วันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้องอีเทอร์นิตี้ บอลรูม โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ นายศุภชัย ใจสมุทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้รับมอบหมายจาก นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานเปิดงานการจัดการประชุมนานาชาติด้านชีววิทยาสังเคราะห์ในประเทศไทย ประจำปี 2567 หรือ SynBio Consortium 2024 ซึ่งเป็นการรวมตัวของผู้เชี่ยวชาญนักวิจัย และนักนวัตกรรมชั้นนำจากทั่วโลก เพื่อหารือเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของชีววิทยาสังเคราะห์ รวมถึงแบ่งปันประสบการณ์ ส่งเสริมความร่วมมือ และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านชีววิทยาสังเคราะห์เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาความท้าทายระดับโลก เช่น การพัฒนานวัตกรรมสุขภาพ เกษตรกรรมที่ยั่งยืน และพลังงานสะอาด เป็นต้น โดยงานในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจาก สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โครงการธัชวิทย์ ภายใต้หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) มหาวิทยาลัยมหิดล และมูลนิธิบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (บวท.)
.
โดยนายศุภชัย กล่าวเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลในการส่งเสริมแผนที่นำทางการพัฒนาชีววิทยาสังเคราะห์ (SynBio Development Roadmap) ว่ารัฐบาลมีความตั้งใจในการขับเคลื่อนแผนที่นำทางนี้ให้ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะในด้านการสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการพัฒนา โดยแผนงานต่าง ๆ ภายใต้แผนที่นำทางฉบับนี้จะนำไปสู่การสร้างระบบนิเวศที่ช่วยสนับสนุนการประยุกต์ใช้ชีววิทยาสังเคราะห์ในอุตสาหกรรม ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ สนับสนุนด้านสุขภาพ และมีส่วนสำคัญต่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
.
ขณะที่นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้ให้มุมมองของภาคเอกชนต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมบนฐานการประยุกต์ใช้ชีววิทยาสังเคราะห์ ว่าชีววิทยาสังเคราะห์ เป็นเทคโนโลยีที่สำคัญยิ่งในการพลิกโฉมความสามารถทางการแข่งขันของไทย โดยจะเข้ามาช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพ ส.อ.ท. พร้อมจับมือกับภาครัฐ สถาบันการศึกษา และภาคอุตสาหกรรม เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยีชีววิทยาสังเคราะห์และนำมาประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรม โดยใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพที่ถือเป็นจุดแข็งของประเทศไทย มาสร้างความยั่งยืนทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อนำพาประเทศไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ
.
ด้าน ดร.สุรชัย สถิตคุณารัตน์ ผู้อำนวยการ สอวช. ได้กล่าวถึงข้อมูลเกี่ยวกับ SynBio Development Roadmap ว่า แผนที่นำทางนี้ไม่ใช่เพียงแผน แต่แสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะนำองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม โดยการร่วมมือกับพันธมิตรทั่วโลกและใช้จุดแข็งของประเทศไทย เชื่อว่าเราจะสามารถสร้างระบบนิเวศที่เข้มแข็ง สนับสนุนการประยุกต์ใช้ชีววิทยาสังเคราะห์อย่างหลากหลายในภาคอุตสาหกรรมได้
.
นายกิตติพงศ์ ลิ่มสุวรรณโรจน์ กรรมการบริหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่าเครือข่าย SynBio หรือ SynBio Consortium ได้มีการก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2565 ด้วยวิสัยทัศน์ “ชีววิทยาสังเคราะห์สร้างโอกาสใหม่ทางเศรษฐกิจ ขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG)” โดย ส.อ.ท. เป็นหนึ่งในภาคีเครือข่ายที่ร่วมสนับสนุนการวิจัย การพัฒนาเทคโนโลยีชีววิทยาสังเคราะห์ไปสู่เชิงพาณิชย์ ผ่านการเสนอแนะ ผลักดัน และร่วมขับเคลื่อนนโยบายด้านกฎระเบียบ มาตรการและกลไกที่เอื้อให้เกิดการพัฒนาระบบนิเวศสนับสนุนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมซึ่งมีฐานมาจากเทคโนโลยีชีววิทยาสังเคราะห์และเทคโนโลยีเกี่ยวเนื่อง ซึ่งความร่วมมือภายใต้เครือข่ายนี้ จะสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกที่ยิ่งใหญ่ และทำให้ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านชีววิทยาสังเคราะห์ได้อย่างยั่งยืน
.
ดร.สิริพร พิทยโสภณ นักยุทธศาสตร์ระดับสูง รักษาการแทนรองผู้อำนวยการ สอวช. ได้กล่าวขอบคุณผู้เข้าร่วมงาน และผู้สนับสนุนการจัดงาน ทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ในกระทรวง อว. และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยที่มีส่วนสำคัญทำให้งานนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ซึ่งข้อมูลเชิงลึกและการหารือในครั้งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับแผนที่นำทางการพัฒนา SynBio จะถูกส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อ และเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้จะช่วยขับเคลื่อนการเติบโตและความก้าวหน้าของชีววิทยาสังเคราะห์ต่อไป
.
ทั้งนี้ การประชุมในครั้งนี้ประกอบไปด้วยการจัดเสวนาใน 5 หัวข้อ ได้แก่ 1. ความท้าทายและกฎระเบียบในการแก้ไขยีนในพืช แลกเปลี่ยนกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขยีน (Gene Editing: GEd) ในประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะกฎระเบียบใหม่ของไทย นำเสนอกรณีตัวอย่างจากธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยี GEd ในสหรัฐอเมริกาและอิสราเอล เพื่อให้มุมมองระหว่างประเทศ อีกทั้งมีการอัปเดตสถานะการวิจัย GEd ในไทย เพื่อตอบโจทย์ความท้าทายที่มีอยู่ 2. การนำงานวิจัยไปใช้ในภาคอุตสาหกรรม แสดงให้เห็นถึงข้อเสนอแนะ ความท้าทาย และแนวทางการส่งเสริมงานวิจัยด้าน SynBio จากห้องปฏิบัติการไปสู่ตลาด บทบาทของ Accelerator และความก้าวหน้าในภูมิภาค อภิปรายข้อดี ข้อเสียของความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและอุตสาหกรรม 3. การวิจัยอย่างรับผิดชอบในชีววิทยาสังเคราะห์ มุ่งเน้นไปที่นวัตกรรมการวิจัยอย่างรับผิดชอบ โดยเน้นจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมีกรณีศึกษาเพื่อเน้นปัญหาจริยธรรมในการใช้งานเทคโนโลยีชีวภาพที่ผ่านมา 4. ความสำคัญของมาตรฐานทางเทคนิคในชีววิทยาสังเคราะห์ มุ่งเน้นบทบาทของมาตรฐานในการขับเคลื่อนความก้าวหน้าในสาขานี้ โดยพิจารณาความท้าทายในการจัดการข้อมูลในวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพ เน้นการทำงานร่วมกันระหว่างนักวิทยาศาสตร์และผู้กำหนดนโยบาย และ 5. โครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาแรงงานทักษะสูง สำหรับการขยายขนาดในระดับอุตสาหกรรม เป็นการพิจารณาโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาบุคลากรที่มีความสำคัญในการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาชีววิทยาสังเคราะห์ มีการนำเสนอเกี่ยวกับเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) และการศึกษาภูมิทัศน์ชีววิทยาสังเคราะห์ เน้นถึงสถานะและศักยภาพของสาขานี้ในประเทศ
.
นอกจากนี้ นายศุภชัย ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน โดยกล่าวว่า การประชุมนานาชาติในครั้งนี้เป็นการประชุมครั้งแรกของ SynBio แม้ก่อนหน้านี้ในประเทศไทยจะมีการประชุมในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้มาหลายครั้งแล้ว แต่ต้องยอมรับว่าเรื่องนี้ยังคงเป็นเรื่องใหม่ ซึ่งภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ได้ทำเรื่องนี้ก้าวหน้าไปแล้ว
" ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนี้ทางนานาชาติเองก็ให้ความสนใจเรื่องนี้ และมีความก้าวหน้าทางด้านนี้มากกว่าประเทศไทย ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ที่คิดว่าจะปฏิวัติทุกๆ เรื่อง เช่น ในด้านอาหาร ยา รวมถึงเรื่องอื่นๆ ซึ่งคิดว่าอุตสาหกรรมต่างๆ จะมาเป็นศูนย์รวมในประเทศ และน่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งหากประเทศไทยจะเป็นหลักใน South East Asia "
.
นายศุภชัย กล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า กระทรวง อว.ในฐานะของรัฐบาล สิ่งใดที่รัฐบาลจะต้องทำเพื่อสนับสนุนในเรื่องนี้ ทางกระทรวง อว. ซึ่งนำโดยรัฐมนตรีศุภมาส อิศรภักดี พร้อมที่จะให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ ซึ่งเบื้องต้นมีหลายเรื่องจำเป็นที่จะต้องผลักดันเรื่องของกฎหมาย ระเบียบต่างๆ ที่จะทำให้ SynBio สามารถที่จะดำเนินการอยู่ในกรอบเป็นที่ยอมรับ รวมถึงการสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนในการผลักดันให้เรื่องนี้ก้าวไปสู่ความสำเร็จ สามารถเป็นทิศทางใหม่ในด้านอุตสาหกรรมของประเทศไทยในอนาคต"
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ไปแอ่วหละปูนกันเต๊อะ ยลมหานครโคมโลก !
ประเด็น "การเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล" ในไหล่ทวีป 26,400 ตารางกิโลเมตร ระหว่างไทย-กัมพูชา กลับมาเป็นเรื่องร้อนๆ ที่ถูกพูดถึงทางการเมืองอีกครั้ง
“ศุภมาส” นั่งหัวโต๊ะประชุม ก.พ.อ. เตรียมชง ครม. เยียวยาข้าราชการพลเรือนมหาวิทยาลัยหลังข้าราชการครูปรับเงินเดือนขึ้น พร้อมปรับเงินเดือนชดเชยให้กับพนักงานมหาวิทยาลัยที่บรรจุก่อน 1 พ.ค. 2567 และก่อน 1 พ.ค. 2568
เมื่อวันที่ 30 ต.ค.67 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
"ศุภมาส" ห่วงน้ำท่วมภาคเหนือ มอบ ม.ราชมงคลทั่วประเทศ ผนึกเทศบาลนครเชียงใหม่ สมาคมตอบโต้ภัยพิบัติแห่งชาติและภาคีเครือข่าย เปิดศูนย์ประสานงานส่วนหน้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ. เชียงใหม่
เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2567 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ. เชียงใหม่ ได้ส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนชาวเชียงใหม่ในหลายพื้นที่ กระทรวง อว. โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศ
เปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย เริ่มเรียนปีการศึกษา 2568 นำร่อง 3 สถาบัน “จุฬาฯ - มจพ. - สจล.”
เมื่อวันที่ 3 ต.ค.67 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานการแถลงข่าว “อว. For Semiconductor” การเปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย โดยมี ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล
กระทรวง อว.ลุยยกระดับผลการประเมิน PISA เด็กไทยปี 68
เมื่อวันที่ 25 ก.ย. น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการประชุมและมอบนโยบายในการส่งเสริมสมรรถนะและความฉลาดรู้ของผู้เรียนตามแนวทางการประเมินระดับนานาชาติ (PISA) เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการดำเนินงานตามแนวทางและดำเนินการขับเคลื่อนเพื่อยกระดับผลการประเมิน PISA จัดโดยสำนักงานปลัดกระทรวง อว.โดยมี ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล