สศก. จับมือ กสก. และ อกม. จัดทำข้อมูลกรอบตัวอย่างสำหรับการสำรวจ พุ่งเป้า 77 จังหวัดทั่วประเทศ

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สศก. ในฐานะศูนย์กลางข้อมูลสารสนเทศการเกษตร ได้มุ่งภารกิจการจัดทำและให้บริการข้อมูล ซึ่งต้องอาศัยฐานข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน และมีรายละเอียดในระดับพื้นที่ครอบคลุมกิจกรรมการเกษตรทั่วประเทศ ดังนั้น สศก. จึงได้มีแนวคิดการจัดทำข้อมูลพื้นฐานของสินค้าเกษตรที่สำคัญภายใต้โครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) กิจกรรมการจัดทำข้อมูลกรอบตัวอย่างสำหรับการสำรวจ โดยอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ผลักดันให้ อกม.

มีบทบาทหน้าที่สร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาภาคการเกษตร เพื่อยกระดับศักยภาพและพัฒนาสู่การสร้างรายได้ โดยกำหนดเป้าหมายสำรวจทุกหมู่บ้านทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ ประมาณ 75,000 หมู่บ้าน รวม 26 ชนิดสินค้า พืช ปศุสัตว์ และประมง  ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง มันสำปะหลังโรงงาน สับปะรดปัตตาเวีย ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ทุเรียนลำไย มะม่วงน้ำดอกไม้ มะพร้าวผลแก่ สุกร โคเนื้อ ไก่เนื้อ เป็ดเนื้อ โคนม ไก่ไข่ เป็ดไข่ กระบือ ไก่พื้นเมือง กุ้งกุลาดำ    กุ้งก้ามกราม กุ้งขาวแวนนาไม ปลาดุก ปลานิลหรือปลาทับทิม และปลากะพงขาว 

กิจกรรมภายใต้โครงการฯ ดังกล่าว ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2566 เป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่าง สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร และ อกม. ซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่จัดเก็บหรือรายงานข้อมูลการเกษตร ผ่านระบบ Frame-asa ที่ได้พัฒนาขึ้นสำหรับใช้ในการลงทะเบียนผู้ปฏิบัติงาน การบันทึกข้อมูลที่สำรวจ และการจ่ายค่าตอบแทน โดยทางสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และกรมส่งเสริมการเกษตร จะทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้กับอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน ในการถ่ายทอดวิธีการดำเนินงานภาคสนามในพื้นที่รับผิดชอบ ซึ่งนอกจากตอบโจทย์เพื่อบรรลุเป้าหมายของกิจกรรมแล้ว ยังเป็นการแก้ปัญหาข้อจำกัดด้านจำนวนบุคลากรและลดระยะเวลาในการปฏิบัติงานจัดทำข้อมูลสารสนเทศการเกษตรของเจ้าหน้าที่ภาครัฐอีกด้วย

การดำเนินงานปีงบประมาณปี 2567 ได้กำหนดเป้าหมาย 14,271 หมู่บ้าน โดยผลการดำเนินงาน อกม. ได้รายงานและบันทึกข้อมูลในฐานข้อมูลรวม 14,270 หมู่บ้าน (ร้อยละ 99.99 ของเป้าหมาย) รวม 18 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสระบุรี ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว จันทบุรี ตราด ระยอง ชลบุรี สมุทรปราการ กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ อุทัยธานี และเพชรบูรณ์ อย่างไรก็ตาม จากรายงานข้อมูลในระบบ พบว่าหมู่บ้านที่อยู่ในพื้นที่หรือใกล้กับเขตเทศบาลซึ่งเป็นเขตเมือง บางพื้นที่จะไม่มีรายงานกิจกรรมการเกษตร ซึ่งพบว่าเป็นหมู่บ้านที่ประกอบกิจกรรมการเกษตรอื่นนอกเหนือจากข้อมูลของสินค้าที่จัดเก็บ ทั้งนี้ เมื่อรวมกับผลการดำเนินงานในปี 2566 ซึ่งดำเนินการ 26 จังหวัด 15,996 หมู่บ้าน พบว่า ขณะนี้ได้ดำเนินการแล้วเสร็จในพื้นที่ภาคใต้และภาคกลางรวม 44 จังหวัด 30,266 หมู่บ้านเรียบร้อยแล้ว

สำหรับปี2568 สศก. จะยังคงดำเนินการต่อเนื่อง โดยกำหนดเป้าหมายให้ครอบคลุมเพิ่มเติมอีก 26,000 หมู่บ้าน ในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือบางส่วน ซึ่งหลังจากที่ได้จัดเก็บข้อมูลครบทุกหมู่บ้านที่มีกิจกรรมการเกษตรตามเป้าหมาย สศก. มีแผนที่จะพัฒนาฐานข้อมูลให้สามารถเรียกใช้ข้อมูลระดับหมู่บ้านสำหรับการลงพื้นที่สำรวจของเจ้าหน้าที่ พร้อมทั้งปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันในเวลาเดียวกัน และสามารถใช้ประกอบการวิเคราะห์ข้อมูลในระดับต่างๆ เพื่อให้ข้อมูลสารสนเทศการเกษตรมีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ รวมถึงพัฒนารายงานผลข้อมูลให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถใช้ประโยชน์ได้สะดวก และตรงตามความต้องการต่อไป ท่านที่สนใจต้องการสอบถามข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร สามารถสอบถามได้ที่ ส่วนปฏิบัติการข้อมูลการเกษตร ศูนย์สารสนเทศการเกษตร โทร. 02561 2870 อีเมล [email protected]

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สับปะรดห้วยมุ่น' ขึ้นทะเบียน GI ยกระดับตลาดสินค้าเกษตรไทย

“คารม“ เผย ญี่ปุ่นขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ “สับปะรดห้วยมุ่น”  เป็นสินค้ารายการที่ 3 ต่อจาก กาแฟดอยช้าง และกาแฟดอยตุง ยกระดับตลาดสินค้าเกษตร

โชว์ศักยภาพภาคเกษตรไทยด้านความมั่นคงอาหาร ในฐานะครัวของโลก

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการความมั่นคงอาหารโลก

โฆษกรบ. โชว์สินค้าเกษตรของไทยขึ้นแท่นเบอร์ 1 อาเซียน

โฆษกรบ. เผย สินค้าเกษตรขึ้นแท่นที่ 1 อาเซียน ติดอันดับ 8 ของโลก หลัง 8 เดือน ส่งออกพุ่ง4.3แสนล้านบาท นายกฯสั่ง เร่งลดเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรค ดันติด Top5 โลกให้ได้ต้นปีหน้า

จับตา GDP เกษตร Q3 หดตัวร้อยละ 0.7 จากปรากฏการณ์ เอลนีโญ-ลานีญา สศก. หั่นเป้าทั้งปี GDP เกษตรไทย

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า เศรษฐกิจการเกษตรในไตรมาส 3 ปี 2567 (กรกฎาคม - กันยายน 2567)

โครงการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรและประมง เพิ่มศักยภาพการผลิต สร้างมูลค่าและขยายฐานตลาดแก่สถาบันเกษตรกร

นางธัญธิตา บุญญมณีกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลการติดตามโครงการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรและประมง ปี 2567