ราคายางพุ่งเฉียดเลข3หลักแล้ว กยท.เดินหน้าสร้างเสถียรภาพพัฒนายางพาราไทย ขีดเส้นใต้ตั้งเป้าประเทศไทยจะต้องเป็นผู้กำหนดราคายางโลกให้ได้ภายใน 2 ปี เร่งขับเคลื่อนแผนรองรับทั้งการสร้างมาตรฐานราคาอ้างอิงยางพาราไทยให้เป็นสากล การสร้างมาตรฐานสินค้า เพิ่มปริมาณการใช้ยาง พร้อมชูจุดเด่น ยางไทยผ่านตามกฎเหล็ก EUDR
ดร.เพิก เลิศวังพง ประธานกรรมการการยางแห่งประเทศไทย (ประธานบอร์ด กยท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ราคายางของไทยเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากการขับเคลื่อนนโยบายด้านยางพาราของรัฐบาลมีประสิทธิภาพ เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง ประกอบกับมีความต้องการใช้ยางเพิ่มมากขึ้น ซึ่ง กยท. ได้ตั้งเป้าที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นประเทศผู้กำหนดราคายางโลกให้ได้ภายใน 2 ปี เนื่องจากไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกยางพารารายใหญ่ที่สุดของโลก จึงควรจะเป็นประเทศผู้กำหนดราคาเอง ทุกประเทศที่ซื้อขายยางจะต้องใช้ราคายางประเทศไทยเป็นราคาอ้างอิง
อย่างไรก็ตามการที่จะให้ประเทศไทยสามารถกำหนดราคายางได้เองนั้น จะต้องมีแผนรองรับ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างมาตรฐานราคาอ้างอิงยางพาราของไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ซึ่งก่อนหน้านี้ กยท.ร่วมกับบริษัท ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือTFEX ได้ลงนาม บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในการพัฒนาการคำนวณราคายางพาราเพื่อเป็นราคาอ้างอิงของไทย (Rubber Reference Price) สำหรับซื้อขายยางเพื่อส่งออกไปต่างประเทศ ที่มีมาตรฐาน โปร่งใส ตรวจสอบได้ เป็นที่ยอมรับของผู้ประกอบการและผู้เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
“ขณะนี้ได้มีการประกาศราคาอ้างอิงยางพาราของไทยมาเป็นระยะเวลากว่า 3เดือนแล้ว แม้จะมีผู้ประกอบการยางพารานำราคาอ้างอิงของไทยไปใช้ยังไม่มากนัก แต่ก็เป็นการเริ่มต้นที่ดี เนื่องจากในอดีตไม่เคยมีมาก่อน และที่สำคัญมีผู้ค้ารายใหญ่ที่เคยใช้ราคาอ้างอิงจากตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้าในประเทศสิงคโปร์ (SICOM) ตลาดซื้อขายยางพาราล่วงหน้าในประเทศญี่ปุ่น (TOCOM) และตลาดซื้อขายยางเซี่ยงไฮ้ประเทศจีน(SHFE) เริ่มหันมาใช้ราคาอ้างอิงของไทยในการซื้อขายยางแล้ว คาดว่าในอนาคตจะมีการนำไปอ้างอิงเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน” ประธานบอร์ด กยท. กล่าว
ทั้งนี้ การคำนวนราคาอ้างอิงยางพาราดังกล่าว กยท. จะเป็นผู้รวบรวมข้อมูลฐานของราคายางและผลิตภัณฑ์ยางพาราชนิดต่างๆ ตลอดจนปริมาณยางและข้อมูลจำเป็นอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในตลาดกลางยางพาราทั้ง 8 แห่ง และตลาดประมูลยางพาราท้องถิ่นของ กยท. กว่า 500 แห่งทั่วประเทศ ที่ได้มีการนำระบบการซื้อขายประมูลยางพารารูปแบบ ดิจิทัลแพลตฟอร์ม “Thai Rubber Trade (TRT)” มาใช้ เพื่อส่งให้ทาง TFEX ซึ่งเป็นหน่วยงานกลาง ใช้คำนวณราคาอ้างอิง โดยจะพิจารณาจากราคาวัตถุดิบ ต้นทุนการผลิต รวมค่าขนส่งและปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย จึงเป็นราคาอ้างอิงยางพาราที่เป็นธรรมและสอดคล้องกับสถานการณ์จริง
นายสุขทัศน์ ต่างวิริยกุล รักษาการแทนผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่า การที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นประเทศผู้กำหนดราคายางโลกนั้น นอกจากการสร้างมาตรฐานราคาอ้างอิงยางพาราของไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลแล้ว ยังจะต้องยกระดับมาตรฐานสินค้าและส่งเสริมการใช้ยางในประเทศเพิ่มขึ้นควบคู่ไปด้วย ซึ่งที่ผ่านมา กยท.ได้ดำเนินโครงการต่างๆ หลายโครงการ ไม่ว่าจะเป็นโครงการส่งเสริมการใช้ยางของหน่วยงานภาครัฐ โครงการสนับสนุนและส่งเสริมสถาบันเกษตรกรแปรรูปผลิตภัณฑ์จากยาง โครงการทำถนนดินซีเมนต์ผสมยางพารา เป็นต้น ล่าสุด กยท. เตรียมลงนามกับบริษัทเอกชนผู้ผลิตยางรายใหญ่ เพื่อผลิตยางการผลิตยางล้อ Greenergy Tyre ซึ่งเป็นยางที่ได้มาตรฐานสากล มีนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยมาใช้ในการผลิต ทำให้ยยึดเกาะถนนดีเยี่ยม มีความนุ่มนวล มีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากกว่า 50,000 กิโลเมตร และยังให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อมตลอดขบวนการผลิต โดยได้มีการเปิดตัวไปแล้วก่อนหน้านี้ ปรากฎว่าได้รับความสนใจอย่างมากถูกสั่งจองจากทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนในล็อตแรก กว่า 20,000เส้น
นอกจากนี้ การที่สหภาพยุโรปได้ประกาศบังคับใช้กฎระเบียบ EU Deforestation-free Products Regulation (EUDR) ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2567 เป็นต้นไป ยังจะเป็นปัจจัยสำคัญอีกปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางยางพาราและเป็นผู้กำหนดราคายางตลาดโลก เนื่องจากประเทศไทยเป็นเพียง 1 ใน 2 ประเทศผู้ส่งออกยางรายใหญ่ที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาตามกฎระเบียบของEUDR ได้ ซึ่งกยท. มีนโยบายหลักที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรชาวสวนยางทำการเกษตรที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมเพื่อก้าวสู่วิถีเกษตรยั่งยืน และให้ความสำคัญกับการจัดการข้อมูลยางให้เป็นไปตามกฎระเบียบ EUDR โดยตั้งเป้าที่จะเพิ่มปริมาณยาง EUDR จากปัจจุบัน 1 ล้านตัน เป็น 2 ล้านตันภายในปี 2568 และ3.5ล้านตันในปีถัดไป ในขณะที่สหภาพยุโรปมีความต้องการยางพาราถึง 4 ล้านตัน โดยผู้ประกอบการที่นำยางพาราไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ส่งไปขายในตลาดสหภาพยุโรปก็จะต้องดำเนินการตามกฎ EUDR ด้วยเช่นกัน ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการเหล่านี้มาซื้อยางจากประเทศไทยเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเพิ่มขึ้นอีกด้วย ดังนั้นยางพาราของไทยจะเป็นที่ต้องการของตลาดโลกอย่างแน่นอน
“การกำหนดราคาอ้างอิงยางพาราของไทย การยกระดับมาตรฐานสินค้า การเพิ่มปริมาณยางเพิ่มปริมาณการใช้ยางภายในประเทศ การทำสวนยางที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมเพื่อก้าวสู่วิถีเกษตรยั่งยืน และการบังคับให้กฎระเบียบ EUDR จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะการยกระดับให้ไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางพารา และเป็นผู้กำหนดราคายางโลก ตามเป้าหมายได้อย่างแน่นอน” รักษาการแทน ผู้ว่าการ กยท. กล่าวยันยืนในตอนท้าย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เอ็มเอ็มพี สร้างความยั่งยืนในงานวันเด็กแห่งชาติ
ผู้บริหาร เอ็มเอ็มพีฯ นำโดยนางสาวกมลชนก จงเสถียร กรรมการผู้จัดการ
TOA ยืนหนึ่งผู้นำสีรักษ์โลก รับฉลากลดโลกร้อนมากที่สุดในตลาดสีทาอาคาร เดินหน้ามุ่งสู่ Net Zero เพื่อสร้างสังคมคาร์บอนต่ำให้โลกอย่างยั่งยืน
เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2568 บริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ TOA โดย คุณวิภาดา นาคไพรัช ผู้อำนวยการสายงาน SHE & Quality Management and Sustainability
สปส. เอาใจนายจ้าง ขยายกำหนดเวลาส่งเงินสมทบ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ไปอีก 7 วันทำการ
นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า ตามประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบและการนำส่งเงินสมทบผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) พ.ศ. 2567 ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2567
“รมว.นฤมล”นำทีมกระทรวงเกษตรฯ จัดงาน “Beyond & Journey of Siam Orchids” 16 ม.ค.นี้ เพิ่มโอกาสให้เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไม้ไทยเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคมากขึ้น
ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร เตรียมจัดงานกิจกรรมส่งเสริมการผลิตและการตลาดกลุ่มสินค้ากล้วยไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ
แรงงานไทย เฮ "พิพัฒน์" บินด่วนอิสราเอล หารือรัฐมนตรีอิสราเอล โควต้าแรงงานเกษตร ปศุสัตว์ เพิ่ม นับ 13,000 คน
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน นางสาวพรรณนภา จันทรารมย์ เอกอัครราชทูต นายศักดินาถ
ชาวเชียงใหม่อุ่นใจ สสส.-มช. เดินหน้าโครงการ "Chiang Mai Greentopia" ช่วยลดสารเคมีตกค้างในเลือดได้สูง ภายใน 2 ปี ลดเหลือ 66% จาก 90%
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 13 ม.ค. 2568 ที่สวนผักฮักร้องขุ้ม อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ตัวแทนเกษตรกร ภาคีเครือข่าย และสื่อมวลชน ติดตามการดำเนินงานโครงการ Chiang Mai Greentopia : ต้นแบบการสร้างความมั่นคงทางอาหาร