ต้องยอมรับว่าตั้งแต่ต้นปี 2567 เป็นต้นมา ทั่วโลกได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศแปรปรวนเกิดขึ้นบ่อยครั้ง อย่างฤดูหนาวที่รัฐแคชเมียร์ประเทศอินเดียปีนี้อุณหภูมิสูงขึ้นราว 6-8 °C ทำให้ต้องเผชิญฤดูหนาวที่ไม่มีหิมะซึ่งกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวในเขตกุลมาร์ค มีนักท่องเที่ยวยกเลิกการจองโรงแรมเพื่อมาเล่นสกีกว่า 40% หรือมีพายุถล่มสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และหลายพื้นที่ใกล้เคียง สวิตเซอร์แลนด์ตอนใต้ และประเทศเนปาลประสบกับน้ำท่วมเกิดความเสียหายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน
ขณะที่ประเทศไทยเองในเดือนเมษายนที่ผ่านมา เราได้เผชิญกับปรากฏการณ์เอลนีโญ ทำให้อากาศร้อนขึ้น ส่งผลเกิดความแห้งแล้ง ต่อมาในปลายเดือนมิถุนายนเกิดปรากฏการณ์ลานีญา ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากจากฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ ล้วนแสดงให้เห็นว่า สภาพภูมิอากาศได้เข้าสู่ภาวะวิกฤตแล้ว ซึ่งมนุษยชาติจำเป็นต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงอย่างเร่งด่วน เพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่อาจเลวร้ายกว่าในอดีต
ดังนั้นวิกฤตดังกล่าวส่งผลให้แนวคิดNet Zero หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ได้รับความสนใจมากขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ ตามข้อตกลงปารีส ว่าด้วยการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้สูงเกินกว่า 2 องศาเซลเซียส และพยายามจำกัดอุณหภูมิให้ไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ทำให้หลายประเทศได้มีการริเริ่มและมีความตั้งใจที่จะบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์
เช่นเดียวกับประเทศไทยที่เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นดังกล่าวเช่นกัน โดยมุ่งที่จะดำเนินการเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2065 พร้อมทั้งจะบรรลุเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contribution: NDC) ให้ได้ร้อยละ 40 จากกรณีปกติ ภายในปี ค.ศ. 2030 หากได้รับการสนับสนุนด้านการเงินและเทคโนโลยีที่เหมาะสมและเพียงพอ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมส่งเสริมการแก้ไขสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศให้กับสิ่งแวดล้อมระดับโลกและสร้างอนาคตที่ยั่งยืน
ขณะที่ภาคธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมุ่งที่จะหาแนวทางในการดำเนินงานไม่ว่าจะเป็น การเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อช่วยดูดซับคาร์บอน, ลดการเผาป่า, ลดขยะโดยนำหลัก 3R เข้ามาเพื่อจัดการขยะในชีวิตประจำวัน, ใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, ลดการใช้เชื้อเพลิง, ลดการใช้ไฟฟ้าเมื่อไม่จำเป็น หรือหันมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ CKPower (CKP) หนึ่งในผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน โดยนายธนวัฒน์ ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการ CKP ระบุว่าผลการดำเนินงานในปี 2566 ด้านการจัดการพลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก บริษัทปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียง 0.0691 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e) ต่อการผลิตไฟฟ้า 1 เมกะวัตต์-ชั่วโมง (MWh) ซึ่งต่ำกว่าค่ากลางการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อการผลิตไฟฟ้าของประเทศ (Thailand Grid) ที่ 0.4999 tCO2e/MWh ถึง 86% และในครึ่งปีแรกของปี 2567 ต่ำกว่า 83% ทั้งนี้ คาดการณ์ตลอดปี 2567 ต่ำกว่าค่ากลางการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อการผลิตไฟฟ้าของประเทศถึง 87%
โดยบริษัทฯ มีการพัฒนานวัตกรรมด้านการลดการใช้พลังงาน รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าและกระบวนการต่างๆ ภายในองค์กรมาอย่างต่อเนื่อง ตลอดการดำเนินงานในปี 2566 สามารถลดการใช้พลังงานทั้งหมด 5,101 MWh หรือ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 2,051 tCO2e หรือหากเทียบกับโครงการกรุงเทพปิดไฟ (Earth Hour 2024) 1 ชั่วโมง เท่ากับ 186 ชั่วโมง และช่วง 6 เดือนแรกในปี 2567 บริษัทลดการใช้พลังงานได้ถึง 2,883 MWh ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 1,313 tCO2e หรือหากเทียบกับโครงการกรุงเทพปิดไฟ 1 ชั่วโมง เท่ากับ 119 ชั่วโมง นับเป็นส่วนสำคัญในภาคการผลิตไฟฟ้าที่ช่วยขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำ
อย่างไรก็ตามบริษัทมีความมุ่งมั่นในการเดินหน้าสู่เป้าหมายตามแผนงาน CKP NET ZERO EMISSIONS 2050 เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรที่สามารถปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 โดยการดำเนินงานที่สำคัญที่ทำให้ ซีเค พาวเวอร์ บรรลุเป้าหมาย คือ การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตไฟฟ้า บริษัทได้วางแผนระยะยาวมุ่งเน้นขยายการลงทุนในโครงการที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น การศึกษาการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงไฮโดรเจนผสมก๊าซธรรมชาติในโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม สอดรับกับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานของไทยตามร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2567 - 2580 (PDP2024) และ 6 เดือนแรกในปี 2567 บริษัทสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในการผลิตไฟฟ้าได้ดีกว่าเป้าหมาย 0.86%
นอกจากการบริหารจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าแล้ว บริษัทได้มีการปรับใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนภายในองค์กรเพิ่มขึ้น เช่น การเปลี่ยนมาใช้รถที่ใช้พลังงานไฟฟ้าและรถไฮบริดในการขนส่งภายในสำนักงานและโรงไฟฟ้าในเครือฯ
“เมื่อสองปีที่ผ่านมา ซีเค พาวเวอร์ ได้มีการเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เรามีกำลังการผลิตติดตั้งจากพลังงานหมุนเวียนที่ 89% วันนี้ เราสามารถเพิ่มสัดส่วนกำลังการผลิตจากพลังงานหมุนเวียนได้ถึง 93% รวมถึงผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดส่งให้กับประเทศไทยประมาณ 8.5 ล้านเมกะวัตต์-ชั่วโมง หรือประมาณ 17% ของไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดที่ใช้ในประเทศไทย ทั้งนี้ ในปี 2566 บริษัทฯ ช่วยหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึงประมาณ 4.4 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า” นายธนวัฒน์ กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
CKPower แข็งแกร่ง กวาดรายได้กว่า 8 พันล้านใน 9 เดือนแรก รับอานิสงส์บวกจากปัจจัยฤดูกาล
นายธนวัฒน์ ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ CKPower (ชื่อย่อหลักทรัพย์: CKP) หนึ่งในผู้นำในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคและมี
'ปชน.' ชงข้อเสนอรัฐบาล ประชุมโลกร้อน 'COP29' เร่งปรับมาตรการเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero
'ปชน.' ชงข้อเสนอ รัฐบาล ในการประชุมโลกร้อน 'COP29' แนะเร่งปรับมาตรการเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero ให้เป็นรูปธรรม-ดันร่าง พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้เกิดขึ้นภายในครึ่งปีหน้า
เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย จับมือ TOA เดินหน้าพิชิต Net Zero มุ่งใช้นวัตกรรมสีรักษ์โลกลดก๊าซเรือนกระจก (GHG) ยกระดับที่อยู่อาศัย เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
“เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย” ผู้นำการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัยอย่างยั่งยืน จับมือพันธมิตร “TOA” ผู้นำเบอร์หนึ่งในตลาดสีทาอาคาร เคมีภัณฑ์ก่อสร้าง
บีทีเอส กรุ๊ปฯ มุ่งมั่นลดก๊าซเรือนกระจกได้รับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ CALO ประจำปี 2567
บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส กรุ๊ปฯ โดย ดร.นลินรัตน์ มาสมบูรณ์ ผู้จัดการฝ่ายอาวุโสฝ่ายพัฒนาเพื่อความยั่งยืน
CKPower เผยงบ Q2/2567 รายได้ 2,621 ล้านบาท พร้อมกำไรจากการดำเนินงาน และฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง
นายธนวัฒน์ ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ CKPower (ชื่อย่อหลักทรัพย์: CKP) หนึ่งในผู้นำในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่