กระทรวงศึกษาธิการ เร่งผลักดันการเรียนรู้แบบ Active Learning

กระทรวงศึกษาธิการ สั่ง สพฐ. เร่งผลักดันการเรียนรู้แบบ Active Learning ให้ครอบคลุมทุกภาค ทุกโรงเรียน หวัง ส่งเสริมให้นักเรียนตั้งคำถามและหาคำตอบเอง แทนการท่องจำแบบเดิม มุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพด้วยกิจกรรมปฏิบัติ ครูจะเป็นผู้นำในการสอนแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใหม่ ขยายผลโครงการ 1 อำเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพ เพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการได้เน้นย้ำถึงความ สำคัญของการปฏิรูปการเรียนการสอนเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบที่มุ่งเสริมสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของนักเรียน โดยมุ่งเน้นแนวทางการเรียนรู้เชิงปฏิบัติ  หรือ   Active Learning   โดยใช้กระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนตั้งคำถามและหาคำตอบด้วยตนเอง แทนที่จะเน้นการท่องจำแบบเดิมที่ไม่ได้ส่งเสริมความเข้าใจในเนื้อหาสาระอย่างแท้จริง

โดยแนวทางดังกล่าวได้รับการผลักดันจากนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งได้ระบุถึงปัญหาการท่องจำแบบนกแก้วนกขุนทองในอดีต ที่เน้นการท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน แนวคิดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ ได้ถูกนำมาใช้เป็นแนวทางใหม่ เพื่อให้การเรียนรู้ของเด็กเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหาอย่างลึกซึ้งและยั่งยืนมากขึ้น

Active Learning ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นกิจกรรมกลุ่มและการลงมือปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในกระบวนการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นการสืบค้นข้อมูล การคิดวิเคราะห์ เชื่อมโยงคุณธรรมค่านิยม การลงมือปฏิบัติจริงการแก้ปัญหาจนเกิดผลผลิตและนวัตกรรม อันเป็นการสร้างทักษะที่จำเป็นสำหรับชีวิตในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นทักษะสำคัญที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการยังได้ย้ำถึง ความท้าทายในการนำ Active Learning โดยใช้กระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบมาใช้ในระบบการศึกษาไทยว่า การเปลี่ยนแปลงต้องเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและทั่วถึงทั้งระบบ โดยเฉพาะการฝึกอบรมครูในทักษะการสอนแบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ ซึ่งครูบางกลุ่มยังขาดความเข้าใจหรือไม่ได้รับการอบรมที่เพียงพอในแนวทางนี้ นอกจากนี้ การปรับเปลี่ยนบุคลากรครูอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ก็เป็นอีกหนึ่งอุปสรรคที่ต้องแก้ไขเพื่อให้การเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ สามารถขยายผลและเป็นระบบที่ยั่งยืนส่งผลให้ผู้เรียนเกิดเป็นนวัตกร

สำหรับ นโยบาย 1 อำเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพ: ยกระดับคุณภาพการศึกษาไทยในปัจจุบัน กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินโครงการ “1 อำเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพ” ซึ่งเป็นนโยบายที่เน้นย้ำการพัฒนาโรงเรียนในแต่ละพื้นที่ให้มีมาตรฐานที่ดีขึ้น และพร้อมในการรับการเรียนการสอนในรูปแบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ ทั้งนี้ โรงเรียนคุณภาพจะได้รับการสนับสนุนจากครูแม่ข่าย และนำแบบแผนไปใช้กับการพัฒนาเทคโนโลยีการสอนเพื่อให้เด็กนักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพ

การปฏิรูปการเรียนการสอนในรูปแบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ เป็นสิ่งที่กระทรวงศึกษาธิการตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะขยายผลให้ครอบคลุมทั่วประเทศ แม้ว่างบประมาณที่มีอยู่ยังจำกัดจะเป็นอุปสรรค แต่ทางกระทรวงก็ได้พยายามผลักดันให้โครงการนี้ไปถึงทุกภูมิภาค โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ยังขาดโอกาสและประสบปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาอย่างภาคอีสานและภาคใต้ และต้องการผลักดันให้เข้าถึงทุกๆภาคอย่างจริงจัง  หลังการลงพื้นที่อบรมครูหลายจังหวัดภาคกลางเห็นผลการพัฒนาชัดเจน ภาคอื่นๆตรงไหนพร้อมหรืออีกทั้งถ้าโรงเรียนไหนเร่งพัฒนาให้รีบแจ้งมาเพื่อเข้าร่วมในการพัฒนาขับเคลื่อนได้ทันที กระทรวงศึกษาธิการพร้อมสนับสนุน ซึ่งถ้าโรงเรียนพร้อมทำได้ ก็ถือว่าสุดยอด

อย่างไรก็ตาม การนำเทคโนโลยีมาผสานกับการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเชื่อมั่นว่าแนวทางนี้จะเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้การศึกษาไทยก้าวไปข้างหน้าได้อย่างยั่งยืนแน่นอน และตรงนี้เองจะสร้างเด็กไทยสู่การเป็นนวัตกรที่ดีได้สมบูรณ์แบบ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รัฐบาลชวน 'ครู-นร.' ลงทะเบียน 'ซิมพร้อมเรียน' ใช้เน็ตฟรี

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาล โดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้ร่วมมือกับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

การจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ขับเคลื่อนได้จริงตามนโยบายและจุดเน้นของ สพฐ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 ต้นแบบการส่งเสริม การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ โดย ดร.ภูมิ พระรักษา