พระสงฆ์และสามเณร เป็นประชากรกลุ่มหนึ่งที่มีแนวโน้มมีปัญหาสุขภาพมากขึ้น โดยพบว่าปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคของพระสงฆ์ คือภาวะไขมันในเลือดสูง ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน การสูบบุหรี่ น้ำตาลในเลือดสูง และความดันโลหิตสูง
ปัจจัยหลักที่ทำให้พระสงฆ์มีความเจ็บป่วย และเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และโรคเบาหวาน นั้น ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการฉันอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ เป็นอาหารที่มีรสหวานจัด เค็มจัด และมีไขมันมากเกินไป รวมถึงการมีกิจกรรมประจำวันที่เคลื่อนไหวร่างกายน้อย
ข้อมูลการวิจัยล่าสุดรายงานว่า ปัจจุบันกลุ่มสามเณรมีภาวะอ้วนมากกว่าเด็กชายทั่วไปถึง 51% รวมถึงพระสงฆ์อ้วนกว่าชายไทยในวัยเดียวกัน 23% จึงกล่าวได้ว่า ปัญหาด้านโภชนาการของสามเณรมีมากกว่าพระสงฆ์
เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานแถลงข่าวโครงการ "สงฆ์ไทยไกลโรค สู่ทศวรรษที่ 2" และเปิดตัวโครงการประกวดการใช้เว็บแอปพลิเคชัน “เณรกล้า โภชนาดี” ชวนโรงเรียนพระปริยัติธรรมทั่วประเทศ ใช้นวัตกรรมสร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพของสามเณร โดยคณะนิเทศศาสตร์ คณะครุศาสตร์ คณะเภสัชกรรมศาสตร์ จุฬาฯ นำเสนอหนังสือชุดความรู้ เณรกล้าโภชนาดี 10 เรื่อง ได้แก่
1.กายดีชีวีตดี 2.โปรตีนกินพอ 3.อาหารต้านเชื้อ 4.ยืดเหยียดเครียดลง 5.ผักผลไม้ใยดี 6.สร้างกล้ามเสริมแกร่ง 7.ปานะไม่หวานนะ 8.คาร์ดิโอ ไตดี 9.ออกกำลังสร้างกระดูก และ 10.ดื่มนมสมส่วน
นายพงษ์ศักดิ์ ธงรัตนะ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร (สำนัก 8) สสส. เปิดเผยว่า สสส.ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาโครงการสงฆ์ไทย ไกลโรค และโครงการเณรกล้า โภชนาดี อย่างต่อเนื่อง มุ่งสร้างเสริมพฤติกรรมทางโภชนาการที่ดี ลดความเสี่ยงป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs ที่เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญในพระสงฆ์และสามเณร รวมถึงพัฒนาชุดสื่อความรู้ 2 ชุด ได้แก่ 1.ชุดสื่อสงฆ์ไทยไกลโรค 4.0 ช่วยพระสงฆ์ ประเมินการฉันอาหาร น้ำปานะ และออกกำลังกายอย่างเหมาะสม 2.ชุดสื่อเณรกล้า โภชนาดี ใช้สร้างเสริมพัฒนาการด้านโภชนาการ สำหรับสามเณรในโรงเรียนพระปริยัติธรรม และได้ต่อยอดพัฒนาเป็นนวัตกรรม “เว็บแอปพลิเคชัน เณรกล้า โภชนาดี” นำเสนอในรูปแบบ Interactive Web-based program ให้สามเณรใช้บันทึกพฤติกรรมสุขภาพทั้งการฉันและการออกกำลังกาย ล่าสุดได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติจากการประกวดนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ Prime Minister's Award for Health Promotion Innovation 2023 ด้วย
ในทศวรรษที่ 2 ภายใต้โครงการสงฆ์ไทย ไกลโรค และโครงการเณรกล้า โภชนาดี สสส. จะมุ่งขับเคลื่อนสุขภาวะพระสงฆ์และสามเณรใน 2 เรื่องสำคัญ คือ 1.เสริมสร้างศักยภาพพระสงฆ์และสามเณรให้เป็นผู้นำด้านสุขภาวะของชุมชนและสังคม ตามกรอบการทำงานของธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ นำไปสู่การเกิดสังคมสุขภาวะที่ดีและยั่งยืน 2.สร้างการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมสุขภาพของสามเณร โดยขับเคลื่อนการนำชุดสื่อและเว็บแอปพลิเคชันไปใช้ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม
"ทั้งนี้ ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา สสส.ขับเคลื่อนโครงการสงฆ์ไทย ไกลโรค และโครงการเณรกล้า โภชนาดี ดำเนินการครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ มีต้นแบบด้านการสร้างเสริมสุขภาพในพระสงฆ์และสามเณรแล้ว 34 ภาคี” นายพงษ์ศักดิ์กล่าวชี้แจง
ศ. ภญ. ดร.จงจิตร อังคทะวานิช หัวหน้าโครงการเณรกล้า โภชนาดี และกรรมการโครงการสงฆ์ไทย ไกลโรค เปิดเผยว่า ปัญหาด้านโภชนาการของสามเณรในปัจจุบันที่มีมากกว่าพระสงฆ์ สาเหตุมาจากการไม่มีหลักสูตรโภชนาการเฉพาะของสามเณร สอดคล้องกับรายงานการศึกษาประสิทธิผลการใช้สื่อเณรกล้า โภชนาดี ในการสร้างเสริมพฤติกรรมการฉันอาหารและการออกกำลังกาย ในสามเณร 155 รูป ในปี 2567 พบว่าโดยเฉลี่ยแล้วในแต่ละวันสามเณรฉันผัก 3 ช้อนโต๊ะ ฉันนม 1 แก้ว ฉันน้ำหวานสูงถึง 1 แก้วครึ่ง และออกกำลังกายเพียง 30 นาที ซึ่งควรออกกำลังกายอย่างน้อย 60 นาที
สำหรับโรงเรียนปริยัติธรรมที่ต้องการใช้สื่อเณรกล้า โภชนาการดี เพื่อดูแลโภชนาการของสามเณร สามารถเข้าศึกษาข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ https://www.sonkthaiglairok.com/เณรกล้าโภชนาดี
“การดูแลน้องเณรต้องทำงานวิจัย ไม่ใช่วิชาการ แต่เราเข้าไปสัมผัสศึกษาวิจัยน้องเณร มีเรื่องเด่นๆ 'ผักน้อยเกิน เติมนมวัว รัวน้ำหวาน ไม่ออกกำลังกาย กำลังงานถดถอย' ขอเชิญชวนเปิดโทรศัพท์มือถือเข้าไปในแอป เณรกล้า โภชนาดี เป็นการระดมพลังคณาจารย์จากคณะครุศาสตร์ มีความชำนาญเรื่องเทคโนโลยีสื่อสารเด็ก ตกผลึกด้วยการทำเป็นเกมเพราะน้องเณรขี้เบื่อ ด้วยการให้ความรู้ผ่านคลิปสั้นๆ 'ดื่มดีนมวัว สุขชัวร์เพิ่มผัก รักออกกำลัง หยุดยั้งน้ำหวาน' เรามีสำนักโภชนาการ สำนักอนามัยทั่วประเทศ ขับเคลื่อนการเสริมสร้างสุขภาพ"
ผศ. ดร.ฐิตินัน บุญภาพ คอมมอน หัวหน้าโครงการสงฆ์ไทยไกลโรค เปิดเผยถึงโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ ผู้นำทางสุขภาพต้นแบบ สงฆ์ไทยไกลโรค “สามเณรนักสื่อสารสุขภาวะ” เป็นการถวายความรู้แด่สามเณรเกี่ยวกับความรอบรู้ทางสุขภาวะสำหรับสามเณรตามสโลแกนที่ว่า ดื่มดีนมวัว สุขชัวร์เพิ่มผัก รักออกกำลัง หยุดยั้งน้ำหวาน การบรรยายหัวข้อ กายะ กิจกรรมสำคัญอย่างไร กิจกรรมตามฐานสถานีสุขภาพ การอ่านฉลากเครื่องดื่มและอาหาร การทดสอบสมรรถนะทางกายของสามเณร การฝึกปฏิบัติทักษะการออกแบบและผลิตวิดีโอสั้น สนุกอย่างมีสาระ เพื่อสื่อสารสุขภาพแด่สังคม การฝึกปฏิบัติการสื่อสารดำเนินรายการหน้ากล้องสำหรับสามเณร สร้างการบอกต่อชี้นำทางสุขภาพที่มีพระสงฆ์และสามเณรเป็นต้นแบบสุขภาวะ ตามหลักการในธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติที่ว่า พระสงฆ์แข็งแรง วัด มั่นคง ชุมชนเป็นสุข โดยมีพระสงฆ์และสามเณรเป็นผู้นำทางสุขภาพของชุมชน
ในโอกาสนี้ โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา ส่งเสริมคนไทยให้สุขภาพดี จัดบูธโชว์นวัตกรรมสื่อสารสุขภาวะอย่างสนุกและมีสาระ Station นิทรรศการ ใส่ใจ ใส่บาตร กินถูกส่วน 2:1:1:1 (ผัก:คาร์โบไฮเดรต:โปรตีน:ผลไม้) ใช้สารให้ความหวานจากธรรมชาติ หญ้าหวาน หล่อฮั่งก๊วย บัวหิมะ ชะเอมเทศ น้ำผึ้ง เชื่อหรือไม่? น้ำหวาน Blue Hawaii มีน้ำตาลสูงสุด 15 ช้อนชา กาแฟเย็นมีท็อปปิ้งมีน้ำตาล 12ช้อนชา ทั้งๆ ที่แต่ละวันควรกินน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชา.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สสส. ทำถึง กวาด 14 รางวัลสื่อสาร จากแอด พีเพิล อวอร์ส 2567 ผ่าน 5 ผลงาน สื่อสารการตลาดเพื่อสังคม “Walk Stadium” “หมวกกันน็อกคืนชีพ” “แอร์ล้างได้ปอดล้างไม่ได้” “พวงเครื่องปรุงจิ๋ว” “การเดินทางของบุหรี่”
น.ส.สุพัฒนุช สอนดำริห์ ผู้อำนวยการสำนักอาวุโส สำนักสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ผลงานโฆษณาและการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สสส. ได้รับรางวัลแอด พีเพิล อวอร์ส 2567
ต่อยอด! ติดอาวุธสมองป้องกัน ความเสี่ยงภัยบนโลกไซเบอร์
ผลสำรวจปี 2567 คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตมากถึง 88% ของประชากรทั้งหมด และส่วนใหญ่ใช้งานนานเกือบ 8 ชั่วโมงต่อวัน แสดงให้เห็นว่าเราใช้เวลาเกือบ 1 ใน 3 ท่องโลกอินเทอร์เน็ต
โชว์ต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ลดฝุ่นอากาศสะอาดทุกลมหายใจ
"อากาศบริสุทธิ์ใน กทม.เป็นจริงได้ ด้วยจุดเปลี่ยนร่วมมือร่วมใจ ให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้" ด้วยแนวคิดข้างต้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ทำความรู้จัก “เชื้อดื้อยา” จากผลงานประกวดภาพวาดการ์ตูนคอมมิค
การสื่อสารในประเด็น “เชื้อดื้อยา”เพื่อให้คนส่วนใหญ่ รับรู้ เข้าใจ ถึงผลกระทบ และร่วมกันป้องกัน เป็นเรื่องที่องค์กรที่ทำงานด้านนี้ได้พยายามทำมาอย่างต่อเนื่อง
โฟกัสเชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ งดขายเหล้าเทศกาลพร้อมเป็นตาสับปะรด
เชียงใหม่ต้นแบบความสำเร็จ ทุกเทศกาลประกาศงดขายงดดื่มเหล้า ทราบล่วงหน้า 15 วัน ประชุมหน่วยงานเกี่ยวข้องเตรียมพร้อมรับมือ ภาคประชาสังคมพร้อมใจเป็นตาสับปะรดร้องเรียน
'สมศักดิ์' ดึง สสส. ช่วย 'นับคาร์บ' ชวนคนไทยลดโรค NCDs ต้นเหตุคร่าชีวิตคนไทยชั่วโมงละ 45 คน ผจก.สสส.เดินหน้าพัฒนาฐานข้อมูลเชื่อมท้องถิ่นลดเสี่ยง
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะรองประธานกรรมการกองทุน สสส. คนที่ 1 กล่าวในการเป็นประธานประชุมกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 8/2567 ว่า จากข้อมูลพบว่ามีผู้เสียชีวิตจาก NCDs 400,000 คนต่อปี คิดเป็นชั่วโมงละ 45 คน