“พิพัฒน์” รับหนังสือจากสภาองค์การลูกจ้างฯ ขอให้แก้ไขกฎกระทรวงฉบับที่ 7 และ 13 ปรับค่าล่วงเวลาลูกจ้าง ตั้งคณะทำงาน 3 ฝ่ายพิจารณาให้แล้วเสร็จใน 2 เดือน

วันที่ 30 กันยายน 2567 เวลา 13.30 น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมหารือและรับหนังสือจากนายพนัส ไทยล้วน ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย และผู้แทนสภาองค์การลูกจ้างจำนวน 7 สภา เพื่อขอให้กระทรวงแรงงานแก้ไขกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2541) และ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 โดยมี นายวรรณรัตน์ ศรีสุขใส รองปลัดกระทรวงแรงงาน นางสาวกาญจนา พูลแก้ว รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ณ ห้องประชุมศ. นิคม จันทรวิทุร ชั้น 5 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน อาคารกระทรวงแรงงาน
.
นายพิพัฒน์ กล่าวว่า ในวันนี้ผม พร้อมด้วยรองปลัดกระทรวงแรงงาน รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้ร่วมหารือผู้แทนสภาองค์การลูกจ้างฯ ที่ได้มายื่นหนังสือเพื่อขอให้แก้ไขกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2541) ข้อ 2 วรรคสอง ที่กำหนดไม่ให้ลูกจ้างรายเดือนมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนในการทำงานล่วงเวลาเท่ากับลูกจ้างรายวัน และแก้ไขฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2543) ซึ่งตัดสิทธิลูกจ้างรายเดือนไม่ให้ได้รับค่าตอบแทนในการทำงานล่วงเวลา ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 โดยได้มีการหารือในประเด็นเกี่ยวกับการปรับปรุงกฎกระทรวงดังกล่าวเพื่อให้ลูกจ้างรายเดือนได้รับค่าตอบแทนจากการทำงานล่วงเวลา เช่นเดียวกับลูกจ้างรายวัน
.
“ผมได้สั่งการให้จัดตั้งคณะทำงานซึ่งประกอบด้วยผู้แทน 3 ฝ่าย ได้แก่ ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง ฝ่ายลูกจ้าง และฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายละ 7 คน เพื่อศึกษาผลดีและผลเสีย รวมถึงผลกระทบจากการแก้ไขกฎกระทรวงดังกล่าว โดยจะพิจารณาการจ่ายค่าตอบแทนในอัตรา 1.5 เท่าต่อชั่วโมงสำหรับการทำงานล่วงเวลาในวันทำงานปกติ และ 3 เท่าต่อชั่วโมงสำหรับการทำงานในวันหยุด เช่นเดียวกับลูกจ้างรายวันหรือลูกจ้างตามผลงานตามกฎกระทรวงที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจัดประชุมและรายงานผลการศึกษาให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน” นายพิพัฒน์กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"พิพัฒน์" ระดมทีมช่างฝีมือแรงงาน ทั่วภาคเหนือ ซ่อมฟรี! ระบบใช้ไฟฟ้าในบ้าน มอเตอร์ไซค์ อุปกรณ์ประกอบอาชีพ ช่วยบรรเทาผู้ประสบอุทกภัยเชียงราย

วันที่ 25 กันยายน 2567 เวลา 10.30น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ในวันนี้ผม พร้อมด้วยนางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ผู้บริหารกระทรวงแรงงาน และนางบังอร มะลิดิน

1 หมื่น อัตรา ! "พิพัฒน์ - สุรศักดิ์" จับมือ นำ นักเรียน นักศึกษา ทำงานช่วงปิดภาคเรียน MOU 22 ธุรกิจเอกชน สร้างรายได้ ลดรายจ่าย ขยายโอกาส ตั้งแต่วัยเรียน

วันที่ 19 กันยายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

พิพัฒน์ เรียกร้องนายจ้าง เห็นใจลูกจ้าง ขึ้นค่าแรง 400 บาท วอนเข้าร่วมประชุมไตรภาคี พรุ่งนี้ 13.30 น. แย้ม ก.คลัง เห็นด้วยมาตรการบรรเทาผลกระทบนายจ้าง

วันที่ 19 กันยายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงความคืบหน้าการขึ้นค่าแรง 400 บาทว่า ในวันพรุ่งนี้ (20 ก.ย.67) เวลา 13.30

พิพัฒน์ เดินหน้า นำแรงงาน สู่อุตสาหกรรมยุคใหม่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ - ปัญญาประดิษฐ์ AI ปลื้มกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ร่วม บริษัทสยามออโตแบคส์ อบรมแรงงานยานยนต์ EV รับสถานการณ์ แรงงานยานยนต์สันดาปที่ถูกเลิกจ้าง

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน ว่า ปัจจุบันนี้ ประเทศไทยเข้าสู่เทคโนโลยียุคใหม่ที่เรียกว่า 4.0

‘พิพัฒน์’ ห่วงน้ำท่วมเชียงราย กำชับหน่วยงานในสังกัดระดมเจ้าหน้าที่เข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัย

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ซึ่งเป็นผลมาจากปริมาณน้ำฝนที่มีจำนวนมากที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดทางภาคเหนือ โดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ และตาก ที่กำลังประสบภัยน้ำท่วมอยู่ในขณะนี้

พิพัฒน์ ย้ำ 1 ต.ค.ค่าแรง 400 บาท เผยมีข้อเสนอ 7 มาตรการ ช่วยบรรเทาผลกระทบทั้งนายจ้าง-ลูกจ้าง

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงข้อเสนอจากกระทรวงแรงงาน เกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือนายจ้างกรณีขึ้นค่าแรง 400 บาทในช่วงเดือนตุลาคม 2567 ว่า กระทรวงแรงงานได้รับข้อหารือจากผู้ประกอบการ