ วัชรอาภากร ผู้อำนวยการกองแผนงานและยุทธศาสตร์ สำนักงาน กปร. กล่าวรายงานความเป็นมาโครงการฯ ณ โครงการศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้มอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ราชบุรี เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา

เลขาธิการ กปร. เปิดเผยว่า พื้นที่โครงการศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้มฯ ในอดีตนั้นดินมีสภาพเสื่อมโทรมเพาะปลูกพืชผักไม่ได้ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานพระราชดําริให้ปรับปรุงดินโดยใช้หญ้าแฝกปลูกร่วมกับต้นไม้ ลดการใช้สารเคมีและปลูกพืชเชิงเดี่ยว ซึ่งประสบความสำเร็จจึงได้ขยายผลสู่เกษตรกร ทำให้ในพื้นที่ปลูกพืชได้หลากหลายชนิดทั้งเพื่อบริโภคในครัวเรือนและเชิงพาณิชย์

“เพื่อขยายผลสำเร็จ สำนักงาน กปร. จึงจัดทำโครงการขยายเสริมเพิ่มเครือข่ายศูนย์เรียนรู้ตามแนวพระราชดำริฯ ขึ้น เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ให้กระจายครอบคลุม มีศูนย์เรียนรู้ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินทั่วประเทศ 221 แห่ง ซึ่งมีองค์ความรู้หลากหลายสาขา ได้แก่ เกษตรผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรอินทรีย์ ประมง ปศุสัตว์ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และอื่น ๆ ที่เป็นแบบอย่างแก่เกษตรกรรายอื่นๆ ได้เข้าไปศึกษาดูงานได้เป็นอย่างดี สำหรับโครงการศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้มฯ มีศูนย์เรียนรู้ที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน จำนวน 10 แห่ง” เลขาธิการ กปร. กล่าว

ด้านนางวาสนา กราบเคหะ เกษตรกร ต.เขาชะงุ้ม อ.โพธาราม จ.ราชบุรี หนึ่งในศูนย์เรียนรู้ตามแนวพระราชดำริ ด้านเกษตรอินทรีย์ เผยว่า ได้ปรับปรุงบำรุงดิน 10 ไร่ เพื่อปลูกอินทผาลัมอินทรีย์ตามมาตรฐาน GAP (Good Agricultural Practice ; GAP) คือการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในการผลิตพืช เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ปลอดภัยทั้งต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค

“ปลูกอินทผาลัม พันธุ์บาฮีเหลือง บาฮีแดง โคไนซี่ ลาเวนเดอร์ แบบผสมผสาน โดยใช้พันธุ์จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจึงต้องระวังเรื่องเชื้อรา และต้องดูแลเป็นอย่างดี แต่เนื่องจากได้ปรับปรุงดินที่ดีจึงไม่มีปัญหาเรื่องเชื้อรา และโรคพืช ทำให้ผลผลิตอินทผาลัมเจริญเติบโตได้ดีและมีความสมบูรณ์ โดยเก็บผลผลิตสดขายได้ปีละครั้งซึ่งถือว่าเป็นรายได้หลักในตอนนี้” นางวาสนา กราบเคหะ กล่าว

ส่วนนายชวัลวิท คล้ายอยู่ เกษตรกร ต. เขาชะงุ้ม อ. โพธาราม จ. ราชบุรี อีกหนึ่งศูนย์เรียนรู้ตามแนวพระราชดำริ ด้านเกษตรอินทรีย์ เผยว่า มีพื้นที่ 1 ไร่ 2 งาน ปลูกมะเขือเทศ โดยใช้นวัตกรรมการผลิตที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมเพื่อลดปัญหาการนำสิ่งปนเปื้อนจากสารเคมีสู่ดินทำให้ดินเสื่อมโทรม โดยมีรายได้จากการขายผลผลิต 5,000 – 6,000 บาทต่อเดือน

“เอาขยะพลาสติกมาผ่านกระบวนการเผาไหม้กลั่นเป็นน้ำมันใช้กับเครื่องยนต์ทางการเกษตรต่างๆ โดยขยะพลาสติก 1 กิโลกรัม จะได้น้ำมัน 80 มิลลิลิตร หรือ 1 ลิตร นำไปใส่เครื่องสูบน้ำเพื่อรดต้นไม้ได้นานถึง 3 - 4 ชั่วโมง ทำให้ช่วยลดค่าน้ำมันถึง 50 - 60 บาท ขณะที่ขยะพลาสติกไม่มีค่าใช้จ่าย” นายชวัลวิท คล้ายอยู่ กล่าว

และนายไมตรี พวงอินทร์ เกษตรกร หมู่ 10 ต.เขาชะงุ้ม อ.โพธาราม จ.ราชบุรี อีกหนึ่งศูนย์เรียนรู้ฯ ด้านเกษตรอินทรีย์ ในพื้นที่จะมีฐานเรียนรู้หลากหลาย เช่น การจัดการดิน น้ำ พืช การวางระบบน้ำอัจฉริยะ โดยได้เข้ามาเรียนรู้เทคโนโลยีนี้ที่ศูนย์ฯ แล้วนำความรู้ไปประยุกต์ใช้จนประสบผลสำเร็จ มีที่ทำกินทั้งหมด 40 ไร่ แบ่งพื้นที่ปลูกพืชแบบผสมผสาน และทำนา เสร็จจากฤดูนาก็ปลูกอ้อย ข้าวโพด และมันญี่ปุ่น ซึ่งนอกจากเก็บหัวขายแล้วยังใช้เป็นพืชคลุมดิน บำรุงดินอีกด้วย นอกจากนี้ได้ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ใต้ต้นไม้เพื่อนำใบไม้มาผสมกับเศษพืชผัก กากอ้อย และแกลบ เป็นปุ๋ยหมักใช้ใส่พืชผักและต้นไม้

“ดินและปุ๋ยที่หมักตอนนี้นับเป็นรายได้หลัก เพราะมีลูกค้าสั่งซื้อต่อเนื่องตลอดทั้งปี นับเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่เราภาคภูมิใจพื้นที่มีความสมบูรณ์ เพาะปลูกได้อีกครั้งโดยไม่ต้องพึ่งพิงเทคโนโลยี เพียงน้อมนำพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาปฏิบัติก็จะประหยัดและได้ประโยชน์สูงสุด ภูมิใจที่ได้ทําตามคําสอนของพระองค์ท่าน เกิดความมั่นคงทั้งพื้นดินและผู้คน” นายไมตรี พวงอินทร์ กล่าว

สำหรับของนายโชคดี ตั้งจิตร เกษตรกร หมู่ 8 ต.นางแก้ว อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ในพื้นที่มีฐานเรียนรู้การขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (PGS) การเพาะปลูกข้าวอินทรีย์ และผักสลัดอินทรีย์มาตรฐาน Organic Thailand โดยใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงใบทองหลาง ในการบำรุงพืชที่ปลูก ซึ่งทองหลางเป็นพืชตระกูลถั่วที่มีไรโซเบียมอยู่ในปมรากและสารประกอบไนโตรเจนที่ไรโซเบียมตรึงได้จะถูกสะสมในต้นและเมื่อย่อยสลายจะปลดปล่อยธาตุไนโตรเจนลงสู่ดิน ทำให้ดินคงความอุดมสมบูรณ์อยู่ได้นาน ที่สำคัญใบของทองหลางเป็นพรีไบโอติกซึ่งเป็นอาหารของจุลินทรีย์ได้เป็นอย่างดี เมื่อนำมาผลิตเป็นจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงแล้วนำมาใช้ผสมน้ำอัตรา 1 ต่อ 100 จะช่วยให้ผักมีสีเขียวสวย มีรากงอกดี ช่วยให้ดินลดความเค็มลงได้เป็นอย่างดี

สำหรับโครงการศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้มฯ มีศูนย์เรียนรู้ที่ผ่านการประเมิน 10 แห่ง ประกอบด้วย ด้านเกษตรอินทรีย์ จำนวน 7 แห่ง ได้แก่ 1.นายโชคดี ตั้งจิตร 2. นายชวัลวิท คล้ายอยู่ 3. นายไมตรี พวงอินทร์ 4. นางสาววาสนา กราบเคหะ 5. นางสมคิด ทองสุข 6. นายสมบูรณ์ ว่องประเสริฐ 7. นางสาวสมหมาย แดงชาติ และด้านเกษตรผสมผสาน จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ 1. นางสำเนียง เกตุมณี 2. นายสุกิจ สุภาพงค์ 3. นายสุรัตน์ ฉายแก้ว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“ผู้ประกอบการ ราชบุรี” ชม “อนุทิน” ฟื้นกีฬาวัวลาน ให้แข่งตอนกลางคืน มั่นใจ เป็นงานเฟสติวัลระดับโลก

จากกรณีที่กระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวง ให้การแข่งขันวัวลานจัดขึ้นในเวลากลางคืน ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2567 โดยล่าสุด นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้เดินทางไปเปิดการแข่งขันวัวลานที่

'Season of Love Song ครั้งที่ 14' ส่งความมันส์ข้ามคืน กว่า 15 ชั่วโมง!

ผ่านพ้นไปเป็นที่เรียบร้อย กับ “Chang Music Connection Presents Season of Love Song ครั้งที่ 14” หรือ SoLS14 เทศกาลดนตรีแห่งความสุขที่จัดเต็มทั้งเพลงรัก เพลงร็อก จาก 15 ศิลปินชั้นนำ ท่ามกลางลมหนาวของเวเนโต้ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี

ขยายผลพื้นที่และจำนวนประชากรรับประโยชน์ องค์ความรู้จากศูนย์ศึกษาฯ และศูนย์สาขา

ในปี 2567 สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) เดินหน้าสร้างความอยู่ดี กินดี ของประชาชนไทยโดยการสร้างต้นแบบเกษตรกรที่ได้รับองค์ความรู้จากศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และศูนย์สาขาฯ ที่ได้นำผลจากการศึกษา ทดลอง

เอกลักษณ์ คน กปร. ตัวคูณ ร่วมสืบสาน รักษา และต่อยอด โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

สำนักงาน กปร. เดินหน้า 10 ปี ต่อเนื่อง โครงการศึกษาอบรมหลักสูตรนักบริหารการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ (นบร.) ก้าวสู่รุ่นที่ 12 และหลักสูตรนักพัฒนาตามแนวพระราชดำริ (พพร.) รุ่นที่ 11 ภายใต้โครงการ RDPB Talk ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

นวัตกรรมการผลิตพืชเมืองหนาว ด้วยความเย็นเหลือทิ้งจากก๊าซธรรมชาติเหลว

การพัฒนานำพลังงานความเย็นที่ได้จากกระบวนการเปลี่ยนสถานะของก๊าซธรรมชาติเหลว ที่ถูกแปรสภาพโดยการลดอุณหภูมิเหลือ -160°C โดยความเย็นที่ได้จากกระบวนการแปรสภาพของก๊าซธรรมชาติเหลวมาใช้ในระบบการผลิตไม้ดอกและพืชเมืองหนาว เป็นการต่อยอดการเกษตรนวัตกรรมในพืชเศรษฐกิจมูลค่าสูง

43 ปี "อันเนื่องมาจากพระราชดำริ" สร้างสุข สู่รอยยิ้ม และความยั่งยืน

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศนั้น มีส่วนสำคัญต่อการเสริมแผนงานต่าง ๆ ของรัฐบาลและเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง อันเป็นผลจากพระราชกรณียกิจ