วันที่ 5 กันยายน 2567 เวลา 09.00 น. นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) เป็นประธานในพิธีปิดปฏิบัติการ “พม. ร่วมใจ สานสายใย พี่น้องเปราะบาง ชุมชนริมคลองเปรมประชากร” โดยมี นายกฤษดา สมประสงค์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) กล่าวรายงาน พร้อมด้วย ผู้บริหารกระทรวง พม. หน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง และผู้นำชุมชนวัดรังสิต และพี่น้องชาวชุมชนริมคลองเข้าร่วมงาน ณ ชุมชนวัดรังสิต ตำบลหลักหก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี
นายอนุกูล ปีดแก้ว กล่าวว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดย สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. และหน่วยงานระดับกรมสังกัดกระทรวง พม. ได้ร่วมกันปฏิบัติการ “พม. ร่วมใจ สานสายใย พี่น้องเปราะบาง ชุมชนริมคลองเปรมประชากร” เพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชนริมคลองเปรมประชากร โดยมุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและกลุ่มประชาชนที่มีความเปราะบาง ผ่านกิจกรรมและการให้ความช่วยเหลือต่างๆ ที่เหมาะสมกับความต้องการของประชาชนในชุมชน ทั้งนี้ การปฏิบัติการเริ่มต้นในชุมชนโซนกรุงเทพมหานคร โดยปฏิบัติการครั้งแรกดำเนินการเมื่อต้นเดือนมิถุนายน 2567 ที่ชุมชนริมคลองเปรมประชากรในเขตจตุจักร ซึ่งเป็นชุมชนที่อยู่ในกระบวนการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาที่อยู่อาศัย ต่อเนื่องเรื่อยมา และครั้งที่ 2 - 4 ลงพื้นที่ปฏิบัติการที่ชุมชนภายใต้โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนริมคลองเปรมประชากร เขตดอนเมือง และเขตหลักสี่ ซึ่งเป็นชุมชนที่มีการก่อสร้างบ้านมั่นคงและสมาชิกได้เข้าอยู่อาศัยในบ้านหลักใหม่แล้ว ทั้งนี้ หลังจากปฏิบัติการทั้ง 4 ครั้งที่ผ่านมา กระทรวง พม. ได้มีการดูแลกลุ่มผู้เปราะบางไปแล้ว 519 ราย จาก 7 ชุมชน และในวันนี้เป็นการปฏิบัติการครั้งที่ 5 ตามแผนโครงการในปี พ.ศ. 2567 เป็นการเชื่อมประสานการปฏิบัติระหว่างหน่วยงานส่วนกลาง และระดับจังหวัด ผ่านการบูรณาการการทำงานของภาครัฐ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาชุมชนทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
“การสนับสนุนการพัฒนาและการดูแลประชาชนต้องอาศัยความร่วมมือและการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ทั้งกระทรวง พม. กรุงเทพมหานคร จังหวัดปทุมธานี ตำรวจ ทหาร และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นการสร้างความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพ ที่จะช่วยให้การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงในชุมชนเป็นไปอย่างราบรื่นและมีพลัง โดยในส่วนของการทำงานเป็นการบูรณาการร่วมกับภาคส่วนในจังหวัดปทุมธานี และหน่วยงานระดับกรมสังกัดกระทรวง พม. จะได้เข้าพื้นที่ให้ความช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายผู้ประสบปัญหาเร่งด่วน และสำรวจข้อมูล เพื่อที่จะได้นำไปออกแบบการช่วยเหลือในระยะยาวต่อไปด้วย ทั้งนี้การสนับสนุนการพัฒนาและการดูแลประชาชนต้องอาศัยความร่วมมือและการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ทั้งกระทรวง พม. กรุงเทพมหานคร จังหวัดปทุมธานี ตำรวจ ทหาร และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นการสร้างความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีการอยู่อาศัยที่มั่นคง และมีสุขภาวะที่น่าอยู่”
นายกฤษดา สมประสงค์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช. มีภารกิจในการสนับสนุนและให้การช่วยเหลือแก่ประชาชนในรูปแบบกลุ่มองค์กรชุมชนและเครือข่ายองค์กรชุมชนในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาที่อยู่อาศัยและชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในชุมชนทั้งในเมืองและชนบท โดยยึดหลักการพัฒนาแบบองค์รวมหรือบูรณาการ และหลักการพัฒนาที่สมาชิกชุมชนมีส่วนร่วมเป็นแนวทางสำคัญ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและประชาสังคม จาก 5 นโยบายสำคัญ 5x5 ฝ่าวิกฤตประชากร ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พอช. ร่วมกับกรมภายใต้กระทรวง พม. หน่วยงานภาคีพัฒนา และภาคประชาชน จึงได้จัดปฏิบัติการ “พม.ร่วมใจ สานสายใยพี่น้องเปราะบาง ชุมชนริมคลองเปรมประชากรคลองเปรมประชากร” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างมั่นคงและยั่งยืนสำหรับประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย
ปฏิบัติการโครงการนี้ มีกลุ่มเป้าหมายนำร่อง 8 ชุมชน ซึ่งมีประชากรอยู่อาศัยกว่า 1,025 ครัวเรือน โดยในแต่ละชุมชน มีประชาชนกลุ่มเปราะบางกระจายตัวอยู่ในชุมชน ทั้งผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุ คนพิการ คนไร้ที่พึ่ง พ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว เด็กและเยาวชน รวมถึงผู้ที่ประสบปัญหาทางสังคม ไม่มีที่อยู่อาศัย ซึ่งที่ผ่านมา หน่วยงานระดับกรมสังกัดกรมกระทรวง พม. ได้ร่วมกันลงพื้นที่ปฏิบัติการดูแลกลุ่มเปราะบางต่างๆ ใน 7 ชุมชน โดยได้มีการส่งมอบข้อมูลกลุ่มเปราะบาง เพื่อการดูแลให้เข้าสู่ระบบสวัสดิการของรัฐ รวม 519 ราย แบ่งเป็น ครั้งที่ 1 จำนวน 416 ราย จากชุมชนกรุงเทพพัฒนนา ชุมชนเจริญชัยนิมิตใหม่ ชุมชนสวนผัก เขตจตุจักร ครั้งที่ 2 จำนวน 47 ราย จากชุมชนเปรมประชาสมบูรณ์ เขตดอนเมือง ครั้งที่ 3 จำนวน 16 ราย จากชุมชนหน้าท่าอากาศยานด้านใต้ เขตดอนเมือง ครั้งที่ 4 จำนวน 40 ราย ชุมชนตลาดหลักสี่ และชุมชนหลักสี่พัฒนา 99 เขตหลักสี่
“จากผลการลงพื้นที่ปฏิบัติการปรากฏว่า ประชาชนส่วนใหญ่เกิดความเชื่อมั่นในการบูรณาการการทำงานของกระทรวง พม. เนื่องจากมีผู้แทนจากกรมต่างๆ เข้าร่วมในการปฏิบัติการ อีกทั้งประชาชนมีความยินดีที่ได้รับการดูแลจากกรมและหน่วยงานอย่างทั่วถึง ผมขอเป็นตัวแทนของภาคประชาชน ขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่เห็นความสำคัญของการพัฒนาเพื่อประชาชน ที่ถือเป็นการสร้างโอกาสให้กับคนทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย และทุกสถานะ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในทุกมิติ ตามภารกิจของกระทรวง พม.ที่ต้องดูแลพี่น้องประชาชนทุกคน”
จากการดำเนินโครงการดังกล่าว เกิดการช่วยเหลือโดยกรมภายใต้กระทรวง พม. ดังนี้ 1. กรมกิจการเด็กและเยาวชน ให้การช่วยเหลือทั้งหมด 32 ครอบครัว มีการส่งเบิกและบันทึกในระบบจัดสวัสดิการเด็กและครอบครัว รวม 17 ครอบครัว (ช่วยเหลือแล้ว) ได้แก่ (1) ชุมชนกรุงเทพพัฒนา จำนวน 4 ครอบครัว (2) ชุมชนเปรมประชานุสรณ์ จำนวน 5 ครอบครัว (3) ชุมชนสวนผัก จำนวน 8 ครอบครัว โดยมีชุมชนที่อยู่ระหว่างดำเนินการขอยื่นรับการช่วยเหลือ รวม 15 ครอบครัว ได้แก่ (1) ชุมเจริญชัยนิมิตรใหม่ จำนวน 3 ครอบครัว (2) ชุมชนเปรมประชานุสรณ์ จำนวน 5 ครอบครัว (3) ชุมชนท่าอากาศยานใต้ จำนวน 2 ครอบครัว (4) ชุมชนตลาดหลักสี่ จำนวน 1 ครอบครัว และ (5) ชุมชนหลักสี่พัฒนา 99 จำนวน 4 ครอบครัว 2. กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ได้ให้ความช่วยเหลือพ่อ/แม่เลี่ยงเดี่ยวที่ประสบปัญหาทางสังคม 6 ราย ได้รับการช่วยเหลือเป็นเงินสงเคราะห์ครอบครัวไปแล้ว 4 ราย ที่ชุมชนกรุงเทพพัฒนา/ชุมชนเปรมประชานุสรณ์/ชุมชนสวนผัก (รายละ 3,000 บาท) คงเหลืออีก 2 ราย ของเขตหลักสี่พัฒนา (อยู่ระหว่างดำเนินการ) 3. กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ได้ให้การช่วยเหลือเงินสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อยและผู้ไร้ที่พึ่ง ฃกับครอบครัวที่ประสบความเดือดร้อน รวมทั้งสิ้น 13 ราย (รายละ 3,000 บาท) ซึ่งมีการดำเนินการแล้ว (1) ชุมชนเจริญชัยนิมิตรใหม่ 4 ราย (2) ชุมชนกรุงเทพพัฒนา 1 ราย (3) ชุมชนสวนผัก 2 ราย และอยู่ระหว่างดำเนินการ (1) ชุมชนเปรมประชาสมบูรณ์ 2 ราย (2) ชุมชนหน้าท่าอากาศยานด้านใต้ 3 ราย และ (3) ชุมชนตลาดหลักสี่ 1 ราย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'วราวุธ' ระบุ 'ซิงซิง-ดาราจีน' เป็นเหยื่อขบวนการค้ามนุษย์ พม. คุ้มครองตามกลไก NRM ตอนนี้ อยู่ในสภาวะที่ดีขึ้น พร้อมพูดคุยทีมสหวิชาชีพ
นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีนักแสดงชาวจีน "ซิงซิง" ได้รับการช่วยเหลือจากการถูกหลอกเป็นเหยื่อขบวนการค้ามนุษย์บริเวณชายแดนไทย-เมียนมา
วราวุธ เปิดงานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2568 'ให้ทุกวันเป็นวันของเด็ก' - นำเด็กในอุปการะ พม. เข้าพบ นายกฯอุ๊งอิ๊ง ร่วมกิจกรรมนั่งเก้าอี้นายกฯ บนตึกไทยคู่ฟ้า
นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานเปิดงานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2568 ภายใต้แนวคิด “Wonderful Kids Wonderful Days : ให้ทุกวันเป็นวันของเด็ก”
“วราวุธ" เผย ความคืบหน้า พม. รับ ด.ช. 7 ขวบ กาฬสินธุ์ เข้าบ้านพักเด็กและครอบครัวคุ้มครองสวัสดิภาพแล้ว-วางแผน อุปการะ เลี้ยงดู
วันที่ 9 มกราคม 2568 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เปิดเผยถึงกรณีเด็กชาย 7 ขวบ ไร้พ่อแม่ดูแล ซ้ำยังถูกทำร้ายร่างกายจนหน้าตาบวมช้ำ เต็มไปด้วยรอยขีดข่วน ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ว่า
“วราวุธ” ลั่น พม. ลุย ขับเคลื่อน พันธกรณีระหว่างประเทศ หวัง คุ้มครองสิทธิเด็ก สตรี คนพิการ ความเท่าเทียมทางเพศ ผู้สูงอายุ
เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2568 ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สะพานขาว กรุงเทพฯ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เปิดเผยภายหลังการประชุม ผู้บริหารกระทรวง พม. ประจำเดือนมกราคม 2568 ว่า หนึ่งในพันธกิจ 9 ด้าน (Flagship Projects) ที่ต่อยอดมาจากนโยบาย 5x5
“วราวุธ” ชวน เที่ยวงานวันเด็ก ที่กระทรวง พม. เสาร์ 11 ม.ค. นี้ ร่วมสนุกกิจกรรมมากมาย
วันที่ 7 มกราคม 2568 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เปิดเผยว่า วันเสาร์สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมกราคมของทุกปี เป็นวันเด็กแห่งชาติ
“วราวุธ” วอนสื่อโซเชียล ผลิตคอนเทนท์ เสริมความรู้-ปลอดภัย ให้เด็ก ขอพ่อแม่ อย่าใช้ แท็บเล็ต-โทรศัพท์ เพื่อทำให้เงียบ ย้ำ ผู้ใหญ่ต้องรู้เท่าทัน ยก ตปท. ออกมาตรการกำหนดเวลาดูจอ
เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2568 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.)