จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดงานเสวนาวิชาการ Chula the Impact ครั้งที่ 25 เรื่อง “แพลตฟอร์มจุฬาฯ ฝ่าพิบัติ: Digital War Room” เพื่อนำเสนอนวัตกรรมจากคณาจารย์นักวิจัยจุฬาฯ ที่บูรณาการองค์ความรู้ทางวิชาการในการป้องกันและแก้ปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้น สามารถชี้จุด คาดคะเน และให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์นำท่วมแก่ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ได้อย่างแม่นยำและทันสมัย เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือและแก้ปัญหาได้ตรงจุดและทันท่วงที
การเสวนาวิชาการ Chula the Impact ในครั้งนี้เป็นการเผยแพร่องค์ความรู้จากงานวิจัยของจุฬาฯ เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตต่างๆ ตามพันธกิจของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “เมื่อสังคมมีปัญหา จุฬาฯ มีคำตอบ” โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ เป็นผู้กล่าวเปิดการเสวนา วิทยากรผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย รศ.ดร.ศิริเดช สุชีวะ ผู้รักษาการรองอธิการบดี จุฬาฯ ศ.ดร.สันติ ภัยหลบลี้ อาจารย์ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และ ศ.ดร.ใจทิพย์ ณ สงขลา อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.เจษฎา ศาลาทอง อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ
ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า “เมื่อสังคมมีปัญหาจุฬามีคำตอบ” เป็นจุดเริ่มต้นของแพลตฟอร์มจุฬาฯ ฝ่าพิบัติ : ดิจิทัลวอร์รูม (Chula Disaster Solution Network : Digital War Room) นำเสนอนวัตกรรมจากคณาจารย์นักวิจัยจุฬาฯ ที่บูรณาการองค์ความรู้ทางวิชาการในการป้องกันและแก้ปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้น สามารถชี้จุด คาดคะเน และให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วมแก่ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ได้อย่างแม่นยำและทันสมัย เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือและแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดและทันท่วงที ตลอดจนให้การช่วยเหลือและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คน
“จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบนวัตกรรม “แพลตฟอร์ม จุฬาฯ ฝ่าพิบัติ : Digital War Room” นวัตกรรมทำนายพื้นที่น้ำท่วมและแนวดินถล่มจากอุทกภัย ที่เป็นการ “ป้องกันก่อนเกิด” หรือ Preventive Action”
รศ.ดร.ศิริเดช สุชีวะ ผู้รักษาการรองอธิการบดี จุฬาฯ เปิดเผยว่า การดำเนินงานภายใต้แพลตฟอร์มจุฬาฝ่าพิบัติ: ดิจิทัลวอร์รูม (Chula Disaster Solution Network: Digital War Room) ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ส่วนที่ 1 ระบบการเตือนภัยและขอความช่วยเหลืออย่างเฉพาะเจาะจงตำแหน่ง ด้วยการบูรณาการแผนที่ภูมิสารสนเทศ ทำให้สามารถระบุตำแหน่งที่มีความอ่อนไหวได้อย่างแม่นยำ และให้คำอธิบายประกอบจากผู้เชี่ยวชาญในวอร์รูม ส่วนที่ 2 ระบบการจัดสรรทรัพยากรให้ตรงตามความต้องการ ทั่วถึงและทันท่วงที ส่วนที่ 3 ระบบการถอดบทเรียนและสร้างการเรียนรู้ ตั้งแต่เรื่องการเตือนภัย การกู้ภัย การขนย้ายและอพยพ การบรรเทาทุกข์ การฟื้นฟูหลังพิบัติ จนถึงการที่จะเยียวยาธรรมชาติในระยะยาว โดยอาศัยองค์ความรู้จากศาสตร์แขนงต่าง ๆ ในจุฬาฯ ร่วมกับภาคีเครือข่าย
สำหรับนวัตกรรมแพลตฟอร์มสำหรับป้องกันและแก้ปัญหาอุทกภัย จุฬาฝ่าพิบัติ: ดิจิทัลวอร์รูมที่นำมาสาธิตในงานเสวนาครั้งนี้ สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการใช้ทำนายพื้นที่น้ำท่วมและแนวดินถล่มจากอุทกภัยได้อย่างแม่นยำ พัฒนาขึ้นโดย ศ.ดร.สันติ ภัยหลบลี้ ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับ ศ.ดร.ใจทิพย์ ณ สงขลา ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งปัจจุบัน ถูกนำไปเสริมการช่วยเหลือในพื้นที่ที่กำลังประสบปัญหาน้ำท่วมในหลายจังหวัดทางภาคเหนือ
ศ.ดร.สันติ ภัยหลบลี้ กล่าวว่าข้อมูลภูมิประเทศที่ใช้ในการเตือนภัยในแพลตฟอร์มนี้แบ่งออกเป็น ชุดข้อมูลเตือนภัยดินโคลนไหลหลากและน้ำป่า ประกอบด้วย ตำแหน่งรูรั่วของมวลน้ำจากภูเขาสูงที่ราบ แนวไหลหลากของมวลน้ำ หมู่บ้านที่อ่อนไหวต่อภัยพิบัติดินโคลนไหลหลาก และชุดข้อมูลเตือนภัยน้ำท่วม ประกอบด้วย แนวร่อง แนวเนิน จุดเสี่ยงถนนขาด และจุดแนะนำในการอพยพ นอกจากนี้ยังมีแนวน้ำหลาก ในกรณีที่น้ำล้นตลิ่งจากแม่น้ำสายหลักทั่วประเทศ ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ในการวางแผนในกรณีที่คันดินกั้นน้ำแตก ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งประเทศไทย โดยมีแผนจะจัดทำชุดข้อมูลเพิ่ม เพื่อสื่อสารและเตือนภัยพิบัติดินถล่ม สึนามิ และแผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ทั้งนี้ แพลตฟอร์มจุฬาฝ่าพิบัติ: ดิจิทัลวอร์รูม เป็นการรวมผู้เชี่ยวชาญด้านงานวิจัยจากจุฬาฯ และผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย ทำงานร่วมกันในรูปแบบดิจิทัลวอร์รูม เมื่อเข้าสู่แพลตฟอร์มจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับแผนที่จุดเสี่ยงที่จะเกิดอุทกภัยและการแจ้งเตือนว่าจะเกิดเหตุ ระบบแผนที่ทางภูมิศาสตร์ในแพลตฟอร์มที่มีรายละเอียดเฉพาะเจาะจงจะเป็นประโยชน์ในการอพยพและการเตือนภัยในรูปแบบต่าง ๆ นอกจากนี้ในดิจิทัลวอร์รูมจะมีการสื่อสารถึงคนในพื้นที่ที่สามารถโต้ตอบกันได้โดยตรงเพื่อประสานขอความช่วยเหลือในด้าน ต่าง ๆ เมื่อเกิดเหตุอุทกภัย อาสาสมัครจะลงพื้นที่ไปเก็บข้อมูลต่าง ๆ และส่งเข้ามาที่วอร์รูม
แพลตฟอร์มจุฬาฝ่าพิบัติ: ดิจิทัลวอร์รูม เป็นนวัตกรรมที่จะทำให้ประเทศไทยรับมือเหตุการณ์น้ำท่วมในอนาคตได้ ภัยที่มากับฝนตกหนักไม่ได้มีแค่น้ำท่วมสูง แต่ยังมีดินถล่ม ดินโคลนไหลหลาก นวัตกรรมหรือ ชุดข้อมูลที่จัดทำขึ้นจะทำให้ทราบถึงสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ว่ามีโอกาสได้รับภัยอะไรบ้าง หนักเบาแค่ไหน เมื่อประชาชนรู้ตัวและปฏิบัติตาม รวมทั้งหากภาครัฐมีนโยบายหรือแนวทางการอพยพที่มีประสิทธิผล จะช่วยลดผลกระทบจากภัยพิบัติทั้งชีวิตและทรัพย์สินได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เตือนภัยคนใช้รถ จับ 2 โจรแดนมังกร ตระเวนลักทรัพย์ตามลานจอด
พล.ต.ท.สยาม บุญสม ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) พร้อมด้วย พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รอง ผบช.น. พล.ต.ต.กัมปนาท อรุณคีรีโรจน์ ผบก.น.7
“Night Museum at Chula” สัมผัสเสน่ห์แห่งพิพิธภัณฑ์จุฬาฯ ยามค่ำคืน
จุฬาฯ เปิดพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ให้ชมยามค่ำคืนเป็นพิเศษในงาน “Night Museum at Chula” 13 – 15 ธ.ค.นี้ 16.00 – 22.00
จุฬาฯ ปักธงยุทธศาสตร์ปี 68 ดันสยาม-บรรทัดทอง สู่พื้นที่สร้างโอกาสให้คนไทยทุกคน
ถ้าใครมีโอกาสแวะมาเดิน Siam Square ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมานี้ อาจจะแปลกใจ ที่สยามสแควร์ไม่ใช่เป็นเพียงพื้นที่สำหรับนักช็อป หรือวัยรุ่นที่มาเปิดหมวกร้องเพลงเท่านั้น
จุฬาฯ จับมือกรม Climate Change และเครือข่ายพันธมิตรภาคเอกชน เปิดตัวหลักสูตร “TOP Green” หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้าน Sustainability
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม หอการค้าไทย และสภาหอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ UN Global Compact Network Thailand