บอร์ดแพทย์ สปส. พร้อมเพิ่มสิทธิรักษาพยาบาลรวดเร็ว เน้นคุณภาพการรักษา ครอบคลุมทุกโรค ทุกช่วงวัย

เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2567 ณ ห้องประชุมจีรศักดิ์ สุคนธชาติ สำนักงานประกันสังคม ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี พล.ต.ท.นพ.ธนา ธุระเจน ประธานคณะกรรมการการแพทย์กองทุนประกันสังคม เปิดเผยว่า ในปี 2568 คณะกรรมการการแพทย์ กองทุนประกันสังคม เตรียมพร้อมปรับสิทธิประโยชน์กรณีเจ็บป่วยรักษารวดเร็ว ครอบคลุมทุกโรค เพื่อดูแลผู้ประกันตนอย่างยั่งยืน รองรับเทคโนโลยีด้านการรักษา เช่น การผ่าตัดแผลขนาดเล็กผ่านกล้อง เพื่อลดระยะเวลาพักฟื้น ลดภาระค่าใช้จ่ายในการนอนพักรักษาตัว เพื่อให้ผู้ประกันตนสามารถกลับไปดำเนินชีวิตได้อย่างรวดเร็ว เพิ่มการใช้นวัตกรรมผ่าตัดอย่างแม่นยำด้วยการใช้หุ่นยนต์ (Robotic surgery) เพิ่มการเข้าถึงการรักษาในผู้ป่วยมะเร็งกับสถานพยาบาลที่มีศักยภาพ เพิ่มการตรวจสุขภาพจากการตรวจสุขภาพพื้นฐาน 14 รายการ โดยมีความถี่และขยายช่วงอายุที่มากขึ้นครอบคลุมช่วงอายุของผู้ประกันตน โดยขณะนี้สำนักงานประกันสังคม ได้ดำเนินการประเมินผลในทุกสิทธิประโยชน์และสำรวจความพึงพอใจในการเข้ารับบริการของผู้ประกันตนรายงานต่อคณะกรรมการการแพทย์ต่อไป ซึ่งมีโรงพยาบาลหลายแห่งให้ความสนใจเข้าร่วมดูแลผู้ประกันตน ในปี 2567 สำนักงานประกันสังคมมีโรงพยาบาลที่เป็นคู่สัญญาในการให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตนจำนวน 267 แห่ง แบ่งเป็น โรงพยาบาลรัฐบาลจำนวน 170 แห่ง โรงพยาบาลเอกชนจำนวน 97 แห่ง และในปี 2568 มีโรงพยาบาลยื่นความประสงค์ขอสมัครเข้าร่วมเป็นโรงพยาบาลคู่สัญญาเพิ่มขึ้นอีกจำนวน 4 แห่ง เป็นโรงพยาบาลรัฐบาลจำนวน 1 แห่ง และโรงพยาบาลเอกชนจำนวน 3 แห่ง โดยได้ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานสถานพยาบาลเป็นที่เรียบร้อย และจะทำสัญญาการให้บริการทางการแพทย์ในเดือนพฤศจิกายน 2567 นี้

พล.ต.ท.นพ.ธนา กล่าวถึงกรณีเรื่องค่าบริการทางการแพทย์ ว่า สำนักงานประกันสังคมจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้โรงพยาบาลอย่างเหมาะสมและเพียงพอ โดยปีที่ผ่านมาสำนักงานประกันสังคมจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ต่อปีกว่า 80,000 ล้านบาท หรือเฉลี่ยค่าบริการทางการแพทย์ 6,200 บาทต่อหัว แบ่งเป็นค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายและนอกเหนือเหมาจ่าย จ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายไปกว่า 39,000 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 3,007 บาทต่อหัว ประกอบด้วย

1. ค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายพื้นฐานตามจำนวนผู้ประกันตนที่สำนักงานกำหนดไว้ให้แก่สถานพยาบาลในอัตรา 1,808 บาท/ผู้ประกันตน 1 คนภายในระยะเวลา 1 ปี

2. จ่ายเพิ่มเติมแก่สถานพยาบาลที่ต้องรับภาระกรณีดูแลรักษาโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง มะเร็งตับอักเสบเรื้อรัง ไตวายเรื้อรัง โรคเลือดออกง่ายฮีโมฟีเลีย เป็นต้น ตามอัตราการใช้บริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตน ในอัตรา 453 บาทต่อกรอบวงเงินที่คำนวณจากจำนวนผู้ประกันตนแต่ละปี

3. จ่ายค่าบริการทางการแพทย์กรณีผู้ประกันตนที่เข้ารับการรักษาประเภทผู้ป่วยในด้วยโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง โดยคำนวณตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (Diagnosis Related Groups: DRGs) ที่มีค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ปรับตามวันนอน (Adjusted Relative weight: AdjRW) มากกว่าหรือเท่ากับ 2 ในอัตราไม่เกิน 15,000 บาทต่อหนึ่งน้ำหนักสัมพัทธ์ปรับตามวันนอน (Adjusted Relative weight: AdjRW) ในอัตรา 746 บาท ตามกรอบวงเงินที่คำนวณจากจำนวนผู้ประกันตนแต่ละปี



พล.ต.ท.นพ.ธนา กล่าวต่อไปว่า สำนักงานประกันสังคมมีการพิจารณาเรื่องค่าบริการทางการแพทย์กรณีเหมาจ่ายในทุก 2-3 ปี และได้เพิ่มค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัวไปล่าสุดเมื่อเมษายน 2566 สำหรับค่าบริการทางการแพทย์นอกเหนือเหมาจ่ายรวมจ่ายค่าบริการทางการแพทย์กว่า 46,000 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 3,240 บาทต่อหัว ซึ่งให้แก่สถานพยาบาลกรณีรักษาโรคที่ต้องใช้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น ค่าบำบัดทดแทนไตกว่า 7,000 ล้านบาท ทั้งนี้ เรายังมีการจ่ายกรณีการเข้าถึงการรักษาแก่ผู้ประกันตนที่มีความจำเป็นต้องผ่าตัดหรือทำหัตถการภายใน 15 วัน ใน 5 โรคร้ายแรง และมีผู้ประกันตนเข้ารับการรักษาเป็นจำนวนมากกว่า 1,000 ล้านบาท เช่น โรงพยาบาลเอกชนซึ่งเป็นคู่สัญญาของสำนักงานประกันสังคมมีจำนวนผู้ประกันตนขึ้นทะเบียนกว่า 192,000 ราย ได้รับค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายกว่า 600 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าเหมาจ่ายพื้นฐานจำนวน 338 ล้านบาท มีผู้ประกันตนขึ้นทะเบียนเข้ารับการรักษาด้วยโรคเรื้อรังเพียง 26,000 กว่าราย ได้รับค่าเหมาจ่ายดูแลรักษาโรคเรื้อรัง 126 ล้านบาท ได้รับค่ารักษากรณีผ่าตัด 5 โรคร้ายแรงกว่า 18 ล้านบาท มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาเป็นกรณีผู้ป่วยใน จำนวน 9,300 ราย และได้รับค่าบริการทางการแพทย์จำนวน 184 ล้านบาท

ซึ่งจะเห็นได้ว่า สำนักงานประกันสังคมมีความมุ่งมั่นพัฒนาสิทธิประโยชน์ พร้อมจ่ายค่าบริการทางการแพทย์อย่างเพียงพอและครอบคลุมทุกโรค เพื่อให้ผู้ประกันตนได้รับการบริการอย่างมีคุณภาพ ทันต่อวิวัฒนาการของโรคในปัจจุบัน เข้าถึงบริการโดยแท้จริง และได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด ขอให้ผู้ประกันตนเชื่อมั่นในระบบการให้บริการทางการแพทย์ และสิทธิประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่สำนักงานประกันสังคม จัดบริการให้เหมาะสมแก่ผู้ประกันตนทุกช่วงวัย ทั้งนี้ ผู้ประกันตนสามารถ สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์หรือรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน โทร.1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'พิพัฒน์' ย้ำสิทธิประโยชน์อาชีพอิสระ มอบทุนซื้อบ้าน เงินทดแทนเจ็บป่วย เงินทุพพลภาพตลอดชีวิต บำเหน็จชราภาพ ด้วยประกันสังคมมาตรา 40

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นรุ่นแรก เป็นจังหวัดซึ่งมีประชากรจำนวนมากที่สุดในภาคใต้ ประกอบอาชีพอิสระกว่า 500,000 คน

ประกันสังคมเผย เปิดรับสิทธิโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน ปี 2567 วันแรก 1 พ.ย. 2567 ผู้ประกันตนให้ความสนใจเกือบเต็มโควตา ยื่นขอรับสิทธิกว่า 9,000 ล้านบาท

โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน พ.ศ. 2567 นี้ จะช่วยให้ผู้ประกันตนมีสินเชื่อเพื่อกู้ซื้อที่อยู่อาศัย ปลูกสร้างที่อยู่อาศัย หรือซื้อที่ดินพร้อมปลูกสร้างที่อยู่อาศัยได้อัตราดอกเบี้ยต่ำ เพียงร้อยละ 1.59 ต่อปี

'พิพัฒน์' รมว.แรงงาน ห่วงทายาทพนักงานกวาดถนนเทศบาลนครอ้อมน้อย ประสบเหตุถูกรถกระบะชนเสียชีวิต 2 ราย มอบประกันสังคม จ่ายเงินทดแทนกรณีตายในงาน

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และนายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน มีความห่วงใยและแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิต พร้อมมอบหมายให้ นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เร่งดำเนินการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิ

สปส. ย้ำขอความร่วมมือ นายจ้าง “แจ้งเข้า-แจ้งออก” ให้ลูกจ้างตามเวลาที่กฎหมายกำหนด ผ่านระบบ e-Service ของสำนักงานประกันสังคม

นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้กำหนดให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างทำงานในสถานประกอบการตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป

“บุญสงค์”ปลัดแรงงาน เข้ารับตำแหน่งวันแรก แถลงมุ่งผลักดันนโยบาย ปี 68 สร้างความเชื่อมั่น ยอมรับ ไว้วางใจ สนับสนุนความเป็นธรรมแก่คนทำงานทุกภาคส่วน

วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เวลา 14.00 น. นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวแถลงนโยบายกระทรวงแรงงานและแนวทางการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ต่อสื่อมวลชน ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน ว่า กระทรวงแรงงาน

เช็กสิทธิกรณีว่างงาน กรณีไหนบ้างได้รับเงินทดแทน หากผู้ประกันตนถูกเลิกจ้าง ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญา

ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 เป็นลูกจ้างที่ได้รับสิทธิประโยชน์ความคุ้มครอง 7 กรณี โดยเฉพาะในกรณีผู้ประกันตนที่ถูกเลิกจ้าง ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญา สำนักงานประกันสังคมจะยังคงคุ้มครองผู้ประกันตนให้ได้รับสิทธิประโยชน์ต่อเนื่องเป็นเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีว่างงาน