แปลงใหญ่กล้วยน้ำว้า เพชรบุรี วางแผนกู้วิกฤต

นายวีรศักดิ์ บุญเชิญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตร เช่นเดียวกับเกษตรกรแปลงใหญ่กล้วย หมู่ 2,3,6 ตำบลกลัดหลวง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ผู้ผลิตกล้วยน้ำว้า ที่ผลผลิตจะออกดอกติดผลในช่วงแล้งและร้อนจัด คือ เดือนมีนาคม – เมษายน ผลจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศทำให้กล้วยเจริญเติบโตช้าลง และเกษตรกรต้องให้น้ำเพิ่ม ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ผลผลิตไม่ได้มาตรฐาน ปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ทำให้ราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตในปีนี้อยู่ที่ประมาณ 15,000 บาท/ไร่ เพิ่มขึ้น จากปีที่ผ่านมา 3,000 บาท/ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 2,380 กิโลกรัม/ไร่ ลดลงจากปีที่ผ่านมา 150 กิโลกรัม/ไร่ จำหน่ายกล้วยน้ำว้าได้ในราคากิโลกรัมละ 20 บาท จากปีที่ผ่านมาขายได้ ราคากิโลกรัมละ 10 บาท

เพื่อการบริหารจัดการในภาวะวิกฤต และป้องกันผลกระทบต่อสมาชิกกลุ่มที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต กลุ่มแปลงใหญ่กล้วย หมู่ 2,3,6 ตำบลกลัดหลวง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ที่มีสมาชิกทั้งหมด 34 ราย พื้นที่ปลูกกล้วยน้ำว้า 671.3 ไร่ ร่วมใจมองหาโอกาสแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน นอกจากจะมีการประชุมทำความเข้าใจระหว่างสมาชิกผู้ปลูกกล้วยน้ำว้าเป็นประจำทุกเดือน เพื่อรักษาคุณภาพผลผลิตของสมาชิกแล้ว ยังเดินหน้าปรับแผนพัฒนาแปลงใหญ่ 5 ด้าน ประกอบด้วย

ด้านลดต้นทุนการผลิต สมาชิกจะใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมการเกษตรเพิ่มขึ้น เช่น ระบบการให้น้ำ ระบบการควบคุมความชื้น การผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทดแทนการใช้สารเคมี การใช้ปุ๋ยตามความต้องการของพืช เพิ่มเติมองค์ความรู้ด้านการปรับปรุงบำรุงดินให้แก่สมาชิก รวมทั้งสนับสนุนให้สมาชิกเข้าร่วมโครงการช่วยเหลือต่าง ๆ ของภาครัฐ

ด้านการเพิ่มผลผลิต สนับสนุนให้สมาชิกได้เข้าอบรมความรู้ด้านการเพิ่มผลผลิต กับหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและสถาบันการศึกษาต่าง ๆ จัดกระบวนการบริหารจัดการแปลงปลูก ทั้งการออกสำรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ และการกำจัดวัชพืช โรคพืช เทคนิคการตัดแต่งกิ่ง การทำใบร่วงตามช่วงเวลาที่กำหนด เพื่อลดการสูญเสียน้ำและเร่งการออกใบออกดอก

ด้านการพัฒนาคุณภาพผลผลิต ส่งเสริมให้สมาชิกจดบันทึกกิจกรรมแปลง เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี GAP ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายให้สมาชิกผ่านการรับรองอย่างน้อยร้อยละ 20

ด้านการรวบรวมผลผลิต ทางกลุ่มยังคงดำเนินกิจกรรมในรูปแบบของการตลาดนำการผลิต และการจัดการผลผลิตที่เลื่อมเวลากัน เพื่อให้ผลผลิตออกสู่ตลาดอย่างสม่ำเสมอ และมีจุดกลางในการรับซื้อผลผลิต ทำให้คู้ค้าทั้งรายเก่าและรายใหม่ สามารถเดินทางเข้ามารับสินค้าได้สะดวก

และด้านการตลาด นอกจากการจำหน่ายในพื้นที่และบริเวณรอบชุมชนตำบลกลัดหลวง ตลาดกลางการเกษตรหนองบ้วย ยังส่งขายให้คู่ค้าเจ้าประจำเพื่อนำมาจำหน่ายในตลาดที่กรุงเทพ และปริมณฑล เช่น ตาลาดคลองเตย ตลาดบางกะปิ ตลาดพระประแดง ตลาดศาลาน้ำร้อน ตลาดสี่มุมเมือง และตลาดไท เป็นเป้าที่ชัดเจน ที่จำนวน 360 ตัน/รอบการผลิต และตั้งเป้าหาคู่ค้ารายใหม่เพิ่มเติม เช่น โรงงานแปรรูปกล้วย โดยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการเจรจา ผ่านการสนับสนุนของสำนักงานเกษตรอำเภอท่ายาง

ในรอบการผลิตใหม่ของแปลงใหญ่กล้วย หมู่ 2,3,6 ตำบลกลัดหลวง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี จะเป็นอีกก้าวที่ความร่วมแรง ร่วมใจของเกษตรกร จะช่วยฝ่าฝันวิกฤตที่เกิดขึ้นได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สปส.มอบสุข ตรวจเยี่ยมและติดตามคุณภาพชีวิตผู้ประกันตนทุพพลภาพ จ. เพชรบุรี

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้มอบหมายให้ นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ลงพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี โดยมี นางวันทนา ณัฐพูลวัฒน์ ผู้ตรวจราชการกรม สำนักงานประกันสังคม นางรัศมี สุจโต ประกันสังคมจังหวัดเพชรบุรี นางสาวสรันยา สุวรรณวัฒน์

กรมส่งเสริมการเกษตร ยกชุมพร “เมืองมะพร้าวคุณภาพ” สร้างมาตรฐานเกิดทั้งจังหวัด

มะพร้าว ยังคงเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ มีพื้นที่ปลูกโดยรวมทั้งประเทศ 862,718 ไร่ โดยให้ผลผลิตแล้วเนื้อที่ 834,000 ไร่ ผลผลิตออกสู่ตลาด 842,306 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 1,010 กิโลกรัมต่อไร่ สร้างมูลค่ากว่า 6,887 ล้านบาท

กรมส่งเสริมการเกษตร ดัน 'กาแฟบ้านมณีพฤกษ์' สู่แปลงใหญ่ เพิ่มรายได้เกษตรกร

กรมส่งเสริมการเกษตร เข้าพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนกาแฟบ้านมณีพฤกษ์ สู่แปลงใหญ่กาแฟบ้านมณีพฤกษ์ และมุ่งเป้าพัฒนาสู่เกษตรมูลค่าสูง ภายใต้แนวคิด ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม

แปลงใหญ่ผักบ้านบางท่าข้าม สุราษฎร์ธานี ผลิตพืชผักคุณภาพ ปลอดภัย ได้มาตรฐาน สร้างรายได้สู่ชุมชนกว่า 4 ล้านบาทต่อปี

นายวีรศักดิ์ บุญเชิญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ในปี พ.ศ. 2558 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบนโยบายสำคัญในการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร

“ถ้ำเสือ” จากตำนานสู่การจัดการป่า สร้างฝายมีชีวิต สร้างเศรษฐกิจชุมชน อย่างยั่งยืน

มีตำนานเล่าขานของบ้านถ้ำเสือในอดีต สภาพบริเวณแถวนี้เป็นป่าดงดิบที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีสัตว์นานาชนิดอาศัยอยู่ และยังมีสัตว์ป่าดุร้าย ช้างป่า ม้า เสือ