ขับเคลื่อน"กระเป๋านักรบ"สร้างสุขภาวะ Life Long Learning...รู้ป้องกันโรค

นับเป็นความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจอีกคำรบหนึ่ง ในการขยายเครือข่ายส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ของเยาวชน ด้วยการแบ่งปันความรู้ด้านสุขภาวะสร้างวัฒนธรรมการอ่าน ผ่านห้องสมุดประชาชนทั่วไทย เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ส่งเสริมการมีสุขภาวะที่ดีมีอายุยืน โดยระดมพล "ครูบรรณารักษ์" มาเป็นสื่อกลางในการขับเคลื่อน ให้เข้าถึงประชาชนกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสัมฤทธิผล

ก่อนหน้านี้ ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ โดยกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้สร้างเครือข่ายสร้างปัญญา ด้วยการผลิตสื่อบรรจุหนังสือดีในกระเป๋าเดินทาง  ทำหน้าที่เสมือนห้องสมุดเคลื่อนที่ ที่เรียกว่า Healthy Book มอบให้แก่เครือข่ายห้องสมุด จำนวน 30 แห่ง  ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุดสาธารณะ ห้องสมุดสถานศึกษา โรงพยาบาล และแหล่งเรียนรู้สุขภาวะ 

ล่าสุด เพื่อให้ "กระเป๋าเดินทาง" Healthy Book ทำงานได้เต็มพิกัด และสอดคล้องกับโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง สสส.ได้จับมือกับ กรมส่งเสริมการเรียนรู้ (สกร.) ลงนามความร่วมมือในโครงการสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต และอบรมการสร้างสรรค์กิจกรรมเติมสุข (ภาวะ) สำหรับเด็กวัยเรียนและเด็กกลุ่มที่หลุดจากระบบการศึกษา อีกทั้งประชาชนที่พลาดโอกาสทางการศึกษาได้ใช้ Life Long Learning ผ่านพื้นที่ห้องสมุดประชาชน โดยมีครูบรรณารักษ์จำนวน 200 คนเข้าร่วมอบรมผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Meeting) เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในโครงการดังกล่าว เพราะ "ครูบรรณารักษ์" ถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะนำพาอาวุธความรู้ในกระเป๋าเดินทางไปเผยแพร่ต่อชุมชน 

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการ สสส. เปิดเผยว่า การเรียนรู้ทำให้มนุษยชาติครองโลกได้ อาศัยการเรียนรู้ในการพัฒนาความอยู่ดีมีสุข ใช้ชีวิตเพื่อดูแลซึ่งกันและกันในสังคม การเรียนรู้ตลอดชีวิตมีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาสังคมไทย การเรียนรู้จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เราจะใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างยาวนานที่สุด สุขภาพดีไม่เจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ สามารถทำประโยชน์ให้สังคมและตัวเอง สุขภาวะแห่งความสุขเป็นสิ่งสำคัญไม่น้อยกว่าการเรียนรู้ใดๆ สกร.และ สสส.สานพลังเพื่อนำพลังครูที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ ศูนย์วิทยาศาสตร์ ห้องสมุดประชาชน 928 แห่งทั่วไทย

“สสส.มีเจ้าหน้าที่ 200 คน ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะมีหน้าที่ผลิตอาวุธ อุปกรณ์ใช้ในการสร้างระบบการเรียนรู้ การทำเกมเรียนรู้เพื่อให้มีการปฏิสัมพันธ์ ป้องกันโรค NCDs เผยแพร่ความรู้ที่ถูกต้องเข้าไปสู่วัยรุ่น เรามีอุปกรณ์เครื่องมือสนับสนุนขุนพลให้เป็นกระบอกเสียงบรรณารักษ์ในห้องสมุด สร้างการเรียนรู้เป็นการสานพลังที่สำคัญ"

ผู้จัดการ สสส.กล่าวด้วยว่า ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ เสมือนหนึ่งการตลาดในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม สื่อเป็นเกม อุปกรณ์ ภาพจำที่จับต้องสัมผัสได้ กระจายเข้าสู่ชุมชนในชนบทได้ทุกแห่ง เมื่อก่อนทำงานกับศูนย์วิทยาศาสตร์ในกรมส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งหมด 12 ศูนย์ ต่อไปจะลงให้ลึกเข้าไปถึงห้องสมุดโรงเรียน การจัดนิทรรศการรู้ซึ้งถึงพิษภัยบุหรี่ไฟฟ้า แอลกอฮอล์ เพื่อฝังเข้าไปในจิตสำนึก ดักทางไว้ก่อนเพื่อป้องกันไม่ให้เด็กและเยาวชนอยากทดลองสูบบุหรี่ไฟฟ้า เพราะถ้าทดลองจนติดแล้วโอกาสเลิกยากมาก จะเห็นได้ว่าบางคนเรียนจบปริญญาเอก แต่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อสารเสพติด

“เราต้องยึดหลักยาเสพติดไม่ควรเข้าไปยุ่ง ไม่ได้เป็นเรื่องยัดเยียด ไม่ใช่การบังคับ แต่ต้องอบรม หยิบยื่นด้วยการนำนิทานมาอ่าน การให้ซึมซับความรู้บ่อยๆ จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้รู้เท่าทัน เกิดความตระหนักรู้ได้”

สสส.มีหลายสำนัก 12 ศูนย์ มีการผลิตเครื่องมือการสอนอยู่ภายในกระเป๋านักรบเดินทางใบใหญ่ ใบเล็ก อาทิ ปอดเทียมแบบขยายใหญ่ สื่อโมบายเพื่อให้ สกร.หยิบยืมไปใช้เพื่อกระจายความรู้พัฒนาระบบสุขภาพ เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ การใช้ชีวิตให้ยืนยาวอย่างมีความสุข ครูบรรณารักษ์นำชุดความรู้ไปเผยแพร่ทั้งในระบบและนอกระบบ ทำให้เด็กอยากเรียนส่งต่อความรู้ไปถึงพ่อแม่ ครูบรรณารักษ์อยู่ในพื้นที่ทำงานให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาวะเพื่อเผยแพร่เข้าถึงเด็กเยาวชนได้เป็นอย่างดี สสส.ไม่มีกำลังคนที่จะเข้าไปทำงาน หากเพิ่มกำลังคนก็เป็นงานซ้ำซ้อน ส่วนพื้นที่ไหนจะนำร่องก่อนนั้นจะต้องมีการหารือกับอธิบดี ว่าห้องสมุดใดมีผู้เข้าใช้จำนวนมากและเข้าร่วมกิจกรรมสม่ำเสมอ ก็จะได้รับการคัดเลือกให้นำร่องก่อน ทั้งนี้คาดหวังด้วยว่าห้องสมุดใดส่งเสริมการเรียนรู้ก็จะมีการวิเคราะห์การลงทุน

“กระเป๋านักรบนำไปเผยแพร่ความรู้ในโรงพยาบาล มีอสม. เราผลิตกระเป๋านักรบที่ติดอาวุธราคาแพงหลักหมื่น อุปกรณ์บางชิ้นต้องเย็บด้วยมือ อุปกรณ์บางชิ้นเป็นบอร์ดเกม กว่าจะเป็นเครื่องมือได้ต้องผ่านการอบรมจนตกผลึก เพื่อจัดทำการผลิตสื่อความรู้ ต้องทำให้สวย น่าสนใจ ขณะเดียวกันก็ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ ภาคเอกชนจะมีมืออาชีพในการดีไซน์อย่างดี” นพ.พงศ์เทพชี้แจงถึงกระเป๋านักรบ การเผยแพร่ความรู้ในเชิงรุก

ครู สกร.จะรู้ว่าคนในชุมชนไม่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน จะนำสื่อโรค NCDs ไปเผยแพร่ ในบางแห่งก็ต้องมีการพิจารณา ไม่เหมาะสมกับในบางพื้นที่ เพราะพื้นที่นี้ส่วนใหญ่ป่วยด้วยโรคแผลติดเชื้อ ก็ต้องนำสื่อความรู้ที่เกี่ยวข้องกับชุมชนโดยตรง จะได้เป็นการป้องกันและรักษาได้ตรงจุด

อย่างไรก็ตาม ทุกที่จะต้องให้ความรู้และอบรมอันตรายจากบุหรี่ไฟฟ้า The Must เป็นธงนำ หาทางป้องกันไม่ให้เด็กเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าได้ง่าย เรื่องยาเสพติดเมื่อติดไปแล้วจะเลิกได้ยากมาก การติดอาวุธทางด้านสุขภาพ Persona health ดาวน์โหลดข้อมูล ทุกวันนี้การเก็บข้อมูลเป็น digital file เก็บไว้ในระบบ cloud เมื่อถึงเวลาก็สั่งปรินต์เอกสาร ขณะนี้สถาบันยุวทัศนฯ ทำงานได้ดี จัดนิทรรศการเพื่อให้ความรู้ในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเยาวชน ผู้คนในสังคมได้อย่างดี

นายธนากร ดอนเหนือ อธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ (สกร.) เปิดเผยว่า สสส.ผลิตสื่อที่จำเป็นเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข ตั้งแต่การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย สกร.มีครูทุกตำบลสามารถนำเครื่องมือที่ สสส.ผลิตไปจัดกิจกรรม เพื่อเผยแพร่โอกาสให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งความรู้ เท่ากับว่า สสส.ให้โอกาส สกร.นำสื่อเข้าถึงประชาชน เป็นการลดช่องว่างสร้างความเท่าเทียมแก่ประชาชนทุกกลุ่มอาชีพ  เป้าหมายให้เข้าถึงสื่อการเรียนรู้อย่างเท่าเทียมกัน คนมาใช้ก็ปักหมุดไปที่ห้องสมุด จัดกิจกรรมทุกสัปดาห์ อาทิ ห้องสมุดเฉลิมราชกุมารี กาญจนบุรี ทำงานร่วมมือกับกรมศิลปากร มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลนำไปสู่ชาวบ้านที่ห่างไกลความเจริญ ขณะนี้เมืองไทยมีครูบรรณารักษ์ 1,115 คนทำหน้าที่นี้ได้เป็นอย่างดี

“กรมส่งเสริมการเรียนรู้จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย ทุกแห่ง ทุกวัย มีทางเลือกในการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับการศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนรู้ด้านสุขภาวะ การบูรณาการส่งเสริมการเรียนรู้ ส่งต่อองค์ความรู้ 4 มิติ กาย จิต สังคม ปัญญา  สอดคล้องกับหน่วยพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้ พัฒนาบุคคลมีความสมบูรณ์ทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม เป็นคนดีมีวินัยควบคู่กับการมีหน้าที่ คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม รู้จักความพอเพียง มีภูมิคุ้มกันที่ดี รอบคอบ มีคุณธรรม มีสำนึกรับผิดชอบ ใช้ชีวิตอยู่กับสังคมได้เป็นอย่างดี เป็นการเรียนที่มีความยืดหยุ่นสูง” นายธนากรกล่าว

ภายในกระเป๋านักรบ “Healthy Book : อ่านเพื่อสุขภาพดี” มีสาระที่นำเสนอผ่านสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ Club Fat Day ศาลาคนอ้วน, โรคาฮาเฮ, ยิ่งอ้วนยิ่งรวย, ชีวิตใหม่ ไร้พุง (ทั้งสองเล่ม), รักไร้ควัน, ดื่ม…ดับ, His & Her, พยาธิตัวเล็กฯ, ชุมชนน่าอยู่, Wish, แอลกอฮอล์ในมุมมองระบาดฯ, เครื่องมือสร้างปัญญาฯ, คู่มือบ้านใจดี, ชีวิตดีๆ มีได้ทุกวัน, สุขโขไทย, SEX, Universal Design, โปสเตอร์โรคอ้วนลงพุง, CD สื่อโฆษณาลดพุง และ CD 10 Years  Social Marketing เป็นต้น.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชู 'อบจ.' ขับเคลื่อนงานฟื้นฟูสมรรถภาพ เชื่อมระบบฟื้นฟูกายใจชุมชนครบวงจร

สสส.ชวน อบจ.เข้าร่วมกองทุนฟื้นฟูฯเกิดขึ้นทั่วประเทศ ขณะที่ นายกสมาคมแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป และ นายกสมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทยชี้ระบบต้องเชื่อม ฟื้นฟู -กาย -ใจ ชุมชนให้ครบวงจร

อึ้ง! ชาวโลกเผชิญความอดอยาก เกือบ 300 ล้านคน ขาดสารอาหาร 2 ใน 3 อยู่ในเอเชีย น่าห่วง 1 ใน 10 ของเด็กไทยผอมโซ เนื่องในวันอาหารโลก 2567

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 15 ต.ค. 2567 ที่โรงแรมแกรนด์ ริชมอนด์ สไตลิช คอนเวนชั่น จ.นนทบุรี นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวในพิธีเปิดงานประชุมเวทีบูรณาการและนวัตกรรมสังคมด้านอาหาร ประจำปี

รณรงค์เปิดพื้นที่..เข้าใจวัยรุ่น ลดปัจจัยเสี่ยงทำร้ายสุขภาวะ

จากผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564 พบเยาวชน อายุ 15-24 ปี สูบบุหรี่อยู่ที่ 12.7% แม้จะลดจากปี 2560 ที่อยู่ที่ 15.4% แต่ก็ยังมีนักสูบหน้าใหม่เพิ่มขึ้น

“อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส.” ได้รับรางวัล “MEA ENERGY AWARDS พรีเมียม ระดับ PLATINUM”

สุดปัง! สสส. คว้ารางวัลสุดยอดอาคารประหยัดพลังงาน “MEA ENERGY AWARDS พรีเมียม ระดับ PLATINUM” จากการไฟฟ้านครหลวง รับรองเป็นต้นแบบอาคารสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อสุขภาวะ

เด็ก3จังหวัดชายแดนใต้สุดรันทด เผชิญทุพโภชนาการเหลื่อมล้ำสูงสุด

เชื่อหรือไม่? เมืองไทยเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ ปลูกข้าวเลี้ยงคนทั้งประเทศ และติดอันดับการส่งออกข้าวเป็นอันดับต้นๆ ของโลก โดยเฉลี่ยแล้วคนไทยกินข้าวคนละ 195 กก./ปี

เทศกาลกินเจ 2567 สสส. สานพลัง เครือข่ายลดบริโภคเค็ม ชวนคนรุ่นใหม่ กินเจปลอดภัย ห่างไกล NCDs

น.ส.นิรมล ราศรี ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า เทศกาลกินเจ เป็นเทศกาลแห่งการสั่งสมบุญกุศล ละเว้นเนื้อสัตว์ เพิ่มการกินผัก ผลไม้ ถือเป็นโอกาสดีในการดูแลสุขภาพ แต่อาหารเจส่วนมากมีรสหวาน มัน และเค็มจัด จากการสำรวจการบริโภคโซเดียมในคนไทย ปี 2566 พบว่า