สปส. คุ้มครองผู้ประกันตนกรณีตาย ทายาทได้สิทธิรับค่าทำศพและเงินสงเคราะห์

สำนักงานประกันสังคม คำนึงถึงสิทธิประโยชน์การคุ้มครองชีวิตของผู้ประกันตนทุกคน ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การเกิด แก่ เจ็บและตาย โดยหากผู้ประกันตนประสบเหตุไม่คาดคิดจนทำให้ถึงแก่ความตาย สำนักงานประกันสังคมจะยังคงดูแลและช่วยเหลือครอบครัวผู้ประกันตนจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า สำหรับกรณีตาย อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน สำนักงานประกันสังคมจะให้ความคุ้มครองผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 รวมไปถึงผู้ประกันตนที่จงใจทำให้ตนเองบาดเจ็บ ทุพพลภาพและตาย หรือยินยอมให้ผู้อื่นก่อให้เกิดขึ้น ซึ่งสิทธิประโยชน์นี้ ผู้ประกันตนจะได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย ได้แก่ ค่าทำศพ 50,000 บาท โดยสำนักงานประกันสังคมจะจ่ายให้แก่ผู้จัดการศพ ซึ่งเป็นบุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้จัดการศพและได้เป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน หรือเป็นสามีภรรยา บิดามารดา หรือบุตรของผู้ประกันตนที่มีหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน หรือเป็นบุคคลอื่นที่มีหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน

นอกจากนี้ยังได้รับเงินสงเคราะห์กรณีที่ผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย โดยสำนักงานประกันสังคมจะจ่ายให้แก่บุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ แต่ถ้าผู้ประกันตนมิได้มีหนังสือระบุไว้ให้นำมาเฉลี่ยจ่ายให้แก่ สามีหรือภรรยา บิดามารดา หรือบุตรของผู้ประกันตนในจำนวนที่เท่ากัน ดังนี้ ถ้าก่อนถึงแก่ความตาย ผู้ประกันตนได้ส่งเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 120 เดือน ให้จ่ายเงินสงเคราะห์เป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย 2 เดือน แต่ถ้าก่อนถึงแก่ความตายผู้ประกันตนได้ส่งเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไป ให้จ่ายเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ย 6 เดือน โดยทายาทผู้มีสิทธิยังสามารถขอรับคืนเงินกรณีชราภาพของผู้ประกันตนที่เสียชีวิตคืนได้ภายใน 2 ปีอีกด้วย

สำหรับ กรณีขอรับค่าทำศพ จะต้องมีหลักฐานประกอบการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย ได้แก่ แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย (สปส. 2-01) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้จัดการศพพร้อมตัวจริง หลักฐานจากฌาปนสถานหรือมัสยิดที่แสดงว่าเป็นผู้จัดการศพ สำเนาใบมรณบัตรพร้อมตัวจริง และสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้จัดการศพ ในช่องทางพร้อมเพย์ที่ลงทะเบียนด้วยเลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือธนาคารทั้ง 10 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

ส่วนกรณีขอรับเงินสงเคราะห์ จะต้องแนบเอกสารประกอบการยื่นคำขอฯ ได้แก่ แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย (สปส. 2-01) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์ สำเนาทะเบียนสมรสของผู้ประกันตนและของบิดามารดาของผู้ประกันตน (ถ้ามี) สำเนาสูติบัตรของบุตรหรือสำเนาทะเบียนบ้านของบุตรกรณีไม่มีสูติบัตร หนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์กรณีตาย (ถ้ามี) หรือจะมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน โดยแนบเอกสารมอบอำนาจตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด

ทั้งนี้ การขอรับประโยชน์ทดแทน ผู้จัดการศพหรือผู้มีสิทธิต้องกรอกแบบ สปส. 2-01 พร้อมลงลายมือชื่อและนำมายื่นที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา หรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์ หรือยื่นผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (www.sso.go.th)

หากผู้ประกันตนมีข้อสงสัย สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน 1506 บริการตลอด 24 ชั่วโมง Line@ssothai หรือทาง www.sso.go.th

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"พิพัฒน์" จับมือ ธอส. ปล่อยสินเชื่อซื้อบ้าน ดอกเบี้ยต่ำ 1.59% ต่อปี วงเงิน 10,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มสิทธิประกันสังคม ให้ผู้ประกันตนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง

วันที่ 26 กันยายน 2567 เวลา 13.30 น. นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

สปส. ปลื้มรับ 12 รางวัล มาตรฐานศูนย์ราชการสะดวก (GECC) ประจำปี 2567

สำนักงานประกันสังคม (สปส.) คว้าโล่และตรารับรองมาตรฐานการให้บริการของศูนย์ราชการสะดวก (GECC) (Government Easy Contact Center : GECC) ประจำปี พ.ศ. 2567 จำนวน 12 ศูนย์ ได้แก่ ระดับก้าวหน้า 1 ศูนย์ และระดับพื้นฐาน 11 ศูนย์ จากการบริการประชาชนให้ได้รับความสะดวก

ดูแลสุขภาพฟันกันเถอะ ! ผู้ประกันตน อย่าลืมใช้สิทธิทันตกรรม 900 บาทต่อปี โดยไม่ต้องสำรองจ่าย

การดูแลรักษาสุขภาพในช่องปากและฟัน ถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับวัยทำงานที่ต้องพบปะผู้คนในสังคม รวมทั้งส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในแต่ละวันอีกด้วย ซึ่งหากเกิดปัญหาในช่องปากและฟัน เช่น ฟันผุ เหงือกอักเสบ เสียวฟัน ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น หรือแม้แต่โรคปริทันต์

สปส. คว้ารางวัลเลิศรัฐ ด้านการนำองค์การและความรับผิดชอบต่อสังคม ประจำปี 2567

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม พร้อมด้วยนางสาวนันทินี ทรัพย์ศิริ ที่ปรึกษาด้านประสิทธิภาพสำนักงานประกันสังคม เข้าร่วมรับรางวัลเลิศรัฐ “สาขาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ หมวด 1

บุญสงค์ เลขาธิการ สปส. เยือนเมืองหมอแคน เปิดงานประชุมวิชาการเสวนา “การขับเคลื่อนงานด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน” (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2567 นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดงานประชุมวิชาการเสวนา “การขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย

สปส.ชวน​โหลด​แอปใหม่ “SSO Plus” บริการครบครัน​ ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์เพื่อผู้ประกัน​ตน​

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน แจ้งว่า สำนักงานประกันสังคม จะยกเลิกการให้บริการ แอปพลิเคชัน SSO Connect