“สุรศักดิ์” รมช.ศธ. เดินหน้าขับเคลื่อนรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย ชูโมเดล “ศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนักเรียนปลอดภัย จ.อยุธยา” ของสสส.

วันที่ 18 พ.ย. 2567 ที่ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้การจัดการรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัย โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ภายในงานเวทีสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัย จ.พระนครศรีอยุธยา จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สภาองค์กรของผู้บริโภค ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค จ.พระนครศรีอยุธยา

นายสุรศักดิ์ กล่าวว่า ข้อมูลการเฝ้าระวังของศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน และเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค ปี 2565-2566 พบรถรับส่งนักเรียนเกิดอุบัติเหตุทางถนนเฉลี่ยปีละ 30 ครั้ง เฉพาะ ช่วง ม.ค.- มี.ค. ปี 2567 รถรับส่งนักเรียนเกิดอุบัติเหตุสูงถึง 15 ครั้ง มีนักเรียนเสียชีวิต 1 คน บาดเจ็บ 153 คน เป็นอัตราความรุนแรงมากกว่าปี 2566 ในทุกด้าน สาเหตุเกิดจาก 1.ความประมาทของผู้ประกอบการ หรือคนขับรถ 2.สภาพรถที่ไม่ปลอดภัย 3.ขาดการจัดการที่เป็นระบบอย่างมีประสิทธิภาพ สะท้อนถึงปัญหาเชิงโครงสร้าง และขาดการจัดการอย่างเร่งด่วน

“ความรุนแรงจากอุบัติเหตุรถรับส่งนักเรียนในรอบหลายปีที่ผ่านมา เป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และสิทธิขั้นพื้นฐาน จึงจำเป็นอย่างเร่งด่วนในการสร้างมาตรการ และนโยบาย เพื่อสร้างความปลอดภัยในกลุ่มเด็กและเยาวชน ทุกภาคส่วนไม่ต้องการเห็นความสูญเสียเหมือนกรณีอุบัติเหตุรถบัสไฟไหม้เมื่อ 1 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมาอีกจึงต้องเร่งป้องกันและแก้ไขอย่างเร่งด่วน สสส. สภาองค์กรของผู้บริโภค และภาคีเครือข่าย ได้พัฒนา “ศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัย” จะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความเข้าใจ แนวคิด และแนวทางขับเคลื่อนการจัดการระบบรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย ระหว่างโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาคประชาชน ภาครัฐ และภาคเอกชน นำไปสู่การพัฒนาการจัดการระบบรถรับส่งนักเรียนปลอดภัยโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอย่างยั่งยืน” นายสุรศักดิ์ กล่าว

นายศรีสุวรรณ ควรขจร รองประธานกรรมการบริหารแผนคณะที่ 1 สสส. กล่าวว่า ข้อมูลของกรมการขนส่งทางบก เมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2566 ระบุว่า มีรถยนต์ส่วนบุคคลและรถยนต์สาธารณะที่ได้รับขออนุญาตให้ใช้เป็นรถรับส่งนักเรียนเพียง 3,342 คัน แต่ยังมีรถรับส่งนักเรียนอีกจำนวนมาก ที่ไม่ได้รับการขออนุญาตให้บริการรับส่งนักเรียนกระจายอยู่ทั่วประเทศ ส่งผลต่อการกำกับมาตรฐานความปลอดภัยรถรับส่งนักเรียน และเป็นปัจจัยเสริมพฤติกรรมเสี่ยงของผู้ขับรถรับส่งนักเรียนที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ขับรถโดยไม่มีใบอนุญาต ใช้รถผิดประเภท หลีกเลี่ยงการจัดทำประกันภัย ประมาทเลินเล่อ ตลอดจนดัดแปลงสภาพรถเพื่อให้รับนักเรียนได้มากขึ้น ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของเด็กนักเรียนในการเดินทาง การผลักดันให้รถรับส่งนักเรียนปลอดภัย ถือเป็นหมุดหมายสำคัญของโรงเรียน และผู้ปกครอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกภาคส่วนจำเป็นต้องร่วมกันแก้ไขปัญหากันอย่างจริงจัง
“สสส. สานพลังสภาผู้บริโภค และเครือข่ายผู้บริโภค 33 จังหวัด ภายใต้โครงการแผนงานร่วมทุนสนับสนุนองค์กรผู้บริโภค ได้พัฒนาระบบขนส่งสาธารณะที่ปลอดภัยและเป็นธรรม พัฒนาโรงเรียนศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนักเรียนปลอดภัย 20 แห่งทั่วประเทศ เพื่อสร้างระบบความปลอดภัยในการเดินทางของเด็กนักเรียนด้วยรถโรงเรียน โดยพัฒนาองค์ความรู้ และมาตรการไปถึงผู้ปกครองที่มาส่งบุตรหลานด้วยตนเอง เช่น สวมหมวกกันน็อก 100% คาดเข็มขัดนิรภัย และจะขยายไปสู่โรงเรียนในพื้นที่อื่น ๆ เพื่อสร้างความปลอดภัยสูงสุดในการเดินทางให้กับเด็ก และเยาวชนทั่วประเทศ ” นายศรีสุวรรณ กล่าว

นางสาวชลดา บุญเกษม กรรมการนโยบายสภาผู้บริโภค ผู้แทนเขตภาคกลาง กล่าวว่า เวทีสร้างความร่วมมือฯ รถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จัดขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจ แนวคิด และแนวทางขับเคลื่อนโรงเรียนศูนย์เรียนรู้การจัดการระบบรถรับส่งนักเรียนปลอดภัยให้กับกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการรถรับส่งนักเรียนที่ปลอดภัยระหว่างโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการจัดการระบบรถรับส่งนักเรียนปลอดภัยโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอย่างยั่งยืน
นายคงศักดิ์ ชื่นไกรลาศ ผู้ช่วยเลขานุการคณะอนุกรรมการด้านการขนส่งและยานพาหนะ สภาผู้บริโภค กล่าวว่า สภาผู้บริโภคได้ขับเคลื่อนและทำเรื่องรถรับส่งนักเรียนปลอดภัยร่วมกับ 6 ภูมิภาค ใน 148 โรงเรียน และมีโรงเรียนที่สามารถพัฒนาขึ้นมาเป็นศูนย์เรียนรู้ 20 โรงเรียน โดยมีเป้าหมายสำคัญที่เน้นเรื่องความปลอดภัยของเด็กนักเรียน โดยโรงเรียนที่จะพัฒนาไปเป็นศูนย์เรียนรู้ได้ ต้องมีคุณสมบัติ 5 เกณฑ์ คือ 1. มีพื้นที่เรียนรู้ทางกายภาพ มีรถรับส่งนักเรียน มีพื้นที่จุดจอด 2. มีองค์ความรู้ในเรื่องการจัดการรถรับส่งนักเรียน 3. มีบุคลากรจัดการที่รับผิดชอบในเรื่องนี้ 4. มีรูปแบบการจัดการศูนย์เรียนรู้ 5. มีแผนบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ

“สำหรับองค์ประกอบ 9 ด้านที่เป็นกรอบการพัฒนาโรงเรียนศูนย์เรียนรู้รถรับส่งนักเรียนปลอดภัยนั้น มาจากการทำงานตลอด 7 ปี ซึ่งประกอบไปด้วย 1. มีระบบข้อมูลนักเรียน รถ คนขับ เส้นทาง พฤติกรรมคนขับ 2. ระบบเฝ้าระวัง ให้ผู้เกี่ยวข้องช่วยรายงานปัญหาได้ 3. มีระบบการดูแลนักเรียนในรถที่ถูกต้อง ทั่วถึง 4. มีการรวมกลุ่มคนขับ สร้างข้อปฏิบัติหรือวางแผนร่วมกันในการดำเนินการเพื่อสร้างความปลอดภัย 5. ต้องมีมาตรฐาน มีขั้นตอนตรวจสอบสภาพรถ และขึ้นทะเบียนกับขนส่ง 6. มีจุดจอดรถที่ปลอดภัย และระบบความปลอดภัยหน้าโรงเรียน 7. มีระบบคณะทำงาน และหลักเกณฑ์เพื่อติดตามประเมินผลทั้งระบบ 8. มีกลไกจัดการโดย ครู นักเรียน กรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครอง 9. มีคณะทำงานระดับอำเภอหรือจังหวัด” นายคงศักดิ์ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รณรงค์ "กินให้หมดจาน" 50ร้านต้นแบบช่วยลดขยะ

รู้หรือไม่?!?..... มีสถิติระบุว่า ขยะอาหารโลกพุ่งกว่า 1 พันล้านตัน ภาพขยะกองสูงเป็นภูเขาที่รอฝังกลบ กว่าครึ่งคือขยะอาหาร คนไทยเพียงคนเดียวผลิตขยะสูงลิ่ว 146 กก./คน/ปี

“รองนายกฯ ประเสริฐ” สั่งเดินหน้าคุมเข้มลดเจ็บ-ตายปีใหม่ เฝ้าระวัง “นักซิ่งเยาวชน” หลังพบดื่มแล้วขับ “เจ็บ-ตาย” เฉลี่ยชั่วโมงละ 3 คน เล็งเชื่อมข้อมูลทำระบบ “ใบสั่งออนไลน์”

เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2567 ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ในฐานะประธานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

"สิทธิในอาหาร..เพื่อชีวิตที่ดี" ทุกภาคส่วนต้องร่วมผลักดัน

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กำหนดให้วันที่ 16 ต.ค.ของทุกปี เป็นวันอาหารโลก (World Food Day) เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงสิทธิในอาหาร

สสส. ทำถึง กวาด 14 รางวัลสื่อสาร จากแอด พีเพิล อวอร์ส 2567 ผ่าน 5 ผลงาน สื่อสารการตลาดเพื่อสังคม “Walk Stadium” “หมวกกันน็อกคืนชีพ” “แอร์ล้างได้ปอดล้างไม่ได้” “พวงเครื่องปรุงจิ๋ว” “การเดินทางของบุหรี่”

น.ส.สุพัฒนุช สอนดำริห์ ผู้อำนวยการสำนักอาวุโส สำนักสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ผลงานโฆษณาและการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สสส. ได้รับรางวัลแอด พีเพิล อวอร์ส 2567

ต่อยอด! ติดอาวุธสมองป้องกัน ความเสี่ยงภัยบนโลกไซเบอร์

ผลสำรวจปี 2567 คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตมากถึง 88% ของประชากรทั้งหมด และส่วนใหญ่ใช้งานนานเกือบ 8 ชั่วโมงต่อวัน แสดงให้เห็นว่าเราใช้เวลาเกือบ 1 ใน 3 ท่องโลกอินเทอร์เน็ต