ความพยายามของประชาคมโลกที่จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs 2030 (Sustainable Development Goals) ในอีก 6 ปีข้างหน้า นับเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง ท่ามกลางวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความเสี่ยงจากความผันผวนของสถานการณ์โลก ทำให้องค์กรทุกรระดับ รวมถึงบุคคล ต้องเร่งหาแนวทางปฏิบัติที่เข้มข้นมากขึ้น และการปรับตัวเพื่อรับมือกับผลกระทบที่รุนแรงขึ้นจากภาวะโลกร้อน โลกรวน มาฟังมุมมองของ 4 ผู้นำองค์กรธุรกิจชั้นนำภายใต้ Thailand Supply Chain Network ที่มาร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิดและข้อเสนอแนะในงานเสวนา "วิสัยทัศน์ 2030 : พลังความร่วมมือสู่อนาคตที่ยั่งยืน"
ฐาปน สิริวัฒนภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ให้ความเห็นว่า “ถ้ามองภาพใหญ่ที่รัฐบาลต้องออกกฎเกณฑ์กติกาในการขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้ครอบคลุมและเป็นประโยชน์ต่อสังคมในภาพรวมนั้น ภาครัฐก็ต้องฟังเสียงผู้ประกอบการธุรกิจ และฟังภาครัฐด้วยกันเอง จึงจะทำให้เกิดความสมดุลที่ดี เพราะผู้ประกอบการเอกชนมีโอกาสรู้เรื่องราวต่างๆ มากมาย และรู้ว่ากรอบกฎเกณฑ์กติกาที่กำหนดขึ้นมา สามารถปฏิบัติได้จริง มีความเหมาะสม หรือสมเหตุสมผลมากน้อยแค่ไหน เปรียบได้กับองค์กรที่จะต้องฟังเสียงพนักงานด้วยเช่นกัน ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการทุกคนก็ต้องคุยกันให้มากขึ้น เพราะไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการธุรกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก ทุกคนมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนความยั่งยืน ซัพพลายเออร์ หรือเวนเดอร์บางรายที่ให้ความสนใจและพร้อมในการพัฒนาด้านความยั่งยืน อาจจะมีความได้เปรียบมากกว่ารายอื่นๆ ที่กำลังมองดูเรื่องนี้ "เราก็มองไปถึงปี 2030 ซึ่งทุกองค์กรที่กำลังขับเคลื่อนความยั่งยืนจะมีการดำเนินงานในมิติที่คล้ายกันมากๆ แต่สิ่งสำคัญคือ เรายังจะต้องเดินไปพร้อมกัน (Co-existence) และอาจจะสามารถนำพาไปถึงการคิดและสร้างสรรค์ร่วมกัน Co-creation ทำไปพร้อมๆ กัน เพื่อให้เกิดพลังร่วม"
ฐาปน เล่าว่า การจัดงาน Sustainability Expo 2024 ที่จัดต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 5 ก็เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันมากขึ้น ภายใต้แนวคิด Sufficiency for Sustainability มุ่งเน้นให้องค์กรร่วมมือกันเดินตามรอยพระปฐมบรมราชโองการ ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 10 ในการสืบสาน รักษา และต่อยอด เพื่อประโยชน์สุขของคนไทยทุกคน โดยหนึ่งในนั้นก็คือ เรื่องหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ 3 ห่วง (ความพอประมาณ มีเหตุผล และมีความคุ้มกันที่ดี) และ 2 เงื่อนไข (คุณธรรม และความรู้) เพื่อสื่อถึงทุกคนว่า เราจะทำอย่างไรให้เกิดความสมดุลที่ดี
"เราอยู่ในโลกธุรกิจที่บ่อยครั้งเป็นผู้สร้างปัญหา ฉะนั้น ถ้าเราไม่มีความสมดุล พอประมาณ เราก็จะกลายเป็นคนที่ทำอะไรสุดโต่ง จะใช้ก็ใช้สุดโต่ง อยากได้ราคาที่ดีที่สุด คุ้มค่าที่สุด ผู้บริโภคก็บริโภคอย่างไม่หยุดยั้ง แบบที่เรียกว่า Consumerism"
ฐาปน เน้นย้ำว่า เมื่อเราเป็นคนใช้สิ่งของทุกอย่างบนโลกใบนี้ ทุกคนควรคำนึงถึง 5P คือ Planet, People, Prosperity, Partnership and Peace ซึ่งคนจะถามหาเรื่องความเจริญเติบโต แต่ถ้าจะทำให้โลก
ใบนี้ยั่งยืนได้ก็ต้องมีความร่วมมือกัน และจะต้องก่อให้เกิดสันติภาพ นอกจากนี้ ชุมชนต้องเข้มแข็งและพร้อมที่จะช่วยเหลือตัวเองได้ พร้อมทั้งมีโอกาสไปช่วยเหลือชุมชนอื่นๆ ก่อให้เกิดเป็นภาคีช่วยเหลือซึ่งกันและกัน หากเรามีการทำงานร่วมกัน จะกลายเป็นพลังสร้างสรรค์ที่จะเป็นประโยชน์ต่อความยั่งยืน
ธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี บอกว่า ในการพัฒนาที่ยั่งยืน ประเทศไทยต้องทำสองเรื่องไปพร้อมๆ กัน คือ การลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยเอสซีจีได้เสนอให้ภาครัฐจัดทำแผนแม่บทรีไซเคิล เพื่อผลักดันให้มีการดำเนินธุรกิจรีไซเคิลอย่างจริงจัง ซึ่งจะสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับประเทศได้
"ประเทศไทยมีศักยภาพในเรื่องรีไซเคิล แต่เรายังขาดแผนแม่บทที่จะกำหนดทิศทางและกำกับดูแล รวมถึงการขาดจิตสำนักในระดับบุคคลในเรื่อง Circular Economy เช่น การแยกขยะเปียกขยะแห้ง เพื่อให้ได้ของที่มีคุณภาพนำมารีไซเคิลได้จะมีค่าใช้ในการดำเนินการมหาศาล ดังนั้น การดำเนินโครงการอะไรจะต้องคำนึงถึงเรื่องความสามารถในการแข่งขัน อีกประเด็นที่ภาครัฐควรเร่งดำเนินการคือ การเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด โดยเอสซีจีเสนอให้ปลดล็อกกฎหมายและข้อกำหนด (Law and Regulations) เพื่อให้สามารถซื้อ-ขาย ไฟฟ้าพลังงานสะอาดด้วยระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ เพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้าถึงง่ายขึ้น มีการกำหนดให้มีระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพสายส่งโดยรวมทั่วประเทศมีเสถียรภาพมากขึ้น และจะทำให้สามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาดได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ”
ธรรมศักดิ์ บอกว่า เอสซีจี ร่วมกับพันธมิตรภาครัฐและเอกชน กำลังดำเนินโครงการสระบุรีแซนด์บ็อกซ์ เพื่อให้เป็นต้นแบบเมืองคาร์บอนต่ำ ขณะเดียวกัน เอสซีจีมีเป้าหมายผลิตซีเมนต์คาร์บอนต่ำให้ได้ 80% ภายในปีนี้ และจะเพิ่มเป็น 100% ในปีหน้า
ด้าน ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด กล่าวว่า การจะบรรลุเป้าหมายการลดคาร์บอนได้ สิ่งที่ท้าทายมากที่สุดคือ ต้องมีพันธะสัญญาร่วมกัน โดยซีพี ได้กำหนดเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ใน Scope 3 ภายในปี 2050
"ในขณะที่ทุกธุรกิจซีพีใน 20 ประเทศทั่วโลก ยังคงเติบโตในอัตราเฉลี่ย 5-7% ต่อปี ก็ต้องมีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยมีการปล่อยคาร์บอนเฉพาะธุรกิจซีพี 5.8 ล้านตัน ในปี 2023 แต่ถ้ารวมทั้งซัพพลายเชนจะปล่อยคาร์บอนทั้งหมด 79.3 ล้านตันคาร์บอนเทียบเท่าต่อปี ซึ่งถือเป็นความท้ายที่จะต้องดำเนินมาตรการให้มากยิ่งขึ้น"
ศุภชัย บอกว่า ซีพีดำเนินการใน 3 โครงการหลัก ได้แก่ การลดการปล่อยคาร์บอน รวมถึงก๊าซมีเทน การจัดการขยะ โดยเฉพาะขยะอาหาร (Food waste) และการสร้างจิตสำนึก โดยเน้นกระบวนการศึกษา
สำหรับปี 2030 ซีพีตั้งเป้าหมายลดการปล่อยคาร์บอนในการดำเนินงาน Scope 1&2 โดยจะใช้พลังงานหมุนเวียน 50% ทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ ไบโอแมส และไบโอแก๊ส ลดขยะของเสียเป็นศูนย์ด้วยการผลิตเป็นปุ๋ย 1.2 ล้านตัน ลดอาหารขยะ 56,000 ตัน และใช้บรรจุภัณฑ์ที่นำกลับมาใช้ซ้ำ/ใช้ใหม่/ย่อยสลายได้ 100% ส่วนใน Scope 3 จะลดคาร์บอนร่วมกับคู่ค้าให้ได้ 25% โดยจะมีมาตรการเพื่อจูงใจให้คู่ค้ามีการใช้พลังงานหมุนเวียน
ขณะที่ ธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เล่าว่า
“ไทยยูเนี่ยน ได้เริ่มดำเนินงานด้านความยั่งยืน ตั้งแต่ปี 2014 เป็นเรื่องที่ต้องทำเพื่อความอยู่รอด หลังจากไทยถูกกดดันจากปัญหาเรื่องแรงงาน และการทำประมงผิดกฎหมาย จนกระทั่งปี 2023 ได้ประกาศกลยุทธ์ความยั่งยืน เพื่อพลิกโฉมอุตสาหกรรมอาหารทะเลด้วยการดูแลคนและโลกเพื่อความยั่งยืน ผ่าน 2 เป้าหมายหลักคือ Healthy Living และ Healthy Ocean โดยมีเป้าหมายลดการปล่อยคาร์บอนทั้ง Scope 1,2,3 ให้ได้ 42% ภายในปี 2030 และปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 ซึ่งถือเป็นความท้าทาย เพราะไทยยูเนี่ยนจะต้องทำงานร่วมกับซัพพลายเชนทั่วโลก”
ธีรพงศ์ บอกอีกว่า จากเดิมที่เน้นสัตว์ทะเลจากธรรมชาติ โดยเฉพาะทูน่า เราได้ขยายขอบข่ายการดูแลไปยังสัตว์น้ำประเภทอื่นๆ เช่น แมคเคอเรล แซลมอน รวมไปถึงสัตว์เลี้ยง เช่น กุ้ง เพื่อช่วยให้เกษตรกรมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและทำประมงแบบคาร์บอนต่ำ อย่างไรก็ตาม ต้องมีความร่วมมือจากหลายฝ่าย โดยสถาบันการเงินจะต้องเข้ามาช่วยในด้านการลงทุนเพื่อสนับสนุนให้ทุกฝ่ายในซัพพลายเชนสามารถใช้พลังงานสะอาด นอกจากนี้ ไทยยูเนี่ยนยังขยายแผนความยั่งยืนให้ครอบคลุมไปยังการเกษตร เช่น การปลูกถั่วเหลือง ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการทำอาหารสัตว์ โดยกำหนดนโยบายในการรับซื้อถั่วเหลืองจากเกษตรกรที่ไม่ทำลายป่า และมีระบบการตรวจสอบแหล่งที่มาได้อย่างชัดเจน
“เพราะความยั่งยืนเป็นเรื่องของทุกคน” ที่จะมาร่วมกันเปลี่ยนโลกใบนี้ให้น่าอยู่อย่างยั่งยืน ในงาน Sustainability Expo (SX2024) ได้ตั้งแต่วันนี้ ถึง วันที่ 6 ตุลาคม 2567 เวลา 10.00-20.00 น. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (QSNCC)
ติดตามข่าวสาร และกิจกรรมของ SX ได้ทาง Facebook Page : Sustainability Expo, และแอดไลน์ @sxofficial เตรียมพบกับมุมมองดีๆ และต้นแบบสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างยั่งยืน ตลอดจนร่วมกิจกรรมมากมายเพื่อโลก ด้วยกันที่ Sustainability Expo 2024: Good Balance, Better World #good balancebetter world
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ไทยเบฟ ฟุตบอล อะคาเดมี่ เปิดบ้านจัดงานวันเด็ก 'Chang Children’s Day2025'
บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ น้ำแร่ธรรมชาติตราช้าง พร้อมด้วยเหล่าพันธมิตร จัดกิจกรรม ”Chang Children’s Day 2025” พร้อมมอบรางวัล ‘เด็กดี ไทยเบฟ’ ประจำปี 2568 โดยได้รับเกียรติจาก คุณแพทริค หอรัตนชัย ผู้อำนวยการ ผู้บริหาร สายงานกิจการองค์กร ประเทศไทย บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยคุณกิตติรัตน์ ณ ระนอง ผู้ก่อตั้งและที่ปรึกษาโครงการไทยเบฟ ฟุตบอล อะคาเดมี่, คุณต้องหทัย เพชรชาติ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท โออิชิ โฮลดิ้ง จำกัด, คุณสมชาติ สุรจิตติพงศ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ยูโรเปี้ยนฟู้ด จำกัด (มหาชน), คุณก่องกานต์ กาทอง ผู้จัดการฝ่ายขายในประเทศ บริษัท มอลเทน (ไทยแลนด์) จำกัด และแขกผู้มีเกียรติ เข้าร่วมงาน เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2568 ณ สนาม ไทยเบฟ ฟุตบอล อะคาเดมี่ ซึ่งมีน้องๆเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรมในปีนี้กว่า 800 คน
“กรุงเทพ ดีต่อใจ Bangkok Bestival 2025” เชื่อมโยงพื้นที่สีเขียวกลางกรุง จัดกิจกรรม “ฮีลกาย ฮีลใจ” สู่การใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน
ต้อนรับศักราชใหม่เริ่มต้นด้วยวัน “ศุกร์แรก” ของปี กับเทศกาล “กรุงเทพ ดีต่อใจ Bangkok Bestival 2025” กิจกรรมแห่งความสุข ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน ตอบโจทย์ทุกความต้องการของคนเมืองทุกเพศทุกวัย ภายใต้ความร่วมมือของ
“ซึ้งใจมาหาถึงบ้าน” คาราวาน “ผ้าห่มผืนเขียว” เดินทางข้ามหุบเขา มอบไออุ่นถึงมือพี่น้องชาวพิษณุโลก
หากเอ่ยถึงจังหวัดภาคเหนือนตอนล่าง พิษณุโลกเป็นจังหวัด ที่มีลักษณะเป็นเทือกเขาและที่ราบลุ่ม โดยเฉพาะตำบลบ่อภาค เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่เข้าถึงยาก
กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดงาน'ชัยพัฒนาแฟร์ สัญจร นครนายก'
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ไปยังเขื่อนขุนด่านปราการชล อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ทรงเปิด “ศูนย์ฝึกอบรมสุดาเดือนเพ็ญและที่พักของมูลนิธิชัยพัฒนา” และงาน “ชัยพัฒนาแฟร์ สัญจร จังหวั