ASEAN Circular Economy Forum : อาเซียน ต้องการผู้เชี่ยวชาญ เงินทุน และการตระหนักรู้เรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียนในภูมิภาค ในงาน SX2024

“แนวคิดและการทำงานต่าง ๆ เรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียนมีอยู่มากมาย แต่อยู่ในระดับท้องถิ่นและแยกตามอุตสาหกรรม ในขณะที่ในระดับภูมิภาค ยังไม่มีแนวทางหรือกรอบที่ชัดเจนสำหรับภาคเอกชน ตอนนี้มีโครงการริเริ่มมากมายที่พยายามจะเปลี่ยนพฤติกรรม ให้ความรู้ และสร้างความตระหนักรู้มากขึ้น และการสัมมนานี้เป็นแพลตฟอร์มที่จะสร้างแนวทางที่ชัดเจนขึ้นจากกรอบเศรษฐกิจหมุนเวียนของอาเซียนที่กำหนดไว้” นางสาวลติฟาไฮดา ลาตีฟ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ แผนกการวิเคราะห์และติดตามการเงิน เศรษฐกิจและสังคม สำนักเลขาธิการอาเซียนกล่าวระหว่างการสัมมนา ASEAN Circular Economy Forum ที่งาน Sustainability Expo 2024 ที่จัดขึ้น ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ 27 กันยายน - 6 ตุลาคม 2567  

ลติฟาไฮดา พูดถึงยุทธศาสตร์ 5 ข้อที่มองว่าเป็นจุดเริ่มต้นของภาคธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลาง ขนาดเล็ก และรายย่อยในภูมิภาคอาเซียน คือ การปรับมาตรฐานของประเทศต่าง ๆ ให้สอดคล้องกัน การส่งเสริมการเปิดกว้างทางการค้าสำหรับสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อเศรษฐกิจหมุนเวียน การเพิ่มบทบาทของนวัตกรรม การเงินที่ยั่งยืนพร้อมการลงทุนที่สร้างสรรค์ และการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

ถ้าถามว่าจำเป็นหรือไม่ที่ธุรกิจเหล่านี้ควรเรียนรู้นโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เกี่ยวข้องในประเทศเพื่อนบ้าน เธอตอบว่าหากธุรกิจเหล่านี้รู้ว่าระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่อื่นเป็นอย่างไร จะเป็นผลดีเพราะช่วยให้การส่งออกมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

“เราต้องดูเรื่องการเข้าถึงเทคโนโลยีทางการเงิน และประสิทธิภาพการใช้พลังงาน เพื่อช่วยภาคเอกชนให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันกับแผนภูมิภาค...ถ้าผู้ผลิตต้องทำตามมาตรฐานที่แตกต่างกันของแต่ละที่ จะกลายเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้น เราจึงมองหามาตรฐานที่สอดคล้องกัน เพื่อว่าหากคุณมีผลิตภัณฑ์หนึ่งชนิด ก็สามารถกระจายไปยังสมาชิกอาเซียนทั้งหมดได้ เพราะทุกคนเข้าใจตรงกัน” 

ตระหนักรู้เรื่องการหมุนเวียน 

ลติฟาไฮดา มองว่าความท้าทายที่จะทำให้เศรษฐกิจหมุนเวียนอาเซียนเป็นจริงเป็นจังและก้าวหน้าขึ้นได้ คือการมีผู้เชี่ยวชาญและเงินทุนที่จำกัด ไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการตระหนักรู้ในวงกว้างขึ้น  “ฉันคิดว่าหลายคนอาจเข้าใจว่ามันเป็นเพียงเรื่องการจัดการของเสีย แต่ความจริงแล้วมันมากกว่านั้น มันครอบคลุมไปถึงขั้นตอนต้นน้ำ เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์ ดังนั้น การสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องเหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น” ลติฟาไฮดาพูดถึงชุดความคิดและความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ควรต้องปรับเปลี่ยนเช่นเดียวกันกับความเห็นของ ดร. วิชุดา เดาด์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยเทคโนโลยีโพลิเมอร์ขั้นสูง ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ MTEC ที่พูดถึงเรื่องชุดความคิดของคนทั่วไปว่าคุณค่า

 ทรัพยากรของแต่ละคนไม่เหมือนกัน รวมถึงนิยามของคำว่า “Waste” ที่คนไทยมักชอบแปลว่า “ขยะ” ซึ่งความเป็นจริง หมายถึงสิ่งที่ใช้ไม่ได้แล้ว “นี่แหละปัญหา เราเลยต้องปรับ mindset ก่อนว่าเรากําลังพูดถึงเรื่องทุกอย่างที่เป็นทรัพยากร ต้องหาวิธีเปลี่ยนกระบวนการความคิด ถ้าเราไม่ใช้ คนอื่นใช้ได้หรือไม่ ยังมีคุณค่าอยู่หรือไม่” 

งานที่ ดร. วิชุดา ทำคือการออกแบบแนวทางเสริมศักยภาพและออกแบบกลยุทธ์เศรษฐกิจหมุนเวียนของธุรกิจหลากหลายชนิดในประเทศไทย ที่ถึงแม้สุดท้ายแล้ว กลยุทธ์ที่ใช้อาจแตกต่างตามเงื่อนไขของแต่ละกิจการหรือผลิตภัณฑ์ แต่แนวความคิดโดยรวมคือการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน

ดร. วิชุดากล่าวว่าความท้าทายตอนนี้ คือ คนส่วนใหญ่จะคิดถึงแต่เรื่องปลายทาง คือ เศษวัสดุที่เหลือจากการผลิต หรือสิ่งของที่ไม่ใช้แล้ว จะนำไปทำอะไรต่อ และมักคิดถึงแต่มุมที่องค์กรของตัวเองทำฝ่ายเดียว  “เราต้องมองไปจนถึงว่า พอเราทําผลิตภัณฑ์นี้ออกไป ผู้ใช้เป็นใคร หลังจากใช้แล้วจะเป็นอะไรต่อ เราต้องรู้ระบบนิเวศของเราว่าในจุดต่อทั้งหลาย มีใครที่เกี่ยวข้องบ้าง และอาจจะมาดูว่าเราจะเข้าไปแก้จุดไหน เพราะเราไม่สามารถแก้ปัญหาคนเดียวได้ทุกอย่าง อีกสิ่งหนึ่ง คือ วิเคราะห์เรื่องการใช้ทรัพยากร และกลยุทธ์ที่อยากใช้ว่าต้องใช้อะไรเพิ่มหรือไม่ การคิดที่จะนำวัสดุเหลือใช้มาพัฒนาต่อ เป็นเรื่องปลายน้ำแล้ว และบางทีก็ไม่สามารถทำอะไรต่อกับสิ่งเหล่านั้นได้เพราะปนเปื้อนไปแล้ว”

ดร. วิชุดายกกรณีตัวอย่างบริษัทผลิตเฟอร์นิเจอร์ที่เข้าโครงการกับ MTEC ด้วยโจทย์ที่ว่ามีเศษวัสดุที่เหลือจะทำเป็นอะไรต่อ  

“เราคุยกับเขาว่าเคยคิดในมุมนี้หรือไม่ ว่าเวลาที่เราออกแบบเฟอร์นิเจอร์ไปชิ้นหนึ่ง เมื่อลูกค้าเลิกใช้แล้ว เขานำไปทําอะไรต่อ เราเลยกลับมาคิดใหม่ เพราะว่าการที่จะเอาชิ้นเศษวัสดุมาทําอะไรต่อ  คือการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ (waste utilization) แต่ไม่ใช่การออกแบบเศรษฐกิจหมุนเวียน” 

บริษัทดังกล่าว ได้ข้อสรุปออกมาเป็นการออกแบบเก้าอี้สนามและโต๊ะปิกนิกที่โดยทั่วไปจะถูกเชื่อมเป็นชิ้นเดียวกัน เมื่อไม่ได้ใช้งานก็ยากที่จะไปแปรรูปเป็นอย่างอื่นต่อ รวมถึงวัสดุที่ใช้เชื่อม ถ้าเป็นสารเคมี เช่น กาวชนิดต่าง ๆ จะต้องผ่านกระบวนการแยก คว้านเอาเนื้อกาวออก ทำให้นำไปหมุนเวียนยากขึ้น จึงได้ออกแบบใหม่มาเป็นการใช้น็อตแทน และ MTEC ยังช่วยสนับสนุนเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ เช่น การคำนวณความแข็งแรง และผลิตภัณฑ์นี้จะถูกนำไปหมุนเวียนเป็นอะไรได้อีก 

ความท้าทายของการเสริมสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน

นอกจากเรื่องชุดความคิดของคนทั่วไปที่เริ่มแก้ได้จากความหมายของ Waste ที่ไม่ใช่ “ขยะ” แล้ว ดร. วิชุดามองว่าความท้าทายที่เห็นได้ชัดคือการที่ธุรกิจต่าง ๆ ยอมแพ้เร็วเกินไป “ยังไม่ทันเห็นผลแล้วเลิกทําก่อน ยังไม่ทันไปถึงไหน” ความยากคือจะทำอย่างไรให้ธุรกิจเหล่านี้คิดถึงการเดินทางของผลิตภัณฑ์ ถ้าถูกใช้เสร็จแล้วจะไปไหนต่อ ทางผู้ผลิตสามารถที่จะออกแบบเพื่อกระตุ้นได้หรือไม่ว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปคืออะไร 

“ทุกคนจะคิดว่าตัวเองต้องเปลี่ยนแปลงทุกอย่างด้วยตัวเอง แต่จริง ๆ แล้วเราไม่ต้องทําคนเดียว สิ่งที่ยาก คือทุกคนอยากทําด้วยตัวเอง เลยกลายเป็นจำกัดความคิดเรื่องกลยุทธ์และวิธีการแก้ปัญหา” ความเป็นจริงคืออาจเอาธุรกิจจากคนละภาคอุตสาหกรรมมาทำงานร่วมกันเพื่อสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนก็ยังได้  

อีกหนึ่งปัญหาคือเรื่องการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นชุดข้อมูลที่มีออกมาแล้วจะส่งต่อให้ใคร หรือเมื่อมีแนวทางแก้ปัญหา หรือผลิตภัณฑ์ใด ๆ ออกมาแล้ว มักขาดการสื่อสารให้สาธารณชนรับรู้ว่ามีการคิดค้นสิ่งนี้ขึ้นมา 

สมมุติว่าบริษัทนี้ผลิตหมึกที่ล้างออกได้ แต่ใครจะรู้ว่ามีหมึกนั้น แล้วต้องไปสื่อสารข้อมูลให้ใคร จะไปบอกใครว่ามีหมึกล้างออกได้ด้วย

สุดท้ายแล้ว กลไกเศรษฐกิจหมุนเวียนในระดับอาเซียนจะเดินหน้าไปด้วยกันได้จริง ๆ หรือไม่ กับการร่วมมือกันของบริษัทหรือหน่วยงานต่าง ๆ ข้ามพรมแดน ยังเป็นเรื่องที่ต้องคิดต่อว่าชุดข้อมูลแต่ละด้าน จะเชื่อมต่อจากใคร หรืองานไหนจะให้หน่วยงานใด จากประเทศไหนเป็นเจ้าภาพให้เกิดขึ้นกันแน่ ยังต้องหาวิธีสื่อสาร ที่ถึงแม้จะเป้าหมายเดียวกันเพื่อความยั่งยืนของโลก แต่ก็ยังไม่ได้จับมือกันเดินจริง ๆ

“เพราะความยั่งยืนเป็นเรื่องของทุกคน” มาเรียนรู้และสานต่อกับทุกภาคส่วนเพื่อช่วยเปลี่ยนโลกใบนี้ให้น่าอยู่อย่างยั่งยืนในงาน Sustainability Expo (SX2024) ได้ตั้งแต่วันนี้ ถึง วันที่ 6 ตุลาคม 2567 เวลา 10.00-20.00 น. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (QSNCC) 

#goodbalance #betterworld #sx2024 #ASEANCE2024 #ACEF2024 

ติดตามข่าวสาร และกิจกรรมของ SX ได้ทาง Facebook Page : Sustainability Expo, และแอดไลน์ @sxofficial  เตรียมพบกับมุมมองดีๆ และต้นแบบสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างยั่งยืน ตลอดจนร่วมกิจกรรมมากมายเพื่อโลก ด้วยกันที่ Sustainability Expo 2024: Good Balance, Better World #good balancebetter world 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชวนหนอนหนังสือร่วมแบ่งปัน และอุดหนุนของบริจาคสภาพดี ที่ SX REPARTMENT STORE ในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

SX REPARTMENT STORE 2024 ชวนหนอนหนังสือร่วมแบ่งปันของนอกสายตา และอุดหนุนของบริจาคสภาพดี ที่จุดรวบรวมของบริจาคในงาน มหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 29 (BOOK EXPO THAILAND 2024)

เดินหน้ายกระดับงาน Sustainability Expo 2025 ผลักดันการลงมือทำเพื่อความยั่งยืน

“เราไม่ได้ปิดงาน แต่เป็นการ Launching Forward ไปสู่ SX2025” คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี ประธานอำนวยการ SX2024 กล่าวในการปิดฉากงานมหกรรมด้านความยั่งยืน

“สึนามิน้ำจืด” เสียงเตือนจากธรรมชาติ ท่าน ว.วชิรเมธี แนะป้องกันด้วยการบวชป่า ปลูกป่า บนเวที SX2024

“สึนามิน้ำจืด” คำที่พระเมธีวชิโรดม หรือ ว.วชิรเมธี พระนักเทศน์ใช้เรียกสถานการณ์น้ำท่วมที่เชียงราย และหลายพื้นที่ในปีนี้ พร้อมชี้ให้เห็นว่าต้นตอของปัญหาเกิดจาก “โลภาภิวัตน์” หรือความโลภ หากจะบรรเทาและแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ต้องเริ่มจากตัวเราเอง

“Australian Green Economy Mission” เมื่อปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเป็นความท้าทายที่ไม่มีพรมแดน ความยั่งยืนจึงเป็นเรื่องของทุกคน ในงาน SX2024

“มันต้องใช้เวลา และทุกคนก็รู้ดีว่าโลกของเรามีเวลาจำกัดที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง ๆ” ดร. แอนเจลา แมคโดนัลด์ เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย

กลุ่มบีเจซี โชว์ศักยภาพองค์กรยั่งยืนระดับโลก ในงาน Sustainability EXPO 2024

กลุ่มบีเจซี ร่วมโชว์ศักยภาพในงาน Sustainability Expo 2024 มหกรรมด้านความยั่งยืนระดับอาเซียน โดยนำเสนอนิทรรศการภายใต้แนวคิด “Highway to Net Zero” รวบรวมโครงการไฮไลท์ด้านการผลิตตั้งแต่ ต้นน้ำ ถึง ปลายน้ำ