วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เวลา 14.00 น. นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวแถลงนโยบายกระทรวงแรงงานและแนวทางการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ต่อสื่อมวลชน ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน ว่า กระทรวงแรงงาน ได้ขานรับนโยบาย ปี 2568 ภายใต้การนำของท่านพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ที่มุ่งเน้นนโยบาย “หลักประกันทางสังคมเด่น เน้นทักษะทันสมัย คนไทยมีงานทำ สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย เศรษฐกิจ แรงงานไทยมั่นคง”ขับเคลื่อนภารกิจสำคัญเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและการทำงานของพี่น้องผู้ใช้แรงงาน
นายบุญสงค์ กล่าวต่อว่า ตามที่ได้มีประกาศพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ผมดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงแรงงาน เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2567 ที่ผ่านมานั้น ผมมีความมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนภารกิจสำคัญเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและการทำงานของพี่น้อง ผู้ทำงานทั่วประเทศ โดยนโยบายกระทรวงแรงงาน ปี 2568 จะถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองความท้าทายด้านแรงงานในปัจจุบัน และส่งเสริมการสร้างระบบแรงงานที่มั่นคง มีประสิทธิภาพ และทันสมัย ผมจะใช้นโยบายกระทรวงแรงงาน ปี 2568 “หลักประกันทางสังคมเด่น เน้นทักษะทันสมัย คนไทยมีงานทำ สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย เศรษฐกิจ แรงงานไทยมั่นคง” ภายใต้ การกำกับดูแลของท่านพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นเข็มทิศในการทำงาน เพื่อขับเคลื่อนกระทรวงแรงงานให้เป็น “ครอบครัวแรงงาน” เป็นที่ “ยอมรับ เชื่อมั่น ไว้วางใจ” เสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับพี่น้องแรงงานทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นแรงงานในระบบ แรงงาน นอกระบบ ผู้ประกอบการ หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งผมจะดำเนินนโยบายหลักให้ทุกภาคส่วนได้รับการคุ้มครองและมีสิทธิประโยชน์ที่เป็นธรรม
นายบุญสงค์ ยังกล่าวถึงมาตรการในการช่วยเหลือนายจ้างและผู้ประกันตนที่ได้รับความเดือดร้อนจากการประสบอุทกภัยตามประกาศของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยว่า กระทรวงแรงงาน โดยคณะกรรมการประกันสังคม สำนักงานประกันสังคม มีมติเห็นชอบ มาตรการช่วยเหลือเร่งด่วน ดังนี้
1) การลดอัตราเงินสมทบ ช่วงระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่งวดเดือนตุลาคม 2567 ถึงงวดเดือนมีนาคม 2568 โดยอัตราเงินสมทบผู้ประกันตนมาตรา 33 และนายจ้าง ลดจาก 5% เหลือ 3% และอัตราเงินสมทบสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 39 ลดจาก 9% เหลือ 5.9% (เหลือจ่ายสมทบเดือนละ 283 บาทต่อเดือน) ซึ่งสามารถลดภาระนายจ้างและผู้ประกันตน ได้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 7 พันกว่าล้านบาท จำแนกเป็น สมทบฝ่ายนายจ้าง ประมาณ 3,400 ล้านบาท และผู้ประกันตน มาตรา 33 และ 39 จำนวนประมาณ 3,700 ล้านบาท โดยนายจ้างและผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ที่เคยจ่ายเงินสมทบ 750 บาท ต่อเดือน (คำนวณจากเงินค่าจ้าง 15,000 บาท) จะได้ลดอัตราเงินสมทบเดือนละ 300 บาท เหลือจ่ายสมทบเดือนละ 450 บาท รวม 6 เดือน ได้ลดเงินสมทบคนละ 1,800 บาท สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 39 จากเดิมจ่ายเงินสมทบเดือนละ 432 บาท จะได้รับการลดอัตราเงินสมทบเดือนละ 149 บาท รวม 6 เดือน ได้ลดเงินสมทบ 894 บาท
2) การขยายระยะเวลาการนำส่งเงินสมทบ โดยสำนักงานประกันสังคมขยายกำหนดเวลายื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบและการนำส่งเงินสมทบของนายจ้างและผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และการนำส่งเงินสมทบของผู้ประกันตนตามมาตรา 39 งวดกันยายน - งวดธันวาคม 2567 ให้นายจ้างสามารถนำส่งเงินสมทบได้ภายใน 4 เดือน นับจากงวดที่ต้องนำส่ง ตามมาตรการ เช่น งวดกันยายน 2567 สามารถนำส่งได้ภายในเดือนมกราคม 2568
3) โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน พ.ศ. 2567 เพื่อช่วยเหลือผู้ประกันตน ในการเข้าถึงการซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้น ลดภาระทางการเงินในการผ่อนชำระที่อยู่อาศัยและส่งเสริมความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัยสำหรับผู้ประกันตน วงเงินสินเชื่อในโครงการ 10,000 ล้านบาท ครอบคลุม 72 จังหวัด โดยวงเงินสินเชื่อกระจายตามสัดส่วนของผู้ประกันตนที่มีสิทธิ ในแต่ละจังหวัด ไม่เกินรายละ 2 ล้านบาท
นายบุญสงค์ กล่าวต่อว่า กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคมได้ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างหลักประกันความมั่นคงให้แก่ผู้ประกันตน เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน และเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต รวมถึงพัฒนาสิทธิประโยชน์ โดยเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2567 ที่ประชุมคณะกรรมการประกันสังคม (ชุดที่14) ครั้งที่ 11/2567 มีมติเห็นชอบให้ปรับเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตร สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 ซึ่งมีบุตรตั้งแต่แรกเกิด จนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จากเดิม 800 บาท เป็นเดือนละ 1,000 บาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณายกร่างปรับปรุงแก้ไขกฎกระทรวงการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร (ฉบับที่..) พ.ศ. .... เพื่อเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานลงนาม โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 ทั้งนี้ ให้ปรับอัตราเหมาจ่ายเงินสงเคราะห์บุตรเป็นอัตรา 1,000 บาทต่อเดือนต่อบุตรหนึ่งคน สำหรับบุตรที่มีอายุไม่เกิน 6 ปี และได้รับสิทธิคราวละไม่เกิน 3 คน
“ส่วนการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยในระยะเร่งด่วนหลังน้ำลด จากสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย แพร่ พะเยา สุโขทัย และน่าน กระทรวงแรงงานได้มีการดำเนินการโครงการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนอาชีพ เพื่อประชาชน ที่ประสบ ความเดือดร้อนให้มีรายได้เลี้ยงดูตนเองและครอบครัวในระหว่างที่ไม่มีรายได้ โดยการจ้าง ให้ทำงานที่เป็นงานสาธารณประโยชน์ และเป็นประโยชน์ต่อชุมชน โดยได้รับค่าตอบแทนจาก การทำงานวันละ 300 บาท ด้วย ซึ่งผมในฐานะปลัดกระทรวงแรงงานมีความมุ่งมั่นที่จะเดินหน้าผลักดันนโยบายให้พี่น้องแรงงานได้รับการคุ้มครองและการสนับสนุนที่เป็นธรรม และขอให้ ทุกภาคส่วนร่วมมือกันเพื่อสร้างสังคมแรงงานที่เข้มแข็งและมั่นคงอย่างยั่งยืนต่อไป” นายบุญสงค์ กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“พิพัฒน์” พบ รมว.แรงงาน ญี่ปุ่น ถกเพิ่มอัตราจ้างคนไทยดูแลผู้สูงอายุ พร้อมหนุนองค์กรรับส่งแรงงานไทย
เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน นายเดชา พฤกษ์พัฒนรักษ์ อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เรือเอก สาโรจน์ คมคาย อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี
"พิพัฒน์" ส่ง สปส. จับมือการยางแห่งประเทศไทย ดูแลชาวสวนยาง กว่า 1.5 ล้านคน ให้สิทธิประโยชน์ ม. 40 สร้างคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ
เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2567 เวลา 15.30 น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในการเปิดโครงการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมความเชื่อมั่นประกันสังคมมาตรา 40 รุ่นที่ 2 พร้อมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง กระทรวงแรงงาน
ประกันสังคม เปิดโอกาสให้ผู้ประกันตนเปลี่ยน รพ. ปี 68 ผ่าน 4 ช่องทาง เริ่ม 16 ธ.ค.67 นี้
นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน แจ้งว่า สำนักงานประกันสังคม แจ้งให้ผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 สามารถเปลี่ยนสถานพยาบาลประจำปี 2568 ได้ ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2567 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 ผ่าน 4 ช่องทาง คือ 1.
บุญสงค์ ปลัดแรงงาน เปิดประชุมรับฟังความคิดเห็น พร้อมขับเคลื่อนการเพิ่มสิทธิประโยชน์ประกันสังคม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงาน
วันที่ 9 ธันวาคม 67 เวลา 13.30 น. นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการจัดการประชุมรับฟังความคิดเห็น “การเพิ่มสิทธิประโยชน์เมื่อปรับเพดานค่าจ้าง” โดยมี นางมารศรี ใจรังษี
จับตา 12 ธ.ค. ลุ้นบอร์ดไตรภาคี ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทต่อวัน
ประธานบอร์ดไตรภาคี นัดประชุม 12 ธันวาคม นี้ ลุ้นปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทต่อวัน เป็นของขวัญปีใหม่ พร้อมระบุมั่นใจ มาครบองค์ประชุมทั้ง 3 ฝ่าย
'พิพัฒน์' มอบ เลขา 'อารี' วางศิลาฤกษ์อาคารสำนักงานประกันสังคมจังหวัดบุรีรัมย์ สาขานางรอง พร้อมยกระดับการให้บริการ เพิ่มความสะดวกแก่ นายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันตนในเขตพื้นที่ทั้ง 10 อำเภอ
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารสำนักงานประกันสังคมจังหวัดบุรีรัมย์ สาขานางรอง ในวันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม 2567