เอกชนแนะ สร้าง Ecosystem ด้านสุขภาพ เพื่อเป็นศูนย์กลาง Medical Hub ของอาเซียน

ประเทศไทยมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) ผ่านการพัฒนา Ecosystem ด้านสุขภาพที่ครบวงจร ซึ่งไม่เพียงส่งเสริมเศรษฐกิจ แต่ยังยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ โดยรัฐบาลมีนโยบายให้ประเทศเป็น Medical Hub เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต ด้วยกลยุทธ์เติมอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (New S-curve) ผ่านการพัฒนาอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร การเชื่อมต่อการค้า การลงทุน และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงระบบสุขภาพ ตามนโยบายประเทศไทย 4.0 ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม

ในด้านเทคโนโลยีสุขภาพ ประเทศไทยมีความก้าวหน้าด้วยการลงทุนในเครื่องมือแพทย์ขั้นสูง เช่น หุ่นยนต์ผ่าตัด ปัญญาประดิษฐ์ในการวินิจฉัยโรค และโรงพยาบาลเสมือน (Virtual Hospital) โดยคาดว่ามูลค่าเทคโนโลยีทางการแพทย์จะสูงถึง 12.3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2573 นอกจากนี้ประเทศยังมีโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารที่แข็งแกร่ง มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกว่า 59 ล้านคนและบริการ 5G ที่ครอบคลุมทุกจังหวัด ซึ่งทำให้พร้อมเปิดรับการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์อย่างเต็มที่ การพัฒนาเหล่านี้ถือเป็นหัวใจสำคัญในการสร้าง Ecosystem ด้านสุขภาพที่ตอบสนองต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมการแพทย์ นับเป็นหนึ่งใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอีกด้วย

คุณเอกฤทธิ์ ธรรมกุล กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัทแบ็คยาร์ด (BACKYARD) ผู้พัฒนาเทคโนโลยีโซลูชั่นด้านเฮลท์เทค กล่าวว่า “การพัฒนา Ecosystem ด้านสุขภาพที่แข็งแกร่งจะไม่เพียงเสริมสร้างระบบสุขภาพของประเทศ แต่ยังเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในตลาดอาเซียน โดยเราจำเป็นต้องนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ในระบบการแพทย์ เพื่อให้การเข้าถึงบริการสุขภาพเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้ใช้บริการ”

“ความสำคัญของการร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาระบบสุขภาพที่ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนทุกกลุ่ม โดยการใช้ทรัพยากรและนวัตกรรมร่วมกันจะช่วยพัฒนาบริการที่มีคุณภาพและสามารถแข่งขันในระดับสากล อีกทั้งมีความพร้อมในการตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป ผมเชื่อว่าการพัฒนา Ecosystem ด้านสุขภาพที่ดีจะทำให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็น Medical Hub ของอาเซียนอย่างแท้จริง” คุณเอกฤทธิ์กล่าว

สำหรับในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ความต้องการบริการทางการแพทย์ในประเทศไทยได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีการเปิดคลินิกโรคทั่วไปและเฉพาะทาง มีผู้ประกอบการเข้ามาลงทุนอย่างต่อเนื่อง และมีการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและพฤติกรรมของประชาชนที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น การสร้าง Ecosystem ด้านสุขภาพนี้ไม่เพียงส่งเสริมเศรษฐกิจ แต่ยังช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศและภูมิภาคอาเซียน

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพัฒนา Ecosystem ด้านสุขภาพในประเทศไทย สามารถติดต่อสอบถามได้ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ www.backyard.in.th หรือโทร 02-853-9131

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

น้ำมันหอมระเหยทำสมองดีขึ้น แต่ต้องไม่ลืมอาหารมีประโยชน์-ออกกำลังกาย

วารสาร frontiers Neuroscience กรกฎาคม 2023 คนอายุ 60 ถึง 85 สุขภาพดี ทางร่างกายและการประเมินความจำ โดยได้กลิ่นเครื่องหอมระเหย (odorant diffuser) คืนละ 2 ชั่วโมง