บริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำด้านยาและชีวเภสัชภัณฑ์ระดับโลก ผนึกกำลัง 4 มหาลัยชั้นนำของประเทศไทย อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดพิธีร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)
ความร่วมมือในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายในการร่วมกันพัฒนาบุคคลากรในอุตสาหกรรมเภสัชกรไทยให้มีทักษะสูงและสอดคล้องไปกับความต้องการและมาตรฐานของอุตสาหกรรมฯ โดยความร่วมมือนี้จะเป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาในสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ได้สัมผัสประสบการณ์การทำงานจริง ในด้านการสื่อสารสัมพันธ์ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ (Medical Science Liaison) และการเข้าสู่ตลาดในธุรกิจเวชภัณฑ์ (Market Access) ซึ่งถือเป็นสองสาขาที่มีความสำคัญและมีการเติบโตในอุตสาหกรรมฯ เป็นอย่างมาก ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวจะมีผลตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม 2567 ไปจนถึงวันที่ 30 กรกฎาคม 2572 และจะเป็นแรงผลักดันให้อุตสาหกรรมก้าวหน้า ผ่านการสร้างบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาระบบสุขภาพ และความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภก. นรินทร์ จันทร์ศรี คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในนามคณะเภสัชศาสตร์ 4 สถาบัน ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า “สถาบันมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ทำการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกับบริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นผู้นำด้านเวชภัณฑ์ระดับโลก ที่มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาสุขภาพของประชาชนไทยโดยการวิจัยและพัฒนายานวัตกรรม สถาบันเชื่อมั่นว่า ความร่วมมือครั้งนี้จะช่วยส่งเสริมให้นิสิต นักศึกษา ได้พัฒนาการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง โดยการฝึกปฏิบัติการในบริษัทฯ รวมถึงถือเป็นก้าวสำคัญในการประสานความร่วมมือของสถาบันและบริษัทฯ ในการจัดการการเรียนรู้ และฝึกปฏิบัติวิชาชีพเภสัชกรรมของ นิสิต นักศึกษา ทางด้านการสื่อสารสัมพันธ์ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ (Medical Science Liaison) และการเข้าสู่ตลาดในธุรกิจเวชภัณฑ์ (Market Access) และมุ่งหวังว่าความร่วมมือครั้งนี้จะเสริมสร้างศักยภาพในการวิจัยและพัฒนาในสาขาเภสัชศาสตร์ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาและยกระดับมาตรฐานการศึกษาและการวิจัยในประเทศไทยให้สูงขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างพันธมิตรที่แข็งแกร่งระหว่างภาคการศึกษาและภาคธุรกิจ เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อสังคมและวงการแพทย์ สถาบันขอขอบคุณทุกฝ่ายที่มีส่วนร่วมในความร่วมมือครั้งนี้ และหวังว่าจะมีความสำเร็จและก้าวหน้าอย่างยั่งยืนในอนาคต”
ดร. แมรี่ เสรฐภักดี กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด เผยว่า “เอ็มเอสดี ยังคงมุ่งมั่นในการพัฒนาสุขภาพของคนไทยอย่างต่อเนื่องผ่านการวิจัยและพัฒนายานวัตกรรมและวัคซีน โดยความร่วมมือในครั้งนี้สอดคล้องกับพันธกิจของเราในการพัฒนาบุคลากรเภสัชกรที่มีทักษะสูงในอนาคตของประเทศไทย และยังเป็นโอกาสสำคัญในการเสริมสร้างความรู้และทักษะของนักศึกษา ผ่านหลักสูตรร่วมที่มุ่งเน้นด้านสาขาการสื่อสารสัมพันธ์ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ (Medical Science Liaison) และการเข้าสู่ตลาดในธุรกิจเวชภัณฑ์ (Market Access) เราจะส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ ช่วยให้นักศึกษาเตรียมความพร้อมสู่การเป็นเภสัชกรที่พร้อมทำงานในอุตสาหกรรม ความร่วมมือนี้จะมอบประสบการณ์จริงและการพัฒนาทักษะให้กับนักศึกษา ช่วยให้พวกเขาสามารถประสบความสำเร็จในอาชีพเภสัชกรรมในอนาคตได้อย่างมั่นใจ”
จากความร่วมมือดังกล่าว บริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ร่วมมือกันพัฒนาหลักสูตรการฝึกงานนี้ขึ้นมา โดยได้รับการออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์สองสาขาสำคัญในอุตสาหกรรมเภสัชกรรมโดยเฉพาะ ดังนี้
- สาขาการสื่อสารสัมพันธ์ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ (Medical Science Liaison) โดยจะช่วยให้นักศึกษาเภสัชศาสตร์ได้เรียนรู้ทักษะสำคัญในการวิจัย วิเคราะห์ และนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับโรคและการรักษา รวมถึงการทบทวนงานวิจัย (Literature Review) จากฐานข้อมูลของสถาบันและแหล่งข้อมูลของบริษัท ซึ่งทักษะและความชำนาญเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการสื่อสารข้อมูลด้านเภสัชกรรมให้กับบุคลากรทางการแพทย์อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมผลลัพธ์ด้านสุขภาพ สอดคล้องไปกับการปฏิบัติตามมาตรฐานทางวิชาการอย่างเคร่งครัด
- สาขาการเข้าสู่ตลาดในธุรกิจเวชภัณฑ์ (Market Access) ที่มุ่งเตรียมนักศึกษาให้สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดเภสัชกรรม เพิ่มการเข้าถึงนวัตกรรมการรักษาสำหรับผู้ป่วย และประเมินแนวทางการเข้าถึงตามกฎระเบียบท้องถิ่นและแนวทางการตลาดเชิงจริยธรรมภายในระบบสุขภาพ
บริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด และมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้ง 4 แห่งจะจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวก อุปกรณ์ และทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับนักศึกษาในการฝึกงานในสองสาขานี้ เพื่อให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์การทำงานจริงที่มีคุณค่า โดยเน้นการสื่อสารทางการแพทย์เพื่อส่งเสริมผลลัพธ์ทางสุขภาพที่ดีขึ้น เพิ่มการเข้าถึงยานวัตกรรมสำหรับผู้ป่วย และยึดมั่นในหลักปฏิบัติทางจริยธรรมในอุตสาหกรรมเภสัชกรรม โดยการฝึกงานที่บริษัท เอ็มเอสดี ประเทศไทย จะใช้เวลามากกว่า 30 วัน (30 วันเท่ากับ 1 รอบการฝึกงาน) ความร่วมมือในครั้งนี้คาดว่าจะมีส่วนสำคัญต่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชากรไทย และส่งเสริมความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องของระบบสาธารณสุขและการดูแลสุขภาพในประเทศไทย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘อารี’ มอบวุฒิบัตรผู้ผ่านการฝึกอบรม หลักสูตรนวดศีรษะ และการประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในเครื่องปรับอากาศภายในบ้าน สร้างรายได้
นายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้รับมอบหมายจากนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้เยี่ยมชมการฝึกอบรมและมอบวุฒิบัตรผู้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการนวดศีรษะ และหลักสูตรการประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในเครื่องปรับอากาศภายในบ้าน
30 โรงงานของ CPF รับรางวัล CSR-DIW Continuous Award จากกรอ. เดินหน้าร่วมรับผิดชอบสังคมและชุมชน
จากความมุ่งมั่นในการสร้างความสมดุลทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ธุรกิจสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนและสังคมได้อย่างยั่งยืน บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ จึงส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรในทุกระดับของทุกกลุ่มธุรกิจ มีส่วนร่วมสร้างประโยชน์ในทุกมิติแก่สังคมและชุมชนที่สถานประกอบการของบริษัทฯตั้งอยู่ เพราะถือว่าซีพีเอฟคือหนึ่งในสมาชิกของชุมชน
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เดินหน้าจัดงานมหกรรมพุทธธรรมนำสื่อสร้างสันติสุข ต่อเนื่องปีที่ 3 ภายใต้แนวคิด “สื่อ เตือน สติ”
วันที่ 13 ธค. 2567 ท่านพระครูวินัยธรจีรเดช จิรเตโช ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม (ประธานพิธีฝ่ายสงฆ์) กล่าวสัมโมทนียกถา นางยุถิกา อิศรางกูร
1 ปีมีเพียงครั้งเดียว! “รวิน” แถลงจัดเทศกาลท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน : NSM Night at the Museum Festival 2024
1 ปีมีเพียงครั้งเดียว! “รวิน” แถลงจัดเทศกาลท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน : NSM Night at the Museum Festival 2024
“เทด้า” คว้ารางวัล “คู่ค้าดีเด่นประจำปี 2567” จาก กฟผ.
นายธงชัย เพ็ชรยิ้ม ผู้อำนวยการบริหาร และ นายครองเกียรติ์ อุดมรัตนชัยกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทด้า จำกัด ที่ดำเนินธุรกิจด้านการก่อสร้างสถานีไฟฟ้าและสายส่งไฟฟ้าแรงสูง
"พิพัฒน์" รับแก้ปัญหาแรงงานนอกระบบ อิสระ ทำงานที่บ้าน สั่งช่วยเปิดทางแหล่งทุน ที่ทำมาหากิน ฟื้นฟูเศรษฐกิจ พัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้
วันที่ 13 ธันวาคม 2567 เวลา 13.30 น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายภุชงค์ วรศรี ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน และผู้บริหารกระทรวงแรงงาน ให้การต้อนรับ