นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการความมั่นคงอาหารโลก ครั้งที่ 52 ระหว่างวันที่ 21 - 25 ตุลาคม 2567 ณ สำนักงานใหญ่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กรุงโรม สาธารณรัฐอิตาลี โดยมี Ms. Nosipho Nausca-Jean Jezile เป็นประธานการประชุม พร้อมผู้แทนจากประเทศสมาชิก 121 ประเทศ และผู้แทนจากหน่วยงานขององค์การสหประชาชาติ ภาคเอกชน และองค์กรภาคประชาสังคม ร่วมกันหารือในหัวข้อ สร้างความแตกต่างในด้านความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ มุ่งเน้นการผลักดันนโยบายการเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหาร สิทธิในอาหาร การส่งเสริมบทบาทของสตรี และการเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการของชุมชน ชนบทและเมือง และทาง Mr. Alvaro Lario ประธานกองทุนระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม (IFAD) ได้กล่าวเปิดการประชุม โดยเรียกร้องให้ทั่วโลกเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาความไม่มั่นคงด้านอาหารอย่างเร่งด่วน ส่งเสริมการเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย ราคาไม่แพง เพียงพอ ให้แก่ประชากรโลกอย่างเท่าเทียม อีกทั้ง IFAD ยังมีแผนที่จะลงทุนกว่า 10 พันล้านดอลลาร์ในการพัฒนาภาคเกษตรในพื้นที่ชนบท เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและความสามารถในการฟื้นตัวและการมีภูมิคุ้มกันต่อความท้าทายปัจจุบันให้แก่เกษตรกรด้วย
Mr. Qu Dongyu ผู้อำนวยการใหญ่ของ FAO ได้เน้นย้ำถึงโอกาสสำคัญของการประชุมในครั้งนี้ โดยเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปีของการประชุม CFS และการครบรอบ 20 ปี ของการรับรองเอกสารแนวทางปฏิบัติของ CFS เกี่ยวกับการตระหนักถึงสิทธิในอาหาร ในบริบทของความมั่นคงด้านอาหาร โดยกล่าวว่า ในปัจจุบันพบว่า มีประชากรกว่า 713 - 757 ล้านคนทั่วโลกที่ยังคงเผชิญกับความอดอยาก ซึ่งคิดเป็น 1 ใน 11 ของประชากรโลกทั้งหมด และมีอีก 2.33 พันล้านคนที่อยู่ในภาวะขาดแคลนอาหาร นอกจากนี้ ทั่วโลกต้องให้ความร่วมมืออย่างเข้มแข็ง โดยเฉพาะภาครัฐ ภาคประชาสังคม และองค์กรระหว่างประเทศ เช่น FAO, IFAD และ โครงการอาหารโลก (WFP)เพื่อสร้างนโยบายที่มีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อความต้องการของเกษตรกรและกลุ่มเปราะบางทั่วโลกอย่างแท้จริง
ด้าน นางสาวหิรัญญา สระสม ผู้อำนวยการกองเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้เป็นผู้แทนนำเสนอแนวทางการส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศในภาคการเกษตร สร้างความเข้มแข็งให้แก่กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ผ่านโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งในชุมชน ซึ่งส่งผลให้กลุ่มแม่บ้านจาก 77 จังหวัดของประเทศไทยมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งการสนับสนุนการสร้างแหล่งอาหารต้นแบบและการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในชุมชน อีกทั้ง ได้ชูปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประยุกต์ร่วมกับการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ การปลูกพืชสมุนไพรเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพและโภชนาการ ตลอดจนความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการผลักดันกฎหมายการถือครองกรรมสิทธิ์ การคุ้มครองพื้นที่ทางการเกษตร การเสริมสร้างความมั่นคงทางอาชีพ อันนำไปสู่ความมั่นคงอาหารในระดับครัวเรือนและชุมชนต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กระทรวงเกษตรฯ เคาะช่วยชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 10 ไร่! วงเงิน 3.8 หมื่นล้าน
ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จากกรณีมติของที่ประชุมคณะอนุกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติด้านการผลิตครั้งที่
กษ.คิกออฟโครงการเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มต่ำ
นายอัครา พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธาน Kick Off “โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำในพื้
'นฤมล' ลุยอุดรธานี Kick off 'โครงการชะลอการขายยาง'
นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดโครงการ Kick Off ชะลอการขายยาง ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมี ผู้บริหารสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นางรณิดา
กระทรวงเกษตรฯ เร่งแก้ปัญหาราคาสัตว์น้ำตกต่ำ ผลักดันรับซื้อสัตว์น้ำกลุ่มปลาโอ 50,000 ตัน
นายเอกภาพ พลซื่อ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ฝ่ายการเมือง) กล่าวว่า กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมประมง เร่งแก้ไขปัญหาราคาสัตว์น้ำตกต่ำ
รมว.เกษตรฯ เคาะเพิ่ม 'โกโก้' พืชเศรษฐกิจ ในกำกับคณะอนุกรรมการพืชสวน
นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการ
ชาวนาเฮ! กนช. เตรียมประกาศพื้นที่ทำนาปรังรวม 12 ล้านไร่ เกษตรกรได้ปลูกข้าวเพิ่ม
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ครั้งที่ 5/2567