กองทุนสื่อฯ ชวนเยาวชนไทยร่วมสร้างสื่อสร้างสรรค์ในโครงการ Digi Camp ครั้งที่ 2

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เดินหน้าจัดโครงการ Digi Camp ค่ายเยาวชนไทยรู้เท่าทันสื่อเป็นปีที่ 2 เชิญชวนเยาวชนไทยทั่วประเทศส่งผลงานการผลิตคลิปวิดีโอสั้น 3-5 นาที ภายใต้หัวข้อ Digi Camp ค่ายเยาวชนไทยรู้เท่าทันสื่อ ตั้งแต่วันนี้ถึง 8 พ.ย. 67 ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวม 445,000 บาท
นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า การสร้างผู้นำเยาวชนที่มีทักษะในการรู้เท่าทันสื่อ และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะ ไปยังกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา เพื่อร่วมสร้างสื่อที่ดีปลอดภัยและสร้างสรรค์ ถือเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเยาวชนที่เติบโตท่ามกลางสภาพสิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม ที่เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้เราเชื่อว่าทักษะที่เด็กไทยควรมี คือ 1) ทักษะการรู้เท่าทันสื่อ (Media Information and Digital Literacy - MIDL) ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างสรรค์สังคม เพื่อให้พลเมืองมีทักษะในการตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์ สื่อสารอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งทักษะดังกล่าวถูกบรรจุไว้ในหลักสูตรและทักษะศตวรรษที่ 21 ที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ
2) ทักษะความเข้าใจและความสามารถในการใช้เทคโนโลยี (Digital Literacy) จัดเป็นทักษะพื้นฐานด้านดิจิทัลที่จำเป็นต่อการนำไปพัฒนาต่อยอด เพื่อเพิ่มขีดความสามารถงานดิจิทัลในด้านอื่น ๆ
โดยเราเชื่อว่าทั้งสองทักษะนี้จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เด็กและเยาวชน รับมือกับข้อมูลข่าวสารที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม และสามารถวิเคราะห์ ประเมินสื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเติบโตเรียนรู้ที่จะเป็นทั้งผู้เสพสื่อ ผู้ผลิตเนื้อหาสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์

"เรามุ่งหวังที่จะสร้างผู้นำเยาวชนที่มีทักษะการรู้เท่าทันสื่อ เราเชื่อว่าการจัดโครงการประกวดสื่อสร้างสรรค์ Digi Camp ค่ายเยาวชนไทยรู้เท่าทันสื่อ ที่จัดโดยกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์นี้ จะสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ในครอบครัว และสามารถถ่ายทอดไปยังกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาด้วยกัน เพื่อร่วมกันสร้างสื่อที่ดี ที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ รวมถึงส่งเสริมการใช้สื่อเป็นช่องทางการศึกษาที่สำคัญ ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างสรรค์สังคม"
ทางด้านร้อยโท ธนกฤษฏ์ เอกโยคยะ ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างคนให้เป็นบุคลากรที่ดีและมีคุณภาพ รู้เท่าทันสื่อ เพื่อรับมือกับข้อมูลข่าวสารที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยกำหนดกลยุทธ์การดำเนินงาน ประกอบด้วย 6 สร้าง ได้แก่



1. สร้างสื่อ โดยเฉพาะสื่อสำหรับเด็กและเยาวชน มุ่งเน้นการผลิตสื่อที่สร้างผลกระทบเชิงบวกทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจการสร้างมูลค่าเพิ่ม
2. สร้างคน การพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตสื่อ
3. สร้างภูมิคุ้มกัน มุ่งเน้นการสร้างทักษะการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์
4. สร้างองค์ความรู้ มุ่งมั่นทำงานทางวิชาการศึกษาส่งเสริมองค์ความรู้
5. สร้างการมีส่วนร่วมและเครือข่าย
6. การสร้างองค์กรที่มีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ กองทุนฯ เป็นเพียงผู้เริ่มต้น แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายในการผลักดันให้เกิดสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ โครงการ Digi Camp ค่ายเยาวชนไทยรู้เท่าทันสื่อ ปี 2 เป็นโครงการที่มุ่งหวังให้เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการเป็นนักผลิตสื่ออย่างสร้างสรรค์ในอนาคตต่อไป ตามยุทธศาสตร์ของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

สำหรับผลสำเร็จและการตอบรับของเยาวชนและโรงเรียนที่ให้การตอบรับในการเข้าร่วมโครงการประกวดสื่อสร้างสรรค์ ในปี 2566 ที่ผ่านมา มีเด็กและเยาวชนไทยระดับมัธยมศึกษาทั่วประเทศให้การตอบรับจาก 133 โรงเรียน จำนวน 2,338 คน ที่ให้ความสนใจและเข้าร่วมโครงการเกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ จนได้มาซึ่งผลงานคุณภาพของเด็กและเยาวชนไทย 30 ผลงาน ที่สะท้อนและสร้างความตระหนักเรื่องความสำคัญของการรู้เท่าทันสื่อ โดยโครงการมีการจัดอบรมทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ และในปีนี้มีการให้ความรู้ในเชิงเทคนิคเพิ่มขึ้นด้วย เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะการรู้เท่าทันสื่อ สามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ไปผลิตผลงานที่สร้างแรงบันดาลใจในการผลิตสื่อ เพื่อสร้างสรรค์สังคมต่อไป
ร้อยโท ธนกฤษฏ์ กล่าวต่อว่า สำหรับโครงการ Digi Camp ปี 2 นี้ ผู้ที่สนใจสามารถส่งผลงานการผลิตคลิปสร้างสรรค์ภายใต้หัวข้อ Digi Camp ค่ายเยาวชนไทยรู้เท่าทันสื่อ ปี 2 ความยาว 3-5 นาที ซึ่งเป็นวีดิโอที่สั้นกระชับแต่สามารถสื่อสารออกไปให้ตรงประเด็นมากที่สุด เพื่อชิงเงินรางวัลในปีนี้มีมูลค่ารวมถึง 445,000 บาท โดยโครงการฯ เริ่มเปิดรับสมัครผู้ที่สนใจเข้าร่วมค่ายเยาวชนไทยรู้เท่าทันสื่อ ปี 2 ตั้งแต่วันที่ 25 ก.ย. - 8 พ.ย. 67

ในปีนี้เรามีผู้เชี่ยวชาญพร้อมที่จะให้ความรู้ในเชิงเทคนิค ในการสร้างสรรค์เนื้อหาที่มีความปลอดภัย นอกจากเนื้อหาแล้วเรายังพิจารณาถึงเรื่องเทคนิคการถ่ายทำ มุมกล้อง เทคนิคการจัดองค์ประกอบแสงสีต่างๆ ไปตามสัดส่วนด้วย จากนั้นจะมีการคัดเลือกผลงานที่ส่งเข้ามาจากทั่วประเทศ จำนวน 30 ผลงานเข้าร่วมการอบรมเสริมศักยภาพผู้ผ่านการคัดเลือกระดับภูมิภาคเป็นเวลา 5 วัน เพื่อสร้างประสบการณ์ที่เสมือนจริง สร้างแรงบันดาลใจ และเรียนรู้เทคนิคการจัดทำเนื้อหาในการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สามารถนำความรู้และเทคนิคที่ได้รับไปใช้ในการผลิตสื่อ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการผลิตชิ้นงานเพื่อประกวดรอบที่ 2 (ระดับประเทศ) ในเดือนมี.ค. 68 ต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จัดอบรมบ่มเพาะสร้างอินฟลูฯ สูงวัย ให้ผลิตสื่อได้ ใช้สื่อเป็น ทุกอย่างฟรี

“กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์” จัดอบรมเพิ่มทักษะดิจิทัลให้กับผู้สูงวัยในโครงการ "สูงวัยหัวใจยังเวิร์ก" ปีที่ 3 ปีนี้เพิ่มความแตกต่าง ด้วยการจัดกิจกรรมแบบ Hybrid ทั้งอบรม onsite ไปพร้อม ๆ กับ online โดย กองทุนฯ ได้เตรียมน้อง ๆ บัดดี้

ประชุมคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ครั้งที่ 4/2567

(13 กันยายน 2567) เวลา 13.30 น. นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ มอบหมายให้

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ประกาศผลการพิจารณาโครงการหรือกิจกรรม ที่ได้รับการสนับสนุนเงิน จากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ประจำปีงบประมาณ 2567

วันนี้ (13 กันยายน 2567) กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ประกาศผลการพิจารณาโครงการหรือกิจกรรม ที่ได้รับการสนับสนุนเงิน จากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ประจำปี 2567

สมาชิกวุฒิสภา รับทราบรายงานประจำปี 2566 ของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

สมาชิกวุฒิสภา พิจารณา รับทราบรายงานประจำปี 2566 ของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดย ดร.ธนกร ศรีสุขใส

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จับมือ กรมสุขภาพจิต สานพลัง สร้างสรรค์สื่อ เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตสู่สังคม

15 สิงหาคม 2567 กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดย ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้ลงนามความร่วมมือกับ นายแพทย์พงศ์เกษม ไข่มุกด์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต โดยมีผู้บริหาร ดร.ชำนาญ งามมณีอุดม

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์จับมือกับบริษัท เนกซ์สเตป จำกัด มุ่งพัฒนาสื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพเพื่อส่งเสริมโอกาสทางการศึกษา สำหรับเด็กและเยาวชนไทยผ่านโครงข่ายกู๊ดทีวี และ ช่องรายการ Thainess TV

7 สิงหาคม 2567 กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดย ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้ลงนามความร่วมมือกับ นายอมรภัทร