'พิพัฒน์' นั่งหัวโต๊ะ ประชุม กก.บริหารจัดการการทำงานคนต่างด้าว จันทร์ 21 ต.ค.นี้ ยืนยัน นโยบายให้สิทธิของแรงงานต่างด้าว ตาม ไอแอลโอ. กำหนด โดยห้ามรุกล้ำอาชีพสงวน ของคนไทย

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีที่มีหลายภาคส่วน รววมทั้งนักการเมือง ออกมาพูดถึงการให้ความสําคัญแรงงานต่างด้าวมากไป ว่า ไม่ได้เป็นอย่างนั้น ยังทําตามกรอบกฎหมายอยู่

"โลกโซเชียลก็ดี ในสภาผู้แทนราษฎรก็ดี หรือทางผ่านทางสื่อมวลชน หรืออาจจะมีเฟคนิวส์ซึ่งเป็นข่าวที่สร้างขึ้นมาโดยไม่มีความจริง เราพยายามที่จะให้สิทธิของผู้ใช้แรงงาน ไม่ว่าจะเป็นคนไทย หรือจะเป็นแรงงานต่างด้าว เราจะให้สิทธิเท่าเทียมกันทั้งหมด ตามที่ไอแอลโอ.เป็นผู้กําหนด เพราะเราเป็นสมาชิกอยู่

"แต่แน่นอน สําหรับอาชีพที่เป็นของคนไทยเราต้องสงวนให้กับคนไทยเท่านั้น จากนี้ต่อไปจะต้องเดินหน้าคนที่มารุกล้ํากับอาชีพสงวนของคนไทย ผมมีความจําเป็นที่จะต้องส่งเจ้าหน้าที่ออกไปเพื่อป้องปราม และปราบปราม"รมว.แรงงาน กล่าว

นายพิพัฒน์ กล่าวว่า ถ้าตักเตือนแล้วไม่ฟัง อาจต้องมีการเข้า ไปตรวจ ไปดูแล ถ้ามีครั้งที่ 2 หรือครั้งที่ 3 มีความจําเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมาย คือเอามาทำตามกฏหมาย ปรับ และส่งกลับไปสู่ประเทศต้นทาง

"กระทรวงแรงงานปฏิบัติตามมาตรฐานของไอแอลโอ.จะมาบอกว่า ผมให้สิทธิประโยชน์กับแรงงานต่างด้าว มากกว่าแรงงานไทยเป็นไปไม่ได้ แรงงานไทย เรามีกฎหมายคุ้มครองอยู่แล้วว่าอะไรที่เป็นเรื่องอาชีพสงวนของคนไทย นั่นคือสิทธิของคนไทย ส่วนแรงงานต่างด้าว พวกคุณไม่มีสิทธิ์"นายพิพัฒน์ กล่าว

ส่วนที่มีกระแสข่าวว่า แรงงานต่างด้าวบางคน มีความพยายามเคลื่อนไหวในเชิงสัญลักษณ์ทางการเมือง อาจจะทําให้กระทบความร่วมมือระหว่างประเทศ นายพิพัฒน์ กล่าวว่า อันนี้ต้องแจ้งให้กับแรงงานต่างด้าว ที่เข้ามาทํางานในประเทศไทย จะมาจากประเทศอะไร จากภูมิภาคไหน เมื่อเข้ามาทํางานในประเทศไทย เราให้สิทธิความเท่าเทียมทั้งคนไทยและคนต่างด้าว หมายความว่าสิทธิของการทํางาน

"แต่แรงงานต่างด้าว คุณไม่มีสิทธิในการเคลื่อนไหวทางการเมือง เพราะสิทธิทางการเมืองเราสงวนให้เฉพาะคนไทยเท่านั้น แต่ถ้าคุณจะใช้สิทธิของคุณ และเอาเรื่องของประเทศของคุณมารณรงค์ หรือมาทําการปลุกปั่นในประเทศไทย ผมมีความจําเป็นต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ตํารวจ เพื่อไปดําเนินการตามกฎหมาย เพราะเวทีของคุณสามารถทํางานในประเทศไทยเท่านั้น ส่วนเวทีทางการเมืองคุณไม่สามารถจะใช้ประเทศไทย เป็นเวทีทางการเมืองได้ ประเทศไทยเราไม่ให้สิทธิตรงนั้นสําหรับคุณเด็ดขาด"นายพิพัฒน์ กล่าว

ทั้งนี้นายพิพัฒน์ จะเป็นประธานการประชุม คณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ครั้งที่ 4/2567 ในวันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม 2567 เวลา 13.00 น.ที่ห้องประชุม ศ.นิคม จันทรวิทุร กระทรวงแรงงาน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“พิพัฒน์ เปิดเวทีประชุมระดับชาติ เล็งเป้าสร้างความยั่งยืนกองทุนประกันสังคม ไม่ล่มสลาย แลกเปลี่ยนความเห็น รวมพรรคการเมือง นักวิชาการ ทั้งไทยและเทศ SSO SUSTAINABLE FOR ALL

วันที่ 24 ตุลาคม67 เวลา 09.00 น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน จัดการประชุมฟังความคิดเห็นเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับกองทุนประกันสังคม SSO SUSTAINABLE FOR ALL โดยมี นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม

ประกันสังคมขานรับนโยบายการเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตรเพื่อส่งเสริมการมีบุตร ตามแนวคิดของรัฐมนตรีแรงงาน พิพัฒน์

นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ให้ข้อมูลเพิ่มเติมกรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับการเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตรเป็นเดือนละ 3,000 ระยะเวลา 7 ปี

‘พิพัฒน์’ รับข้อเสนอโฮมเนทสากล ดูแลผู้รับงานไปทำที่บ้าน ดันไทยให้สัตยาบันอนุสัญญา ประเทศแรกในภูมิภาคเอเชีย

วันที่ 17 ตุลาคม 2567 เวลา 09.00 น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้การต้อนรับ นางโจเซฟีน พาริลลา (Ms. Josephine Cabahug Parilla) ประธานกรรมการโฮมเนทสากล และคณะ ในโอกาสเข้าพบเพื่อเยี่ยมคารวะ และหารือแนวทางการกำหนดนโยบาย

‘พิพัฒน์’ ปั้นผู้ประกอบการช่างตัดผม ช่างเสริมสวย อัพสกิลแรงงาน สร้างรายได้สูง มั่นคง ยกระดับฝึมือ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

วันที่ 16 ตุลาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดการแข่งขันตัดผมและมอบถ้วยรางวัลแก่ผู้ชนะการแข่งขันในงานครบรอบ 10 ปี กลุ่มช่างตัดผมชาย ในงาน 10 th Anniversary Barber Society of Thailand 2024

ไอเดียเด็ด ! พิพัฒน์ เสนอมาตรการสร้างแรงจูงใจให้แรงงานไทย "มีลูกเพิ่ม" ด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์บุตร จาก 1,000 เป็น 3,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 7 ปี

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงแนวคิดการให้เงินสงเคราะห์บุตร ว่า การสงเคราะห์บุตร ของสำนักงานกองทุนประกันสังคม ก่อนหน้านี้เราให้ 800 บาทต่อเดือน แต่ในปี 2568 ให้เพิ่มเป็น 1,000 บาทต่อเดือน