นักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร คว้ารางวัลโครงการริเริ่มด้านการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมระดับเอเชีย

คณะนักศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จากหลักสูตรสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและสภาพแวดล้อมสรรค์สร้าง และหลักสูตรนานาชาติ สาขาวิชาการจัดการมรดกสถาปัตยกรรม อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และการท่องเที่ยว ได้เตรียมข้อเสนอโครงการว่าด้วยการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมบนโลกร่วมสมัยเพื่อส่งผ่านคุณค่าไปยังอนาคตและตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีข้อเสนอโครงการจำนวนกว่า 100 โครงการจากทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย และคณะนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากรได้รับการคัดเลือกเข้ารอบการนำเสนอจำนวน 2 โครงการ ให้ได้รับทุนสนับสนุนให้เดินทางไปนำเสนอที่ Asian Cultural Heritage Youth Forum 2024 ระหว่างวันที่ 1-5 ตุลาคม พ.ศ. 2567 ซึ่งในปีนี้ เมืองกูจิง รัฐซาราวัค สหพันธรัฐมาเลเซียเป็นเจ้าภาพ โดยมีข้อเสนอโครงการจำนวน 20 โครงการ เยาวชนจากภูมิภาคเอเชียจาก 22 ประเทศ จำนวน 100 คน เข้าร่วมการนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ในโครงการริเริ่มเพื่ออนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมที่อยู่ในภาวะเสี่ยงให้ยังคงรักษาคุณค่า และส่งผ่านต้นทุนไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ในอนาคต ภายใต้การสนับสนุนและความร่วมมือระหว่าง China Cultural Relics Protection Foundation, Swinburne University of Technology, Fudan University, Sun Yat-Sen University, UNESCO Chair on Sustainable Tourism in UNESCO Designated Site และ Ministry of Tourism, Cretive Industry and Performing Arts Sarawak, Malaysia

ทั้งนี้ นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งประกอบด้วยนักศึกษาไทย จีน เวียดนาม ญี่ปุ่น ภูฐาน ที่เรียนที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร. เกรียงไกร เกิดศิริ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา และจากการนำเสนอข้อเสนอโครงการต่อสาธารณชนที่พิพิธภัณฑ์แห่งบอเนียว ได้รับรางวัล 2 รางวัล คือ รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 และรางวัลข้อเสนอโครงการดีเด่นด้านความคิดสร้างสรรค์ในการอนุรักษ์ โดยมีรางวัล 20000 ริงกิตมาเลเซีย หรือประมาณ 150,000 บาท เพื่อให้เยาวชนที่ได้รับรางวัลได้พัฒนาโครงการริเริ่มนั้นให้เป็นจริงในอนาคต โดยรับรางวัลจาก โดยเข้ารับรางวัลจาก Dato Gerald Rentap Jabu, รัฐมนตรีว่าการกระทรวง เยาวชน กีฬา และการพัฒนาผู้ประกอบการ (Ministry of Youth, Sports, and Entrepreneur Development) รัฐซาราวัค (Sarawak) สหพันธรัฐมาเลเซีย

โครงการที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ คือ “From Local Wisdom to a Sea Salt-Based Construction Materials Economy for Intergenerational Sustainability” ที่มีเป้าหมายในการทำงาน 2 มิติ คือ การรักษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมและอุตสาหกรรมการผลิดเกลือทะเลแบบโบราณที่จังหวัดสมุทรสงคราม และการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อสร้างโอกาสให้กับชุมชนท้องถิ่น ด้วยการสร้างด้วยข้อเสนอโครงการเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมการผลิตวัสดุก่อสร้างจากเกลือ ตลอดจนวัสดุเหลือใช้ และขยะจากท้องทะเล ซึ่งมีคณะทำงาน คือ ภูมิภัทร์ นรภูมิพิภัชน์, ณัฐกร อุตรารัชต์กิจ, เกียรติศักดิ์ เพ็งเล็งดี , Pham Le Gia Huy, และSainan Han

รางวัลข้อเสนอโครงการดีเด่นด้านความคิดสร้างสรรค์ในการอนุรักษ์ ในโครงการชื่อ "The Local Wisdom in Community Based Establishment” ซึ่งเป็นโครงการที่มุ่งสร้างแพลทฟอร์มความร่วมมือในการอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่ตกอยู่ในความท้าทายในระดับสากล เพื่อให้ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม และสภาพแวดล้อมสรรค์สร้างพื้นถิ่น ที่ในปัจจุบันอยู่ในสภาวะเสี่ยงได้ทำหน้าที่เป็นแหล่งเรียนรู้แบบสหวิทยาการของคนรุ่นใหม่ และสร้างให้เกิดโอกาสในการอนุรักษ์มรดกสภาพแวดล้อมสรรค์สร้างพื้นถิ่นบนฐานของความร่วมมือในระดับสากล ซึ่งมีคณะทำงาน คือ  จอมขวัญ สุวรรณานนท์, กุลธิดา โพนิมิต, ศศิกานต์ ชายทวีป, Eisuke Shoji และ Thinley Jamtsho Tshering

ทั้งนี้ กุลธิดา โพนิมิตร แสดงทัศนะว่า “จากการร่วมงาน Asian Cultural Heritage Youth Forum 2024 ที่ซาราวัก มาเลเซีย ครั้งนี้ รู้สึกประทับใจเป็นอย่างมาก การเดินทางครั้งนี้ทำให้ได้รับโอกาสและความรู้มากมาย ได้มีโอกาสในการแลกเปลี่ยนและสนทนากับเพื่อนๆต่างชาติต่างภาษา ได้รู้จักวัฒนธรรมและภาษาของชาติอื่น ได้เห็นวิธีคิดและมุมมองที่แตกต่างกัน รวมไปถึงการได้เห็นวัฒนธรรมและการเป็นอยู่ของผู้คนในเมือง ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีอย่างยิ่ง ที่ได้เปิดโลกทัศน์ให้กว้างไกลและเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นอย่างเคารพในความหลากหลายทางวัฒนธรรม และเป็นพลเมืองโลกที่ร่วมกันขับเคลื่อนโลกไปบนฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน”

ณัฐกรณ์ อุตรารัชกิจ แสดงทัศนะว่า “การเข้าร่วมกิจกรรมเยาวชนมรดกวัฒนธรรมแห่งเอเชีย 2024 ที่ ซาราวัก มาเลเซีย ถือเป็นโอกาสที่ดีที่สุดในชีวิตครั้งหนึ่งและความสำเร็จขั้นเริ่มต้นของโครงการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมชาวนาเกลือ เป็นผลมาจากการได้ก้าวออกจากกรอบความคิดของตัวเองสู่ความเป็นสากล การได้รับฟังคอมเม้นต์ของคณะกรรมการนานาชาติและความสำเร็จครั้งนี้ จุดประกายให้โครงการเพื่อชาวนาเกลือที่จะเกิดขึ้นจริงในอนาคต ขอขอบคุณ Asian Cultural Heritage Foundation ที่มอบโอกาสให้ได้พิสูจน์ความคิดต่อความเป็นสากล ความร่วมมือจากชุมชน สมาชิกในกลุ่มที่ยอดเยี่ยม และผู้จัดกิจกรรมเยาวชนมรดกวัฒนธรรมแห่งเอเชีย หากขาดการสนับสนุนดังกล่าวคงมิอาจประสบความสำเร็จไปได้”

เกียรติศักดิ์ เพ็งเล็งดี “การได้รับโอกาสเดินทางที่เมืองกูจิง มาเลเซีย ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดกับผู้เข้าร่วมจากประเทศต่างๆ และเรียนรู้วิถีวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของพื้นที่ ตลอดจนได้เรียนรู้มรดกสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนยาวที่เป็นตัวอย่างที่หาได้ยากยิ่งในปัจจุบัน ทำให้เกิดความรัก ความเข้าใจ และการเคารพในความหลากหลายทางวัฒนธรรมของผู้คน”

Pham Le Gia Huy แสดงทัศนะว่า “การเข้าร่วมในกิจกรรมในครั้งนี้ ทำให้มีโอกาสได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอดจนความคิดเห็น และข้อแนะนำอันมีค่าจากผู้เชี่ยวชาญและเพื่อนร่วมงานจากต่างประเทศ ซึ่งจะนำไปประยุกต์ใช้กับงานมอบหมายและงานวิจัยในอนาคตได้ นอกจากนี้ยังได้สร้างมิตรภาพระหว่างประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย เพื่อร่วมกันสร้างความร่วมมือในอนาคตในการอนุรักษ์ และการส่งผ่านคุณค่าของมรดกวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ประสบการณ์ในครั้งนี้จึงน่าตื่นเต้น สร้างสรรค์ และน่าจดจำอย่างแท้จริง ซึ่งต้องขอขอบคุณผู้จัด และเพื่อนในคณะทำงานที่มุ่งมั่นในการทำงานที่ทำให้พวกเราประสบความสำเร็จในครั้งนี้”

Students from Silpakorn University Awarded the 2024 Asia Cultural Heritage Conservation Initiative Award

.

Students from Faculty of Architecture at Silpakorn University, particularly those in the Vernacular Architecture and Built Environment program and the International Program in Architectural Heritage Management, Creative Industries, and Tourism, have developed a project proposal focusing on the conservation of cultural heritage in the context of today. Their mission is to safeguard its value of cultural heritage for future generations and address the challenge of sustainable development. The Asian Cultural Heritage Youth Forum 2024, scheduled for October 1–5, 2024, featured more than 100 project proposals from several Asian countries. This year, Kuching, Sarawak, Malaysia, was the venue for the event. Twenty project proposals were submitted, and 100 youths from 22 Asian countries showcased their unique concepts for safeguarding endangered cultural heritage, maintaining its significance, and promoting sustainable development in the future with the endorsement and collaboration of the China Cultural Relics Protection Foundation, Swinburne University of Technology, Fudan University, Sun Yat-Sen University, the UNESCO Chair on Sustainable Tourism in a UNESCO-designated site, and the Ministry of Tourism, Creative Industry, and Performing Arts of Sarawak, Malaysia.

.

Furthermore, students from Silpakorn University, comprising Thai, Chinese, Vietnamese, Japanese, and Bhutanese students, pursued their studies at Faculty of Architecture under the supervision of Associate Professor Dr. Kriengkrai Kirdsiri. They received two honors after presenting their project proposal to the public at the Museum of Borneo: the first prize and the Outstanding Project Proposal Award for Creative Conservation. The recipients of these honors will receive a prize of 20,000 Malaysian ringgit, which is equivalent to approximately 150,000 baht. Dato Gerald Rentap Jabu, the Minister of Youth, Sports, and Entrepreneur Development of Sarawak, Malaysia, presented the award.

.

The winning proposal, "From Local Wisdom to a Sea Salt-Based Construction Materials Economy for Intergenerational Sustainability," aims to protect the cultural landscape and the traditional sea salt industry in Samut Songkhram Province, while simultaneously fostering the development of new products that will create opportunities for local communities. A project proposal for research and innovation in the creation of construction materials from salt, waste materials, and marine trash achieves this objective. The team comprises Poomipat Norapoompipat, Phạm Lê Gia Huy, Natthakorn Utraratchkij, Kiadtisack Penglengdee and Sainan Han.

.

"The Local Wisdom in Community-Based Establishment," aiming to create a collaborative platform for the preservation of local architectural heritage amidst global issues, won the best proposal award and was recognized for its exceptional project proposal in conservation innovation. This platform seeks to serve as an interdisciplinary educational resource for the new generation and facilitate opportunities for the preservation of vernacular architectural heritage through international collaboration. The working group comprises Chomkhwan Suvarnananda, Kulthida Pothimit, Sasikarn Chaitaweep, Eisuke Shoji and Thinley Jamtsho Tshering.

.

Kulthida Pothimit articulated her sentiments, stating, "I am profoundly impressed after attending the Asian Cultural Heritage Youth Forum 2024 in Sarawak, Malaysia. This journey has provided me with numerous possibilities and insights. I got the opportunity to converse and engage with friends from other countries and languages. I also became acquainted with the cultures and languages of various nations. I noted many perspectives and modes of thought, encompassing the cultures and lifestyles of urban inhabitants. The experience was enriching, expanding my perspectives, and instilling in me the importance of coexisting with respect for cultural variety while fostering my identity as a global citizen committed to sustainable development.”

.

Natthakorn Utraratchkij articulated that, "participating in Asian Cultural Heritage Youth 2024 in Sarawak, Malaysia, was among the most significant opportunities of my life. The initial success of the Salt Farmers Cultural Heritage Conservation Project stemmed from transcending my own perspective to engage with the international community, listening to feedback from the international professor and expert. This achievement has motivated the forthcoming Salt Farmer Project. I extend my gratitude to the Asian Cultural Heritage Foundation for affording me the opportunity to showcase my universality, the collaboration of the community, the exemplary group members, and the organizers of the Asian Cultural Heritage Youth Event. This would not have been possible without such help.”

.

Kiadtisack Penglengdee "I traveled to Kuching, Malaysia, where I exchanged ideas with participants from various countries and learned about the local culture, history, and the unique examples of longhouse architectural heritage. This has fostered affection, comprehension, and esteem for the cultural diversity of individuals.”

.

Pham Le Gia Huy expressed, “Engaging in this activity afforded me the opportunity to acquire new knowledge, valuable knowledge, and suggestions from experts and peers internationally, which I will implement in my future responsibilities and research.”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'จารึกพบที่ปราสาทพนมรุ้ง' พระราชนิพนธ์กรมสมเด็จพระเทพฯ

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  พระราชทาน พระราชานุญาตให้มหาวิทยาลัยศิลปากรจัดพิมพ์พระราชนิพนธ์ “ปราสาทพนมรุ้ง และจารึกพบที่ปราสาทพนมรุ้ง” เผยแพร่   ในโอกาสนี้ มหาวิทยาลัยศิลปากรจัดงานแถลงข่าวเปิดตัวหนังสือ “ปราสาทพนมรุ้ง และจารึกพบที่ปราสาทพนมรุ้ง”

“จุดประกายความหวัง จุดพลังชีวิต” คุณค่าศิลปะ ที่ไม่ควรมองข้าม

ศิลปะ หรือ ความคิดสร้างสรรค์ที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยมีเจตจำนงค์ในการถ่ายทอดทั้งความรู้สึก อารมณ์ ทัศนคติ ธรรมชาติ และ ความงดงาม หรือแม้กระทั่ง