เมื่อวันที่ 11 ก.ย.นายทนงศักดิ์ ล้อชูสกุล ผอ.สำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 2 (สุพรรณบุรี) กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) พร้อมนายระเบียบ ปทุมสูตร นายกเทศมนตรีตำบลสระลงเรือ อ.ห้วยกระเจา จ.กาญจนบุรี ลงพื้นที่โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อความมั่นคงระดับชุมชนบ้านหนองบัวหิ่ง หมู่ที่ 4 ต.สระลงเรือ โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการอุปโภคบริโภคขนาดใหญ่ ประจำปี 2565(งบกลาง) ภายใต้โครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดำริบ้านหนองบัวหิ่ง หมู่ที่ 4 ต.สระลงเรือ อ.ห้วยกระเจา จ.กาญจนบุรี เพื่อติดตามการแก้ปัญหาการขาดแคลนและเพิ่มความมั่นคงด้านน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภค
โดยนายระเบียบ เปิดเผยว่า ขณะนี้การแก้ปัญหาน้ำอุปโภคบริโภคในพื้นที่ ต.สระลงเรือ ค่อนข้างสมบูรณ์ ประชาชนมีน้ำกินน้ำใช้ คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นจากมาก จากที่ผ่านมา ต.สระลงเรือ จะไม่มีตู้น้ำชุมชนสำหรับการอุปโภคบริโภคให้พี่น้องประชาชนได้ใช้ เป็นพื้นที่ที่แล้งมาก ใน ต.สระลงเรือ มี 17 หมู่บ้าน มีน้ำบริบูรณ์จริงๆ 6 หมู่บ้าน อีก 11 หมู่บ้านจะใช้น้ำผิวดิน น้ำสระ น้ำลำห้วย ฯลฯ จะมีน้ำบาดาลอยู่ที่หมู่ 1 ประมาณ 4 คิวเท่านั้น เวลาถึงเดือน เม.ย. - มิ.ย.น้ำใต้ดินก็จะหมด แต่เมื่อปี 2564 กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้ออกมาสำรวจพื้นที่ในเขตพื้นที่ ต.สระลงเรือ ปรากฎว่าไปเจอแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่หมู่ 4 บ้านหนองบัวหิ่ง กรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้ส่งเครื่องจักรมาเจาะบ่อน้ำบาดาล ปรากฎว่าเจาะไป 110 เมตรได้น้ำบาดาลประมาณ 30 คิว เลยเจาะไปทั้งหมด 6 บ่อได้น้ำพอสมควร แต่ที่ดินที่เจาะเป็นที่ดินเอกชน ทางเทศบาลไม่สามารถนำเงินไปซื้อได้ แต่ตนได้เรียกผู้นำท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้านทั้งหมดมาหารือว่าเราต้องการแหล่งน้ำมาให้ประชาชน ใน 11 หมู่บ้านที่ไม่เคยมีน้ำใช้ ได้มีน้ำใช้ ปรากฎทุกคนตกลงเสียสละเงินเดือนเพื่อนำเงินไปซื้อที่ดิน จำนวน 3 ไร่ 3 งาน เป็นเงิน 7 แสนกว่าบาทรวมค่าถมและอื่นๆ ประมาณ 1.5 ล้านบาท จากนั้นมีการเจาะและกระจายน้ำบาดาลทั้ง 11 หมู่บ้านจากที่ไม่เคยมีน้ำใช้มาก่อน ได้ใช้น้ำกันอย่างบริบูรณ์ ใน 11 หมู่บ้านมีโครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อความมั่นคงระดับชุมชน จำนวน 2 จุดถือว่าพอเพียงและมีการต่อยอดนำน้ำบาลไปใช้ทุกหมู่บ้านด้วย
“ตอนนี้ชาวบ้านเรียกกรมทรัพยากรน้ำบาดาลว่าเทวดา เพราะนำน้ำมาให้ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์ ได้ดื่มกิน จากที่ไม่เคยคิดมาก่อนว่าพื้นที่ ต.สระลงเรือ อ.ห้วยกระเจา แต่เดิมที่เรียกกันว่าอีสานแห่งภาคกลาง เพราะแล้งมากจะมีน้ำใช้ และคิดว่าเมื่อเจาะบ่อบาดาลก็จะใช้ในหมู่นั้นๆ ไม่ต้องหาแหล่งใหญ่เพื่อเจาะและกระจายไปทุกหมู่บ้าน แต่ก็ได้คำแนะนำจากกรมทรัพยากรน้ำบาดาลว่าต้องหาแหล่งน้ำขนาดใหญ่เพื่อเจาะและกระจายน้ำไปให้หมู่บ้านอื่นๆ ได้ใช้ประโยชย์ด้วย” นายระเบียบ กล่าว
ด้านนายทนงศักดิ์ กล่าวว่า จ.กาญจนบุรี มีพื้นที่ประมาณ 4-5 อำเภอคือห้วยกระเจา บ่อพลอย เลาขวัญ หนองปรือและสมเด็จเจริญบางส่วน เรียกว่าเป็นพื้นที่อีสานแห่งภาคกลางเพราะมีปริมาณฝนตกต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของประเทศ ขาดแคลนน้ำและหาแหล่งน้ำยากทั้งน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคและการเกษตร การแก้ปัญหาในพื้นที่คือการไปซื้อน้ำมาใช้เพื่อนำมาแจกจ่ายให้กับประชาชนเฉพาะที่ อ.ห้วยกระเจา ประมาณปีละ 5 แสนกว่าบาท แต่ปัจจุบันไม่มีปัญหาแล้ว เพราะกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้มีการสำรวจหาแหล่งน้ำขนาดใหญ่และมีศักยภาพเพื่อเจาะและทำระบบประปาขนาดใหญ่แล้วกระจายน้ำไปยังพื้นที่ที่มีปัญหา ทำให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์จากน้ำ
“ที่สำคัญ จ.กาญจนบุรี มีโครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ถึง 8 แห่ง ทำให้การแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำสมบูรณ์แบบ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นมากกว่าเดิม” นายทนงศักดิ์
สำหรับโครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้ง ระยะที่ 2 พื้นที่บ้านหนองบัวหิ่ง หมู่ที่ 4 ต.สระลงเรือ อ.ห้วยกระเจา จ.กาญจนบุรี เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนและเพิ่มความมั่นคงด้านน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภคครอบคลุมทั้งตำบลจำนวน 15 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับประโยชน์ 3,000 ครัวเรือน หรือ 10,000 คน.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สลด! ไฟไหม้บ้านอดีตสจ.สุพรรณบุรี เสียชีวิตรวม 4 ราย
มีรายงานว่า เกิดเหตุไฟไหม้บ้านพักหลังหนึ่ง บริเวณถนนพระพันวษา ต.ท่าพี่เลี้ยง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
สืบนครบาลรวบ 'สมโคลท์ พันกระบอก' ขายปืนเถื่อนออนไลน์ ตกใจฉี่ราด
พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) มีนโยบายปราบปรามอาวุธปืน โดยเฉพาะทางโลกออนไลน์เพื่อป้องกันเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่ ชุดลาดตระเวนออนไลน์
'กองทุนกีฬา'บุกสุพรรณบุรี ติดตาม-รับฟังปัญหา ส.กีฬาจังหวัดภาคกลาง
“กองทุนกีฬา” เดินสายต่อเนื่อง ครั้งที่ 3 ลงพื้นที่สุพรรณบุรี (ภาค 2) เร่งติดตาม-รับฟังปัญหา ส.กีฬาจังหวัด ภาคกลาง เพื่อร่วมกันแก้ไข เข้าถึง เข้าใจ ให้คำแนะนำ การใช้เงินให้ถูกต้องตามระเบียบราชการ มุ่งหวังเห็นผลสำเร็จ
ประชุมน้ำบาดาลนานาชาติ ชูโมเดล'ชั่งหัวมัน-ห้วยทราย'
นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งในและต่างประเทศมากกว่า 17 ประเทศเข้าร่วมกิจกรรมศึกษาดูงานภาคสนามที่โครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ และศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย