บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) โดยนางปวิตา โตทับเที่ยง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารความยั่งยืน และสื่อสารองค์กร จับมือ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม นำโดย ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ จากภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ และ บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ บิ๊กซี ผนึกกำลังจัดโครงการ “พี่ปุ้มปุ้ย...พาน้องพะยูนกลับบ้าน”
ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า จากข้อมูลของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ซึ่งได้ทำการสำรวจการแพร่กระจายสัตว์ทะเลหายากบริเวณจังหวัดตรัง ด้วยวิธีการบินสำรวจแบบ Line Transect และ Hot Spot บริเวณเกาะลิบง เกาะมุก เกาะสุกร แหลมไทร และบริเวณแนวหญ้าทะเลใกล้เคียง ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดตรัง พบว่าพะยูนมีแนวโน้มจำนวนประชากรลดลง และกระจายตัวในพื้นที่กว้างมากขึ้น โดยพบพะยูนประมาณ 86-121 ตัว เป็นพะยูนคู่แม่-ลูกอย่างน้อยประมาณ 3 คู่ เต่าตนุจำนวน 107-152 ตัว และโลมาจำนวน 13 ตัว (ซึ่งมีโลมาคู่แม่-ลูก จำนวน 4 คู่) ซึ่งมีจำนวนลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจในปี 2566
“มีข้อสันนิษฐานว่าการลดลงของพะยูนในพื้นที่เกาะมุกและเกาะลิบง นั้นอาจเป็นไปได้ว่ามีการอพยพย้ายถิ่นไปยังแหล่งหญ้าทะเลซึ่งเป็นอาหารสำคัญของพะยูนในพื้นที่ใกล้เคียง เพราะอิทธิพลจากปรากฏการณ์ภาวะโลกร้อน ความขาดแคลนแหล่งหญ้าทะเล รวมถึงผลกระทบจากชาวประมงและนักท่องเที่ยว ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลให้พะยูนไทยอยู่ในภาวะวิกฤติและกำลังจะสูญพันธ์ในที่สุด ความร่วมมือในการจัดโครงการ “พี่ปุ้มปุ้ย...พาน้องพะยูนกลับบ้าน” จึงเป็นจุดเริ่มต้นครั้งสำคัญในการจุดประกายแรงบันดาลใจ ความหวัง และสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนทุกคนช่วยกันดูแลทะเลไทยและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นของพวกเราทุกคน ให้มีความอุดมสมบูรณ์เพื่อลูกหลานเราต่อไป” ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี กล่าว
ด้าน ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ กล่าวว่า จำนวนประชากรที่ลดลงไปอย่างมากในปัจจุบันถือเป็นเรื่องที่น่าตกใจและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องให้ความสำคัญเร่งด่วน ก่อนที่พะยูนจะสูญพันธ์และส่งผลกระทบมหาศาลกับชุมชนโดยรอบ ประชาชน และโลกใบนี้ เนื่องจากพะยูนถือเป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเล
“พะยูน คือสิ่งที่ทำให้นึกถึง จ.ตรัง เป็นเหมือนมาสคอตทำให้คนมาท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจให้กับชุมชน เมื่อคนรู้จักพะยูน ก็จะช่วยกันอนุรักษ์ทะเลทั้งหมดของประเทศไทย เชื่อว่าชาวบ้านในชุมชนเข้าใจดีว่านี่คือสิ่งสำคัญที่ทำให้เราต้องช่วยกันอนุรักษ์พะยูน แต่ที่ผ่านมาพะยูนยังถูกคุกคามอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องถิ่นที่อยู่ หญ้าทะเลซึ่งเป็นอาหารหลักถูกทำลาย วันนี้เราต้องลุกขึ้นมาช่วยกันทำเพื่อพะยูนอย่างจริงจัง" ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ กล่าว
“ปุ้มปุ้ย เป็นผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋องปรุงรส ที่มีผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ใช้วัตถุดิบจากท้องทะเล ตระหนักความสำคัญของการดูแลและอนุรักษ์ให้ท้องทะเลมีความอุดมสมบูรณ์ ประกอบกับเล็งเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับทะเลไทยไม่ว่าจะเป็นการลดจำนวนลงของพะยูน และสัตว์ทะเลหายาก จึงได้ผนึกกำลังกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน จัดโครงการ “พี่ปุ้มปุ้ย...พาน้องพะยูนกลับบ้าน” ขึ้น ภายใต้คอนเซ็ปต์ ปุ้มปุ้ย ทุกรอยยิ้มคือความภูมิใจ ร่วมรักษ์ทะเลไทยอย่างยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในการอนุรักษ์ทะเล สัตว์ทะเลหายาก และพะยูนไทย ซึ่งถือเป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเล ไม่ให้สูญพันธุ์ ตลอดจนการสร้างเครือข่ายนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล และเป็นสะพานในการเชื่อมต่อลูกค้าให้มีโอกาสร่วมสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกแก่ท้องทะเลไทยไปด้วยกัน ทั้งยังเป็นการตอกย้ำและแสดงเจตนารมย์ความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของปุ้มปุ้ยได้เป็นอย่างดีอีกด้วย" นางปวิตา โตทับเที่ยง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารความยั่งยืน และสื่อสารองค์กร บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) กล่าวเสริม
ด้าน นางฐาปณี เตชะเจริญวิกุล รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญของระบบนิเวศทางทะเล บิ๊กซีได้เข้าร่วมโครงการและกิจกรรมต่างๆ ที่มุ่งเน้นการอนุรักษ์สัตว์ทะเลหายาก โดยเฉพาะพะยูนซึ่งเป็นหนึ่งในสัตว์ทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์มากที่สุดในประเทศไทย สำหรับโครงการนี้ บิ๊กซีพร้อมสนับสนุนในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนพื้นที่สำหรับให้ข้อมูลโครงการฯ ณ บริเวณชั้นวางสินค้าของปุ้มปุ้ย เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทะเลไทย พะยูน และสัตว์ทะเลหายากอื่นๆ ทั้งนี้ บิ๊กซียังคงมุ่งมั่นที่จะมีส่วนร่วมในการรักษาสมดุลของระบบนิเวศทางทะเลไทย เพื่อให้สัตว์ทะเลสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างยั่งยืน”
สำหรับโครงการ “พี่ปุ้มปุ้ย...พาน้องพะยูนกลับบ้าน” คือโครงการความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน โดยปุ้มปุ้ยจะมอบเงินสนับสนุนให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สนับสนุนการช่วยเหลือพะยูนและสัตว์ทะเลหายากเบื้องต้น ให้กับอาสาสมัคร เครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรและชุมชนในพื้นที่ สนับสนุนการรักษาพยาบาลพะยูนและสัตว์ทะเลหายากอย่างต่อเนื่อง เพื่อฟื้นฟูสุขภาพให้สมบูรณ์ก่อนปล่อยออกสู่ทะเล สนับสนุนการสำรวจและศึกษาวิจัยประชากรพะยูน สัตว์ทะเลหายาก และแหล่งอาหาร เป็นต้น โดยประชาชนทั่วไปสามารถร่วมสนับสนุนโครงการ “พี่ปุ้มปุ้ย...พาน้องพะยูนกลับบ้านได้” ด้วยการอุดหนุนผลิตภัณฑ์ปุ้มปุ้ยที่วางจำหน่ายในศูนย์การค้าบิ๊กซีได้ทุกสาขา ระหว่างวันที่ 19 กันยายน ถึง 30 ตุลาคม 2567
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดร.ธรณ์ ชี้โลกร้อนฆ่าพะยูน ตายเฉลี่ยเดือนละ 3.75 ตัว แนะไทยควรพูดใน COP29
ในอดีตพะยูนตายเฉลี่ยเดือนละ 1 ตัว ปัจจุบัน (2566-67) พะยูนตายเฉลี่ยเดือนละ 3.75 ตัว
พบพะยูนตายกลางทะเล มีร่องรอยโดนทำร้าย ถอดเขี้ยวออก
เจ้าหน้าที่กลุ่มสัตว์ทะเลหายาก ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง (ตรัง) และชาวบ้านช่วยกันนำซากพะยูนขึ้นฝั่ง ที่บริเวณ
บิ๊กซีร่วมกับพันธมิตร จัดงาน “สวยได้ Save ดี แบบเซเลบิวตี้ที่คุณชอบ” รวมไอเทมสุดฮอตครบครัน มาจัดโปรโมชั่นลดสูงสุด 50 %
“บิ๊กซี” จัดงาน “สวยได้ Save ดี แบบเซเลบิวตี้ที่คุณชอบ”เอาใจสายบิวตี้เลิฟเวอร์ทุกเพศ ทุกวัย สวยครบ จบทุกสไตล์ ที่ใคร ๆ ก็สวยได้ ครั้งแรกของปีกับบิวตี้แฟร์สุดปังรวมสินค้าบิวตี้ไอเท็มสุดฮอตจากแบรนด์ชั้นนำ กว่า 2,000 รายการ ได้แก่ Skynlab, Unilever, Hi-Herb, SRICHAND, P&G, L’Oreal, Osotspa, Nivea, Dentiste และอื่นๆอีกมากมาย
พะยูนยังเหลืออยู่ที่ไหน? อีกเท่าไหร่ในปัจจุบัน
ร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์พะยูนเมืองไทย กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ขอความร่วมมือช่วยกันส่งจุดที่พบในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาในฝั่งอันดามัน
เร่งแก้ปมเอกชนฟ้องขับไล่ชาวบ้านอาศัยเขตป่าชายเลนตามมติครม.
อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง นำทีมเข้าตรวจสอบสภาพพื้นที่ชุมชนประชาสามัคคี ต.เกาะแก้ว จ.ภูเก็ต ปมข้อพิพาทกับเอกชนชาวบ้านถูกฟ้องขับไล่ออกจากพื้นที่
'โลกร้อน-โลกเดือด'! กระทบ 'พะยูน' เข้าใกล้จุดสูญพันธุ์
เป็นที่รับรู้กันมานานแล้วว่า พะยูนเป็นสัตว์ทะเลหายาก มีความเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ แต่สถานการณ์ปัจจุบันยิ่งทำให้พะยูน ก้าวข้าม