นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์จากกรณีว่างงานต่อเมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนการว่างงานกับนายจ้างรายสุดท้าย มีระยะเวลาการว่างงานตั้งแต่ 8 วันขึ้นไป โดยต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (เว็บไซต์ https://e-service.doe.go.th ) ของสำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ลาออกหรือถูกเลิกจ้าง หรือสิ้นสุดสัญญาจ้างจึงจะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานนับแต่วันที่ 8 ของการว่างงาน ต้องรายงานตัวตามกำหนดนัดผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของสำนักงานจัดหางานไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง ต้องเป็นผู้มีความสามารถในการทำงาน และพร้อมที่จะทำงานที่เหมาะสมตามที่จัดให้ ต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงาน รวมถึงผู้ว่างงานต้องไม่ถูกเลิกจ้างเนื่องจาก 7 กรณี ดังนี้ 1.ทุจริตต่อหน้าที่กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง 2.จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย 3.ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายในกรณีร้ายแรง 4.ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันควร 5.ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง 6.ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา และ 7.ต้องมิใช่ผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ
อย่างไรก็ตาม การยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนทุกกรณี ผู้ประกันตนจะต้องยื่นเรื่องขอรับเงินภายใน 2 ปี เว้นแต่ กรณีว่างงานผู้ประกันตนจะต้องยื่นขึ้นทะเบียนว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐ ต้องยื่นภายใน 30 วัน หลังจากถูกเลิกจ้างหรือลาออกจากงาน หากยื่นสิทธิเกินกว่า 30 วัน จะไม่ได้รับสิทธิย้อนหลัง และหากยื่นสิทธิเกินวันที่จะได้รับสิทธิไปแล้ว จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานผู้ประกันตนสามารถยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7) และหนังสือรับรองการออกจากงานหรือสำเนาแบบแจ้งการลาออกจากงานของผู้ประกันตนออกจากงานของผู้ประกันตน (สปส. 6-09) ได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทั่วประเทศ ซึ่งปัจจุบันผู้ประกันตนสามารถรับเงินทดแทนได้สะดวกมากขึ้นด้วยการแจ้งบัญชีพร้อมเพย์ที่ลงทะเบียนด้วยเลขบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประกันตนได้ทุกธนาคาร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1506 บริการตลอด 24 ชั่วโมง หรือที่ www.sso.go.th และ Line@ssothai.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"พิพัฒน์” ลุยเพื่อแรงงาน ถกประกันสังคมเอสโตเนีย ยกระดับบริการให้สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน
เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี
‘พิพัฒน์’ห่วงแรงงานไทย นำคณะ ถก ! ระบบบำนาญสวีเดน สร้างมาตรฐาน พัฒนาบริการผู้ประกันตน รองรับสังคมสูงอายุ
มื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม คณะกรรมการประกันสังคม และที่ปรึกษา (ชุดที่ 14) รวมถึงผู้บริหาร
'พิพัฒน์' ย้ำสิทธิประโยชน์อาชีพอิสระ มอบทุนซื้อบ้าน เงินทดแทนเจ็บป่วย เงินทุพพลภาพตลอดชีวิต บำเหน็จชราภาพ ด้วยประกันสังคมมาตรา 40
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นรุ่นแรก เป็นจังหวัดซึ่งมีประชากรจำนวนมากที่สุดในภาคใต้ ประกอบอาชีพอิสระกว่า 500,000 คน
รู้ยัง! ประกันสังคม ให้สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตนป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย สามารถล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องล้างไตอัตโนมัติ (APD) ได้แล้ว
นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยถึงการดูแลผู้ประกันตนที่เจ็บป่วยด้วยโรคไต ว่า การรักษาโรคไตวายเรื้อรังเป็นภาระที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้ป่วย
'บุญสงค์' ปลัดแรงงานมอบนโยบาย “MOL TRUST” ให้ ขรก.ทั่วประเทศ ขับเคลื่อนกระทรวงแรงงาน เป็นที่ยอมรับ เชื่อมั่น ไว้วางใจ ในการพัฒนาแรงงานทุกมิติ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
วันที่ 8 พฤศจิกายน 2567 เวลา 08.00 น. นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวมอบนโยบายแนวทางการดำเนินงาน แก่ข้าราชการกระทรวงแรงงานทั่วประเทศเพื่อขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงแรงงาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ณ ห้องประชุมกระทรวงแรงงาน ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน ว่า
“พิพัฒน์” รมว.แรงงาน แจงมาตรการลดเงินสมทบและขยายระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบ ช่วยเหลือนายจ้าง ผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 ในพื้นที่ประสบอุทกภัย
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงมาตรการช่วยเหลือนายจ้าง ผู้ประกันตนในพื้นที่ประสบอุทกภัย ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม