นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้กำหนดให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างทำงานในสถานประกอบการตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป หรือกรณีมีลูกจ้างเข้าทำงานใหม่ นายจ้างต้องแจ้งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส.1-03) ต่อสำนักงานประกันสังคม โดยนายจ้างที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครให้ยื่นแบบที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ สำหรับนายจ้างที่มีสำนักงานใหญ่ในส่วนภูมิภาค ให้ยื่นแบบขึ้นทะเบียนได้ที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัด/สาขา ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ซึ่งนายจ้างมีหน้าที่ต้องขึ้นทะเบียนลูกจ้างเป็นผู้ประกันตนภายใน 30 วัน นับจากวันที่รับลูกจ้างเข้าทำงาน กรณีที่มีลูกจ้างลาออกจากงาน ให้นายจ้างยื่นแบบแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน (สปส.6-09) พร้อมระบุสาเหตุการออกจากงาน หรือกรณีที่ผู้ประกันตนเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริง ให้นายจ้างยื่นแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงผู้ประกันตน (สปส.6-10) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ผ่านระบบ e-Service ที่ www.sso.go.th ของสำนักงานประกันสังคมได้ทันที
นางมารศรี กล่าวย้ำต่อไปว่า สำนักงานประกันสังคมขอความร่วมมือนายจ้าง รีบดำเนินการแจ้งขึ้นทะเบียนและแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้ข้อมูลผู้ประกันตนในระบบฐานทะเบียนเป็นปัจจุบัน และเพื่อให้ลูกจ้างได้รับสิทธิความคุ้มครองตามกฎหมายประกันสังคม ซึ่งหากพบนายจ้างมีเจตนาหลีกเลี่ยงหรือล่าช้า สำนักงานประกันสังคมจะดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขาทั่วประเทศ หรือที่สายด่วน 1506 ให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“บุญสงค์”ปลัดแรงงาน เข้ารับตำแหน่งวันแรก แถลงมุ่งผลักดันนโยบาย ปี 68 สร้างความเชื่อมั่น ยอมรับ ไว้วางใจ สนับสนุนความเป็นธรรมแก่คนทำงานทุกภาคส่วน
วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เวลา 14.00 น. นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวแถลงนโยบายกระทรวงแรงงานและแนวทางการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ต่อสื่อมวลชน ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน ว่า กระทรวงแรงงาน
เช็กสิทธิกรณีว่างงาน กรณีไหนบ้างได้รับเงินทดแทน หากผู้ประกันตนถูกเลิกจ้าง ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญา
ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 เป็นลูกจ้างที่ได้รับสิทธิประโยชน์ความคุ้มครอง 7 กรณี โดยเฉพาะในกรณีผู้ประกันตนที่ถูกเลิกจ้าง ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญา สำนักงานประกันสังคมจะยังคงคุ้มครองผู้ประกันตนให้ได้รับสิทธิประโยชน์ต่อเนื่องเป็นเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีว่างงาน
สปส. ปลื้มรับ 12 รางวัล มาตรฐานศูนย์ราชการสะดวก (GECC) ประจำปี 2567
สำนักงานประกันสังคม (สปส.) คว้าโล่และตรารับรองมาตรฐานการให้บริการของศูนย์ราชการสะดวก (GECC) (Government Easy Contact Center : GECC) ประจำปี พ.ศ. 2567 จำนวน 12 ศูนย์ ได้แก่ ระดับก้าวหน้า 1 ศูนย์ และระดับพื้นฐาน 11 ศูนย์ จากการบริการประชาชนให้ได้รับความสะดวก
สปส. คุ้มครองผู้ประกันตนกรณีตาย ทายาทได้สิทธิรับค่าทำศพและเงินสงเคราะห์
สำนักงานประกันสังคม คำนึงถึงสิทธิประโยชน์การคุ้มครองชีวิตของผู้ประกันตนทุกคน ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การเกิด แก่ เจ็บและตาย โดยหากผู้ประกันตนประสบเหตุไม่คาดคิดจนทำให้ถึงแก่ความตาย
พิพัฒน์ เรียกร้องนายจ้าง เห็นใจลูกจ้าง ขึ้นค่าแรง 400 บาท วอนเข้าร่วมประชุมไตรภาคี พรุ่งนี้ 13.30 น. แย้ม ก.คลัง เห็นด้วยมาตรการบรรเทาผลกระทบนายจ้าง
วันที่ 19 กันยายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงความคืบหน้าการขึ้นค่าแรง 400 บาทว่า ในวันพรุ่งนี้ (20 ก.ย.67) เวลา 13.30
สปส. คว้ารางวัลเลิศรัฐ ด้านการนำองค์การและความรับผิดชอบต่อสังคม ประจำปี 2567
นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม พร้อมด้วยนางสาวนันทินี ทรัพย์ศิริ ที่ปรึกษาด้านประสิทธิภาพสำนักงานประกันสังคม เข้าร่วมรับรางวัลเลิศรัฐ “สาขาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ หมวด 1