“สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา Better Regulation for Better Life : โอกาสและความท้าทายในยุคเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)”

การใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของประชาชนทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน การทำงาน การติดต่อสื่อสาร การจับจ่ายใช้สอย การรักษาความปลอดภัย การขับขี่ยานพาหนะและระบบนำทาง การช่วยเหลือในทางการแพทย์ การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ฯลฯ ซึ่งรูปแบบเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งานที่หลากหลายส่งผลให้การใช้งานเทคโนโลยีดังกล่าวได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย และทำให้ปริมาณผู้ใช้งานเทคโนโลยี AI เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเทคโนโลยีเหล่านี้ส่งผลให้ผู้ใช้งานมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และส่งผลต่อมุมมองทางกฎหมายทั้งในการส่งเสริม การกำกับดูแล ตลอดจนการกำหนดความรับผิดจากการใช้งานเทคโนโลยีโดยตรงและจากผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีต่อบุคคลภายนอก ทำให้ภาครัฐในฐานะที่มีภารกิจในการรักษาความมั่นคงของชาติ การพัฒนาประเทศ ตลอดจนการดูแลความสงบเรียบร้อยและการส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน มีหน้าที่สำคัญที่จะต้องสอดส่องและเตรียมความพร้อมเพื่อให้การอำนวยความสะดวกของเทคโนโลยี AI สามารถช่วยเพิ่มศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมและบริการของประเทศ รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ดังที่ปรากฏในยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) ที่มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการเพิ่มศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมและบริการ (ยุทธศาสตร์ที่ ๒) โดยมีมาตรฐานและมาตรการในการกำกับดูแลเทคโนโลยี AI เพื่อสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนานวัตกรรมและการป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสิทธิความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน การหลอกลวงประชาชนจากข้อมูลที่ระบบเทคโนโลยีดังกล่าวสามารถเข้าถึงได้ ตลอดจนผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากเทคโนโลยีดังกล่าวที่ยังไม่ปรากฏข้อมูลที่ชัดเจน ซึ่งขณะนี้ ประเทศไทยอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการกำกับดูแล และได้มีการยกร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์แห่งประเทศไทย พ.ศ. ....

โดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) เพื่อพัฒนากรอบกฎหมายในการกำกับดูแลเทคโนโลยี AI ของไทย ร่างกฎหมายดังกล่าวอยู่ระหว่างกระบวนการจัดทำร่างกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันได้ผ่านขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นในระบบกลางทางกฎหมายแล้ว (www.law.go.th) โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะนำข้อมูลและความคิดเห็นที่ได้รับไปพิจารณาเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนกระบวนการตรากฎหมายตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. ๒๕๖๒ ต่อไป

นอกจากการเตรียมความพร้อมด้านกฎหมายภายใน สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการ่วมกับหน่วยงานด้านกฎหมายประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย ได้เข้าร่วมการหารือในเวทีด้านกฎหมาย Asian Legislative Experts Symposium (ALES) ครั้งที่ ๑๒ ซึ่งจัดโดยกระทรวงกฎหมายแห่งรัฐบาลของสาธารณรัฐเกาหลี (Ministry of Government Legislation หรือ MOLEG) และสถาบันวิจัยกฎหมายแห่งสาธารณรัฐเกาหลี (Korea Legislation Research Institute (KLRI))  ในหัวข้อ “Law Encounters AI: Cooperation Measures for Advancing Legal Tech in Asia” เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางการนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในภาครัฐ การเตรียมความพร้อมในการพัฒนาธรรมาภิบาล AI และการกำหนดมาตรฐานกลางด้านเทคโนโลยี  ตลอดจนการร่วมมือเพื่อพัฒนาการเรียนรู้เกี่ยวกับแนวทางการใช้ประโยชน์และการรับมือเทคโนโลยี AI ตลอดจนความท้าทายต่าง ๆ ที่อาจมีขึ้นในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งการเตรียมความพร้อมดังกล่าวของไทยจะมิได้ทำเฉพาะในด้านกฎหมาย แต่จะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับหน่วยงานอื่นเพื่อให้กฎหมายและการปฏิบัติสามารถดำเนินการได้อย่างสอดคล้องกัน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

AI กับการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจโลก: มุมมองและวิสัยทัศน์จาก CEO EBC Financial Group

ในยุคที่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจโลก David Barrett CEO ของ EBC Financial Group (UK) Ltd ได้แสดงมุมมองที่น่าสนใจผ่านการสัมภาษณ์กับ

”พิพัฒน์“ เปลี่ยนกระทรวงสู่ยุคAI สร้างทักษะการใช้ AI บริการหางาน พัฒนาฝีมือ แจ้งข้อร้องเรียน รับสิทธิประกันสังคม ให้สะดวก รวดเร็วขึ้น .

วันที่ 23 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในงานการประชาสัมพันธ์ด้านปัญญาประดิษฐ์และการนำไปใช้สำหรับบุคลากรภาครัฐ (Kick off Artificial Intelligence Literacy for Government officer)

'ทักษิณ' ลั่นล้านเปอร์เซ็นต์ 'เกาะกูด' ของไทย ไม่บ้ายกให้กัมพูชา จ่อติวเข้ม สส. แจงปชช.

'ทักษิณ' ลั่นล้านเปอร์เซ็นต์ 'เกาะกูด' เป็นของไทย โต้เฟกนิวส์ใช้เอไอปล่อยข่าวมั่ว ชี้ใครจะบ้ายกให้ เตรียมติว สส. เพื่อไทย แจงประชาชนถึงที่มา MOU 44

๙๑ ปี สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา “พัฒนากฎหมายที่ดี เพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน”

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา “พระราชบัญญัติเคาน์ซิลออฟสเตด คือ ที่ปฤกษาราชการแผ่นดิน” ขึ้น เพื่อเป็นองค์กรถวายคำปรึกษาแก่พระองค์ในการบริหารราชการแผ่นดิน

แนะธุรกิจรพ.-คลินิก เปลี่ยนผ่านสู่ยุค AI ด้วยการเชื่อมโยง HIS กับ ERP ยกระดับการให้บริการสาธารณสุขไทย

การขยายสิทธิประโยชน์ของบัตรทองในปี 2568 ภายใต้นโยบายของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มุ่งหวังให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้อย่างครอบคลุมและทั่วถึงมากยิ่งขึ้น