"ความยั่งยืน" อาชีพใหม่ของ “มนุษย์ทองคำ” ที่กำลังมาแรงในยุคโลกเดือด ในงาน SX2024

ผู้เชี่ยวชาญจากตลาดหลักทรัพย์ฯ, พีทีที โกลบอล เคมิคอล, ไทยวา, เอไอเอส ที่ร่วมงาน SUSTAINABILITY EXPO 2024  ชี้ว่า ตลาดแรงงานไทยกำลังต้องการบุคลากรและผู้ประกอบการที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญในด้านความยั่งยืนเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก เนื่องจาก ESG ได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญเพื่อความอยู่รอดของทุกองค์กร

คุณศุภกร เอกชัยไพบูลย์ รองผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายพัฒนาบริการด้านความยั่งยืน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวในงานสัมมนา "เรื่องราวของคนตัวเล็ก... สู่อาชีพตลาดความยั่งยืนในตลาดทุนไทย" หนึ่งในกิจกรรมของ “SUSTAINABILITY EXPO 2024” ว่า ปัจจุบัน "ความยั่งยืน" หรือ ESG (Environmental, Social, Governance) ได้กลายมาเป็นกลยุทธ์หลักที่จำเป็นต่อความอยู่รอดและการเติบโตขององค์กร ธุรกิจไม่สามารถพึ่งพาแค่ผลกำไรในการอยู่รอดระยะยาวอีกต่อไป ขณะเดียวกัน กฎหมายและระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมยังมีผลบังคับใช้มากขึ้น ทำให้องค์กรต้องแสวงหาผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืนอย่างจริงจัง

คุณชนฉัตร ตันตระกูล ผู้ชำนาญการด้านการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน บมจ. แอดวานซ์  อินโฟร์ เซอร์วิส (AIS) กล่าวว่า ตำแหน่งงานด้านความยั่งยืนจะมีความสำคัญมากขึ้น และเป็นที่ต้องการขององค์กร เปรียบเสมือนเป็น “gold collar”  หรือพนักงานอีกกลุ่มหนึ่งนอกเหนือจาก “white collar” และ “blue collar”  โดยทักษะสำคัญของผู้ประกอบอาชีพด้านความยั่งยืนคือความสามารถในการปรับตัวและความคล่องตัวหรือ “agility” และการเรียนรู้ตลอดชีวิต

คุณนิราวัฒน์ นารอด นักวิเคราะห์กลยุทธ์ด้านความยั่งยืน บมจ. พีทีที โกลบอล เคมิคอล กล่าวว่า ในอดีตงานความยั่งยืนเน้นที่การทำรายงานเป็นหลัก แต่ปัจจุบันงานด้านนี้ได้เชื่อมโยงกับธุรกิจมากขึ้น เช่น การออกแบบกลยุทธ์เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเพิ่มยอดขายผ่านแนวคิดความยั่งยืน ซึ่งเป็นความท้าทายที่ทำให้เกิดความต้องการผู้เชี่ยวชาญในสาขานี้อย่างเร่งด่วน

“เราหาคนที่มีความรู้เรื่องความยั่งยืนขององค์กรยากเหมือนกัน เป็นตำแหน่งงานที่ยังขาดแคลน แต่ว่ามีผลตอบแทนที่แข่งขันได้ อันนี้กล้าการันตีเลยนะครับ” คุณนิราวัฒน์กล่าว

โดยงานด้านความยั่งยืนสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่:

  1. กลยุทธ์ความยั่งยืน: เน้นการวิเคราะห์และคิดค้นกลยุทธ์ที่สร้างสรรค์เพื่อองค์กร
  2. การรายงานและการเปรียบเทียบ (benchmarking): เน้นความเข้าใจในมาตรฐานการจัดทำรายงานความยั่งยืน
  3. กลุ่ม implementation คือพนักงานที่อยู่หน้างาน หรือเจ้าหน้าที่ในแผนกต่าง ๆ เช่น เจ้าหน้าที่ด้านซีเอสอาร์

เจ้าหน้าที่ด้านการจัดการขยะ วิศวกรที่ดูแลเรื่อง decarbonization พลังงานหมุนเวียน  เจ้าหน้าที่ฝ่ายตรวจสอบภายใน  ซึ่งจำเป็นต้องมีทักษะเฉพาะในแต่ละด้านที่รับผิดชอบ

โดย “human skill” คือทักษะที่คนทั้งสามกลุ่มนี้จำเป็นต้องมี เพราะงานด้านความยั่งยืนจำเป็นต้องอาศัยการประสานงานและการสร้างเครือข่ายกับผู้มีส่วนเสียทั้งภายในและภายนอกองค์กร

คุณสสินี ปานสายลม หัวหน้าหน่วยงานความยั่งยืน บมจ.ไทยวา กล่าวว่านอกจาก hard skill หรือทักษะความรู้ทางเทคนิค เช่น มาตรฐานการรายงาน การทำงานต่าง ๆ  ซอฟต์สกิล เช่น การสื่อสาร และการทำงานร่วมกัน เป็นทักษะที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าสำหรับคนทำงานด้านความยั่งยืน เนื่องจากการทำงานด้านความยั่งยืนไม่สามารถประสบความสำเร็จได้โดยปราศจากความร่วมมือจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอกองค์กร

“ยกตัวอย่าง บริษัทไทยวา เราจะมีทีมฟาร์มที่อยู่ใกล้ชิดกับเกษตรกรมากที่สุด  ทีม sustainability ก็อาจจะต้องไปสื่อสารกับทีมฟาร์มว่าเราอยากจะเห็นภาพความยั่งยืนคืออะไร แต่เราก็ต้องรับฟังเค้าด้วยว่าความยั่งยืนของฝั่งฟาร์ม เค้ามองเห็นยังไง แล้วการที่จะส่งต่อไปถึงให้มันเป็นแรงกระเพื่อมส่งไปถึงเกษตรกรได้ เราจะต้องทำอะไรบ้าง มันจะเป็นเรื่องของการสื่อสาร แล้วก็มาช่วยกันคิดหาโซลูชันที่ดีที่สุด”

ตอบโจทย์ทั้งงาน ตอบโจทย์ทั้งใจ

คุณชนฉัตร จาก AIS กล่าวเสริมว่างานความยั่งยืนที่ทำถือว่าตอบโจทย์ทั้งงาน ตอบโจทย์ทั้งใจ เพราะนอกจากจะมาสานต่อความฝันที่อยากจะเป็นนักวิทยาศาสตร์แล้ว ยังเป็นงานที่สามารถช่วยทั้งธุรกิจ ชุมชนและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกันด้วย

“ยกตัวอย่าง ‘โครงการคนไทยไร้ e-waste’ ที่ AIS ได้มีส่วนร่วมกับภาคธุรกิจอื่น ๆ รวมถึงลูกค้าของเรา ในการรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นมือถือ คีย์บอร์ด หรือว่า หูฟัง แกดเจ็ต ต่าง ๆ ไปกำจัดอย่างถูกวิธี โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือสุขภาพ  ก็ถือว่าตอบโจทย์ทั้งเรื่องงาน ตอบโจทย์ทั้งเรื่องใจ แล้วก็ช่วยเหลือชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมด้วย”

“เพราะความยั่งยืนเป็นเรื่องของทุกคน” ที่จะมาร่วมกันเปลี่ยนโลกใบนี้ให้น่าอยู่อย่างยั่งยืน ผ่านกิจกรรมมากมาย และไอเดียสุดเจ๋งด้านความยั่งยืนกับวิทยากรชื่อดัง ศิลปิน ตื่นเต้นไปกับสุดยอดนวัตกรรมกอบกู้โลกให้คุณได้เรียนรู้ และพร้อมปรับตัว เพื่อความอยู่รอดในวิถีชีวิตประจำวันยุคโลกเดือดได้อย่างมีความสมดุล ในงาน Sustainability Expo (SX2024) ได้ตั้งแต่วันนี้ ถึง วันที่ 6 ตุลาคม 2567 เวลา 10.00-20.00 น. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (QSNCC)

ติดตามข่าวสาร และกิจกรรมของ SX ได้ทาง Facebook Page : Sustainability Expo, www.sustainabilityexpo.com และแอดไลน์ @sxofficial  เตรียมพบกับมุมมองดีๆ และต้นแบบสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างยั่งยืน ตลอดจนร่วมกิจกรรมมากมายเพื่อโลก ด้วยกันที่ Sustainability Expo 2024: Good Balance, Better World #good balancebetter world 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เมื่อ “ขยะมีไม่พอ!” สำหรับงานศิลปะ หาคำตอบที่งาน SX2024

ขณะที่คนทั่วโลกกำลังกังวลเรื่องขยะล้นโลก นักออกแบบและผู้นำการเทรนด์การอัพไซเคิล (Upcycle) กลับมองว่าเรามีขยะไม่พอกับความต้องการใช้เพื่อสร้างสรรค์ของใช้และงานศิลปะ

มัดรวม HIGHLIGHT! SX TALK STAGE & FORUM

มัดรวม HIGHLIGHT! SX TALK STAGE & FORUM ร่วมฟังแนวคิดและประสบการณ์จากคนทำจริง ผู้ที่เปลี่ยนแปลงโลกด้วยการลงมือทำอย่างยั่งยืน พร้อมถอดบทเรียนจากองค์กรชั้นนำระดับโลก ที่เป็นต้นแบบในการสร้างความยั่งยืนในทุกมิติ

SX BETTER WORLD "ศิลปะสร้างค่า สู่สมดุลโลก"

SX BETTER WORLD "ศิลปะสร้างค่า สู่สมดุลโลก" โซนนิทรรศการที่จัดแสดงผลงานศิลปะที่หลากหลาย สะท้อนมุมมองด้านความยั่งยืนทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม อาทิ ภาพถ่าย จิตรกรรม ประติมากรรม และผลงานศิลปะอื่น ๆ

"การกินเพื่อกู้โลก" กลายเป็นจริง ธุรกิจอาหารไทยตื่นตัว กับแนวคิดการบริโภคอย่างยั่งยืน บนเวที SX2024

"การกินเพื่อกู้โลก" เป็นไปได้จริงหรือ? สำหรับผู้บริโภคทั่วไปอาจดูเป็นเรื่องไกลตัว แต่สำหรับธุรกิจแล้ว วลีนี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัวแต่อย่างใด ผู้ประกอบการและเชฟต่างมั่นใจว่าการบริโภคอย่างยั่งยืนนั้นเป็นไปได้จริง

โทนี แคร็กก์ ศิลปินชาวอังกฤษ ประติมากรแถวหน้าของโลก ชวนฟังบรรยายพิเศษศิลปะร่วมสมัย ใน SX 2024

วันศุกร์ ที่ 4 ตุลาคม 2567 มูลนิธิ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจ รักงานศิลปะ เข้าร่วมฟังบรรยายพิเศษศิลปะร่วมสมัยจากศิลปิน โทนี แคร็กก์ ศิลปิน

ประกาศรางวัล Trash to Treasure Art & Design Contest ครั้งที่ 5 “ความหลากหลายทางชีวภาพ Biodiversity” สีสันจากวัสดุเหลือใช้ สู่งานศิลปะรักษ์โลก

โครงการประกวดเพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะและการออกแบบ Trash to Treasure Art & Design Contest: ครั้งที่ 5 “ความหลากหลายทางชีวภาพ Biodiversity” จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 5