จับตาปลดล็อก..ควบคุมเหล้าเบียร์ กฎหมายใหม่เปิดช่องขายได้ทั่วถึง

รายงานองค์การอนามัยโลก (WHO) ปี 2567 ชี้ว่าแนวโน้มการบริโภคแอลกอฮอล์/หัวประชากร และผลกระทบต่อสุขภาพมีความซับซ้อนและแตกต่างกันตามภูมิภาคต่างๆ ที่น่ากังวลคือ ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมีแนวโน้มจะมีการดื่มที่สูงขึ้น

ประเทศไทยจะต้องเผชิญกับปัญหาที่สูงขึ้นในอนาคตจากปัจจัยต่างๆ โดยเฉพาะหากไม่มีการดำเนินมาตรการควบคุมที่มีประสิทธิภาพ เพราะการดื่มแอลกอฮอล์เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการสูญเสียต่อสุขภาวะทั้งชายและหญิง เป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับ 2 ในเพศชาย และอันดับ 9 ในเพศหญิง ส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อสุขภาพของประชาชน ด้วยโรคมะเร็งตับ โรคตับแข็ง เส้นเลือดในสมองแตก อัตราการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทยซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและต่อเนื่อง

นักดื่มหน้าใหม่ในวัย 15-19 ปียังอยู่ในระดับต่ำ แต่เป็นจุดสนใจที่อุตสาหกรรมแอลกอฮอล์มองเห็น ว่าเป็นช่องว่างที่สามารถจะเติมเต็ม เพื่อเพิ่มนักดื่มในกลุ่มเยาวชน ซึ่งดื่มตั้งแต่อายุยังน้อย มีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพในระยะยาว เป็นที่สังเกตว่า จากการสำรวจ นักดื่มหน้าใหม่ในเพศชาย มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมาจากปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมที่ส่งเสริมการดื่มในเพศชาย

จากข้อมูลข้างต้น อีกทั้งการบังคับใช้ พ.ร.บ.เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฉบับปัจจุบัน อันเป็นเครื่องมือในการควบคุมดูแลพื้นที่ห้ามดื่มและห้ามจำหน่ายมาเป็นเวลาเนิ่นนานกว่า 17 ปี ..วันนี้จึงได้มีการเคลื่อนไหวจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ โดยเฉพาะสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. เพื่อถกเถียงอภิปรายให้ตลกผลึกว่าการ "ปลดล็อก" การควบคุมแอลกอฮอล์นั้น ประโยชน์เพื่อใคร และหากต้องขับเคลื่อนบังคับใช้กฎหมายใหม่แล้ว จะทำอย่างไรให้มีประสิทธิภาพในประเทศไทย

ล่าสุด ในที่ประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 13 พ.ศ. 2567 เมื่อวันที่ 15 พ.ย. ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์  คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ นพ.วิวัฒน์ โรจนพิทยากร ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารแผนคณะที่ 1 สสส. ในฐานะประธานการประชุม เปิดเผยว่า สภาผู้แทนราษฎรได้รับหลักการของร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฉบับใหม่ ซึ่งมี 5 ฉบับเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2567 ขณะนี้ร่าง พ.ร.บ.แล้วเสร็จไปกว่า 80% คาดว่าจะส่งเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรได้ทันในสมัยประชุมนี้ ซึ่งจะเปิดประชุมสภาฯ ในวันที่ 12 ธ.ค.ศกนี้ โดยมั่นใจว่าร่าง กม.ฉบับนี้เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ฉะนั้นทางสภาฯ จะได้นำเข้าสู่การพิจารณาเป็นวาระต้นๆ ในเร็วๆ นี้

น.ส.รุ่งอรุณ ลิ้มฬหะภัณ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สสส. (สำนัก 1) ระบุว่า  การปลดล็อกขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต้องดูบริบทของสังคมด้วยว่าได้ประโยชน์อะไร คนในพื้นที่ต้องการกฎกติกาในการดำเนินชีวิตต่อไปอย่างไร งานวัดโมเดลที่ต้องศึกษา ทั้งๆ ที่โคราชมีวัดเป็นจำนวนมากมาย แต่เมื่อมีการสร้างกระแสพื้นที่ห้ามดื่มห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็น Success Model ที่ต้องศึกษา จัดงานสัปดาห์ปลอดเหล้า มีคนเข้าร่วมงาน 1.5 แสนคน นับได้ว่าเป็น Soft Power อยากให้สงกรานต์เป็น Soft Power หนึ่งของเมืองไทย ถนนข้าวเหนียวมีคลื่นมนุษย์หลั่งไหลเข้ามาเที่ยวสงกรานต์ที่ขอนแก่น เป็นข่าวใหญ่ในระดับโลก สร้างรายได้มากกว่า 1,600 ล้านบาท คนไม่ดื่ม 70% มีสิทธิ์ที่จะดูแลความปลอดภัยให้กับตัวเอง

เทศกาลงานช้างที่ จ.สุรินทร์ การทำงานปลอดเหล้า ไม่พบว่ามีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ งานลอยกระทงใครๆ ก็อยากจะลอยกระทงกับครอบครัวแล้วปลอดภัย สมัยก่อนไม่มีใครอยากออกนอกบ้านไปเที่ยวลอยกระทงที่วัดสระเกศ ภูเขาทอง เพราะกลัวว่าจะเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน  แต่ปัจจุบันวัฒนธรรมสังคมเปลี่ยนแปลง เป็นความสำเร็จจากการทำงานร่วมกันของ สสส.และภาคีที่ปรับเปลี่ยนค่านิยมใหม่ ไม่สังสรรค์กันด้วยเหล้าเบียร์ ทำให้รายได้จากตลาดการท่องเที่ยวพุ่งสูงขึ้นปีละ 10% เน้นการท่องเที่ยวแบบปลอดภัยควบคู่กับคุณภาพสิ่งแวดล้อม Trend ออกมาตอบกระแสการเป็น Soft Power ของไทย พิสูจน์ว่าประชาชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังการบังคับใช้กฎหมาย คนจำนวน 10 ล้านคนช่วยกันมีส่วนร่วมดูแลซึ่งกันและกัน ต้นทุนความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากการเมาสุราส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งระยะสั้นและระยะยาว กระทรวงสาธารณสุขเคยรวบรวมต้นทุนทางตรงและทางอ้อม 1.6 แสนล้านบาท

น.ส.จันทิมา ธนาสว่างกุล อัยการอาวุโส สำนักงานวิชาการ สำนักงานอัยการสูงสุด ชี้แจงว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ใช่สินค้าปกติทั่วไป ต้องผ่านการควบคุม ทุกวันนี้มีการขายและโฆษณาผ่านทางสื่อออนไลน์ ต้องยอมรับว่าร่าง กม.นี้เป็นเรื่องความขัดแย้งกันทางด้านผลประโยชน์ โดยเฉพาะผู้ประกอบการผู้ผลิตได้เข้าไปนั่งอยู่ในคณะกรรมการควบคุมแอลกอฮอล์ ทำให้เสียงส่วนใหญ่มีความโน้มเอียงไปทางด้านผู้ประกอบการ ร่างกฎหมายนี้ต้องการปลดล็อกเพื่อให้ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น หรือเป็นการปลดล็อกเพื่อใคร?

“มีการเขียนกฎหมายเพื่อขายแอลกอฮอล์ได้อย่างทั่วถึง กฎหมายจะควบคุมได้อย่างไร? ยิ่งมีการซื้อขายทางออนไลน์ เมื่อมีผลบังคับใช้จะทำให้เหนื่อยมากๆ มีการขายผ่านตู้อัตโนมัติ ยกเว้นมีข้อสงสัยจึงขอตรวจดูบัตรประจำตัวประชาชนเพื่อให้ยืนยันตัวตน ยิ่งมีการโฆษณาผ่าน influencer ที่เป็นคนดัง ดารา ทำให้การซื้อขายผ่านออนไลน์เป็นไปอย่างกว้างขวางมาก ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบใบอนุญาตการขายว่าถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่? การโซนนิงจุดซื้อขาย” น.ส.จันทิมาแสดงความคิดเห็น

น.ส.ชนกธิดา ศิริวัตร รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แจกแจงข้อกฎหมายว่าห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้แก่บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ และบุคคลที่มีอาการมึนเมาจนครองสติไม่อยู่ ให้นำไปสู่การบังคับใช้กฎหมายที่จริงจัง  หากมีข้อสงสัยขอตรวจดูบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ซื้อได้ กฎหมายไม่ได้ระบุว่าจะต้องมีกล้องวงจรปิดเพื่อตรวจสอบย้อนหลังก็จริง แต่ผู้ขายจะหาทางป้องกันตัวเอง ด้วยการติดตั้งกล้องวงจรปิดไว้เพื่อพิสูจน์ว่าไม่ได้ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้คนมึนเมา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแนวทางของผู้ขายในแต่ละท้องที่

นายสุวรรณกิตติ์ บุญแท้ สมาคมเครือข่ายงดเหล้าและลดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ เปิดเผยว่า ถือว่าเป็นประวัติศาสตร์สำคัญในการเปลี่ยนแปลงนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ด้วยเหตุผลที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ให้หลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง ด้วยการใช้ภูมิปัญญารายย่อย ในระหว่างทางก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงข้อสัญญา การพิจารณาส่วนแบ่งด้านการตลาด เพื่อส่งเสริมการบริโภค ขอให้ช่วยกันจดคำมั่นสัญญานี้ไว้ ถ้าไม่เป็นจริงก็ต้องช่วยกันทวงสิทธิที่ส่งผลต่อระบบนิเวศ การเปิดถนนเมรัย ข้าวทุ่งกุลามาทำไวน์ เบียร์ได้ ปัญหาเกษตรกรที่ขายข้าวได้ราคาต่ำ ต้องมีการแปรรูปเพื่อให้ได้สนนราคาแพงขึ้น.


สาระสำคัญในการผ่อนปรน

ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ภาคธุรกิจต้องการให้ยุบคณะกรรมการควบคุมเหลือเพียงชุดเดียว ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และให้ตัวแทนจากภาคธุรกิจเข้าร่วม เพื่อช่วยให้การตัดสินใจรวดเร็วขึ้น มีการตั้งข้อสังเกตว่าการให้ตัวแทนภาคธุรกิจมีบทบาทในคณะกรรมการควบคุม จะส่งผลกระทบต่อความโปร่งใสและทำให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน การกำหนดนโยบายควรคำนึงถึงผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนเป็นหลัก ทั้งยังมีข้อเสนอให้มีการผ่อนปรนมาตรการในสถานที่จัดงานขนาดใหญ่ งานแต่งงาน งานกีฬา งานเทศบาล เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ทั้งนี้มีข้อเสนอว่า การผ่อนปรนควรมาพร้อมกับมาตรการควบคุมที่เข้มงวด การจำกัดการเข้าถึงของเยาวชนและการกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันปัญหาสังคมและสุขภาพที่จะตามมา

ภาคธุรกิจเสนอให้ขยายเวลาจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงบ่าย 14.00-17.00 น.และหลังเที่ยงคืน รวมถึงอนุญาตให้ขายผ่านช่องทางออนไลน์ ส่งผลให้ผู้บริโภคสั่งซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จากบ้านได้ตลอด 24ชั่วโมง ทำให้คนทุกกลุ่มที่เป็นกลุ่มเสี่ยงมีปัญหาสุขภาพ เป็นเยาวชน หญิงตั้งครรภ์ ซึ่งไม่ควรบริโภคแอลกอฮอล์ เข้าถึงการบริโภคได้ง่าย โดยมีข้อติงด้วยว่าหากให้มีการขยายเวลาจำหน่าย จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชนทุกกลุ่ม จึงไม่ควรผ่อนปรนให้มีการขยายเวลาทั้งสองช่วงเวลา

สำหรับใบอนุญาตในการจำหน่ายสุรา ที่ออกให้กับจุดจำหน่ายทั้งหมดในประเทศไทยมีประมาณ 600,000 ใบอนุญาต หรือประมาณ 9 ใบอนุญาต:ประชากร 1 พันคน  เป็นแนวโน้มที่ค่อนข้างคงที่ แต่ความหนาแน่นดังกล่าวจัดได้ว่าสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“รองนายกฯ ประเสริฐ” สั่งเดินหน้าคุมเข้มลดเจ็บ-ตายปีใหม่ เฝ้าระวัง “นักซิ่งเยาวชน” หลังพบดื่มแล้วขับ “เจ็บ-ตาย” เฉลี่ยชั่วโมงละ 3 คน เล็งเชื่อมข้อมูลทำระบบ “ใบสั่งออนไลน์”

เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2567 ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ในฐานะประธานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

"สิทธิในอาหาร..เพื่อชีวิตที่ดี" ทุกภาคส่วนต้องร่วมผลักดัน

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กำหนดให้วันที่ 16 ต.ค.ของทุกปี เป็นวันอาหารโลก (World Food Day) เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงสิทธิในอาหาร

สสส. ทำถึง กวาด 14 รางวัลสื่อสาร จากแอด พีเพิล อวอร์ส 2567 ผ่าน 5 ผลงาน สื่อสารการตลาดเพื่อสังคม “Walk Stadium” “หมวกกันน็อกคืนชีพ” “แอร์ล้างได้ปอดล้างไม่ได้” “พวงเครื่องปรุงจิ๋ว” “การเดินทางของบุหรี่”

น.ส.สุพัฒนุช สอนดำริห์ ผู้อำนวยการสำนักอาวุโส สำนักสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ผลงานโฆษณาและการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สสส. ได้รับรางวัลแอด พีเพิล อวอร์ส 2567

ต่อยอด! ติดอาวุธสมองป้องกัน ความเสี่ยงภัยบนโลกไซเบอร์

ผลสำรวจปี 2567 คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตมากถึง 88% ของประชากรทั้งหมด และส่วนใหญ่ใช้งานนานเกือบ 8 ชั่วโมงต่อวัน แสดงให้เห็นว่าเราใช้เวลาเกือบ 1 ใน 3 ท่องโลกอินเทอร์เน็ต

โชว์ต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ลดฝุ่นอากาศสะอาดทุกลมหายใจ

"อากาศบริสุทธิ์ใน กทม.เป็นจริงได้ ด้วยจุดเปลี่ยนร่วมมือร่วมใจ ให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้" ด้วยแนวคิดข้างต้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)