เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2567 ณ ห้องประชุม ชั้น 2 ศูนย์กีฬาและนันทนาการ มหาวิทยาสงขลา นครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพ นักรณรงค์ลดปัจจัยเสี่ยง สร้างสุขภาวะ ครั้งที่ 2 ของโครงการสานพลังมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รณรงค์และ จัดการความรู้ ลดปัจจัยเสี่ยงในมหาวิทยาลัยและชุมชนซึ่งได้รับการสนับสนุนการดำเนินโครงการจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมี ผศ.สุพจน์ โกวิทยา ที่ปรึกษาโครงการเป็นประธานเปิดการอบรม
รศ.ดร.นฤทธิ์ ดวงสุวรรณ์ หัวหน้าโครงการฯกล่าวว่าวผลการดำเนินงานลดปัจจัยเสี่ยงด้านยาสูบแอลกอฮอล์และอุบัติเหตุในพื้นที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 5 วิทยาเขตคือ หาดใหญ่ ปัตตานี ตรัง ภูเก็ตและสุราษฎร์ธานีและพื้นที่ชุมชนเป้าหมาย 5 ชุมชนรอบมหาวิทยาลัย ในช่วงตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 ถึงสิงหาคม 2567 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาและกรรมการบริหารโครงการ กรรมการดำเนินงานวิทยาเขต มีการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานวิทยาเขต 2 เดือน/ครั้ง มีกลไกบัณฑิตอาสานักจัดการปัจจัยสี่ยงวิทยาเขตละ 1 คน ทำหน้าที่จัดการข้อมูล ประสานงานขับเคลื่อนกิจกรรมและรณรงค์สร้างการรับรู้ โดยมีกิจกรรมที่น่าสนใจคือ วิทยาเขตหาดใหญ่และภูเก็ตจะออกมาตรการเรื่องบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าในมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ วิทยาเขตปัตตานีผลักดันให้เกิด มัสยิดบ้านม่วงเงินปลอดบุหรี่และจะขยายไปในระดับชุมชนด้วย
ด้านการจัดทำข้อมูลและแผนการขับเคลื่อนระดับวิทยาเขต มีการสำรวจข้อมูลปัจจัยเสี่ยงด้านบุหรี่ แอลกอฮอล์ อุบัติเหตุ เช่น ที่วิทยาเขตหาดใหญ่และตรัง มีการสังเกตพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัย พร้อมทำรายงานสถานการณ์ปัจจัยเสี่ยงวิทยาเขตละ 1 ชุด และชุมชนละ 1 ชุด ร่วมกำหนดแนวทางการจัดการปัจจัยเสี่ยงในมหาวิทยาลัยและชุมชน โดยเฉพาะวิทยาเขตสุราษฎร์ธานีมีการจัดส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ที่มีผลการวิเคราะห์ ปัจจัยเสี่ยงด้านอุบัติเหตุ แอลกอฮอล์ บุหรี่ และสารเสพติดอื่นๆในวิทยาเขตสุราษฎร์ธานีและชุมชนภูธรอุทิศ ให้แก่หน่วยงานระดับท้องถิ่น อำเภอ จังหวัด เพื่อวางแผนในการแก้ไขปัญหาต่อไป
หัวหน้าโครงการฯกล่าวต่อว่าด้านการพัฒนานักรณรงค์ปัจจัยเสี่ยง ได้พัฒนานักรณรงค์ที่มาจากนักศึกษา บุคลากรของวิทยาเขตโดยผลิตสื่อรณรงค์ สื่อออนไลน์ เรื่อง สสส.หนุน ม.อ.รณรงค์ลดปัจจัยเสี่ยง “บุหรี่-เหล้า-อุบัติเหตุ” จำนวน 1 ชุด เผยแพร่ผ่านช่องทางออนไลน์จำนวน 20 สำนัก สื่อออนไลน์ ห่วง “บุหรี่ไฟฟ้า” เจาะกลุ่มเด็กและเยาวชนผ่านสื่อออนไลน์ 10 สำนัก ผลิตวีดิโอ 11 คลิปเผยแพร่ผ่าน Facebook และผลิตสื่อ TikTok จำนวน 9 คลิปเผยแพร่ผ่านFacebook และ TikTok ผลิตโปสเตอร์จำนวน 52 ชิ้น พัฒนาบอร์ดเกมส์ 3 ชิ้นงาน คือ แฟลชการ์ด บิงโก แผนที่จุดเสี่ยง มอบให้กับโรงเรียนเครือข่ายจำนวน 4 โรงเรียน รวมทั้งผลิตไวนิลรณรงค์ช่วงเทศกาลปีใหม่และสงกรานต์ จำนวน 7 ชิ้นงานติดตั้งตามจุดต่างๆ ในมหาวิทยาลัยและชุมชน ผลิตป้ายรณรงค์ 4 ป้ายและผลิตชุดนิทรรศการรณรงค์ 2 ชุด
ขณะเดียวกันนักรณรงค์ปัจจัยเสี่ยงวิทยาเขตหาดใหญ่ ผลักดันให้เกิดแกนนำอาสาสมัครจราจรจำนวน 80 คน และแกนนำในชุมชนร่วมขับเคลื่อนโครงการ จำนวน 30 คน ส่วนวิทยาเขตตรัง จัดตั้งชมรม The Volunteers @ PSU Trang 1 ชมรม จำนวน 23 คน แกนนำชุมชนร่วมขับเคลื่อนโครงการ จำนวน 30 คน วิทยาเขตปัตตานี เกิดนักรณรงค์ในกลุ่มนักเรียนสาธิต ม.อ. จำนวน 20 คน เกิดแกนนำชุมชนต้นแบบ ลด ละ เลิกบุหรี่ชุมชนบ้านม่วงเงิน มีคนเลิกบุหรี่ได้เป็นเวลา 3 เดือน 1 คน ลดการสูบและตั้งใจจะเลิกจำนวน 22 คน วิทยาเขตภูเก็ต เกิดแกนนำนักเรียนนักรณรงค์โรงเรียนไทยรัฐวิทยา (29)และโรงเรียนกระทู้วิทยา จำนวนรวม 70 คน จัดกิจกรรมเรื่องพิษภัยบุหรี่ไฟฟ้า 7 ครั้งมีคนเข้าร่วมจำนวน1,111 คน กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น ส่วนวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี มีผู้ลงนามงดเหล้าเข้าพรรษา ปี 2567 จำนวน 42 คน ผลการติดตามครั้งที่ 1 เหลือผู้ร่วมงดเหล้าฯ 39 คน งดเหล้าไม่สำเร็จ จำนวน 3 คน ส่วนการผลักดันเชิงนโยบาย วิทยาเขตหาดใหญ่ มีการเสนอ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานด้านความปลอดภัยทางถนน พัฒนาระบบเฝ้าระวัง และวิเคราะห์สถานการณ์ติดตามประเมินผล มีการเสนอให้โรงเรียนเทศบาล 1 เมือง คอหงส์ มีการขับเคลื่อนกิจกรรมทั้งการบรรยาย ให้ความรู้ รณรงค์วินัยจราจรและ ประกาศให้ผู้ปกครองและนักเรียนสวมหมวกนิรภัย ตลอดเวลาการดำเนินทาง
ด้านนายวิเชษฐ์ พิชัยรัตน์ กรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) กล่าวว่า จากการสรุปความคืบหน้าของการดำเนินงานแต่ละวิทยาเขตมีความโดดเด่นที่แตกต่างกันเช่น วิทยาเขต หาดใหญ่และวิทยาเขตตรังเลือกประเด็นการลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุมีการระบุพฤติกรรมเสี่ยงของกลุ่มเป้าหมาย ระบุจุดเสี่ยงทั้งในมหาวิทยาลัยและชุมชนรวมทั้งมีการสังเกตพฤติกรรมการสวมหมวก นิรภัยซึ่งวิทยาเขตหาดใหญ่สวมหมวกนิรภัยเกิน 80 %ส่วนวิทยาเขตตรังสวมหมวกนิรภัยเกิน 50% วิทยาเขตปัตตานีและวิทยาเขตภูเก็ตเลือกประเด็นบุหรี่จากข้อมูลที่จัดเก็บสะท้อนว่าปัญหาบุหรี่ไฟฟ้า ในวิทยา เขตภูเก็ตนั้นรุนแรงขึ้นมีคนสูบบุหรี่ไฟฟ้า 19.5% สูบบุหรี่ธรรมดา 8.2% และ 87%ซื้อจากออนไลน์ ส่วน วิทยาเขตปัตตานีนั้นเน้นทำงานร่วมกับชุมชนด้วยการสร้างต้นแบบมัสยิดปลอดบุหรี่และจะขยายไปสู่ ชุมชน ในขณะที่วิทยาเขตสุราษฎร์ธานีเน้นให้ความรู้กับประชาชนและนักศึกษาปี 1 มีการร่วมรณรงค์ลงนามเครือข่ายคนงดเหล้าเข้าพรรษา
กรรมการกองทุนสสส.กล่าวต่อว่าการดำเนินกิจกรรมแต่ละวิทยาเขตต้องยึดตัวชี้วัดโครงการ นอกจากนี้พบว่ายังมีจุดที่ควรดำเนินการเพิ่มเติมเช่นการจัดการความรู้ทั้งการจัดเก็บข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูลและการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อนำไปสื่อสารรณรงค์ให้ความรู้และจัดกิจกรรมเช่นเมื่อระบุจุดเสี่ยงของอุบัติเหตุแล้วจะลดจุดเสี่ยงอย่างไรหรือสวมหมวกนิรภัยน้อยจะมีกิจกรรมเพิ่มการสวมหมวกนิรภัยให้มากขึ้นได้อย่างไร รวมทั้งการหาแนวทางลดปัญหาอุปสรรคในการทำงานที่มีการระบุไว้ทั้งการวางแผนจัดกิจกรรมให้มีความแน่นอนและการเชื่อมประสานการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย
ขณะที่ผศ.ดร.ลักขณา เติมศิริกุลชัย ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านการควบคุมยาสูบได้สรุปสถานการณ์ความรุนแรงของบุหรี่ไฟฟ้าว่า ประชากรไทยวัย 15 ปีขึ้นไปมีการสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจาก 48,336 คนในปี 2557 เป็น 709,677 คนในปี 2565 โดยเฉพาะ เด็กผู้ชายและผู้หญิงวัย 13-15 ปีสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 5.3 เท่าแต่ที่น่าตกใจคือถ้าแยกเฉพาะเพศหญิงเพิ่มขึ้นถึง 7.9 เท่า อันตรายและโรคที่เกิดจากบุหรี่ไฟฟ้าพบว่ามี การทำลายเซลล์หลอดเลือดแดง 58% เสี่ยงต่อเส้นเลือดในสมองตีบเร็วกว่าบุหรี่ธรรมดา 10 ปีและก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเช่น ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ควันบุหรี่ไฟฟ้าทั้งมือหนึ่งและมือสองมีผลต่อพัฒนาการสมองของทารกในครรภ์ ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลงมากกว่าเด็กที่ไม่สูบ 3-4 เท่า นิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้าทำให้เส้นเลือดหดตัวทั่วร่างกาย ทำให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ มีข้อมูลชุดเจนว่า53%ของวัยรุ่นไทยที่สูบบุหรี่ไฟฟ้ามีอาการซึมเศร้า
นอกจากพิษภัยของบุหรี่ไฟฟ้าที่รุนแรงแล้ว นักรณรงค์จะต้องชี้เห็นว่าเป็นสิ่งผิดกฎหมายทั้งประกาศกระทรวงพาณิชย์ที่ห้ามนำมีบทลงโทษจำคุกจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับเป็นเงิน 5 เท่าของราคาสินค้าหรือทั้งจำทั้งปรับ พ.ร.บ.ศุลกากรก็ห้ามน้ำเข้ามีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปีหรือปรับไม่เกิน 500,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ คำสั่งคณะกรรมการคุมครองผู้บริโภคห้ามขาย ห้ามให้บริการ ฝ่าฝืนจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 500,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ โดยกลยุทธ์ของธุรกิจบุหรี่คือทำให้บุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าเป็นเรื่องปกติในสังคม โดยมุ่งเป้าไปที่เด็กและเยาวชน อ้างว่าปลอดภัย ช่วยเลิกบุหรี่มวนได้ มีการสร้างเครือข่ายสนับสนุนฝ่ายตัวเองทั่วโลกผ่านมูลนิธิเพื่อโลกปลอดควันบุหรี่ เราต้องสื่อสารให้ประชาชนรู้เท่าทัน.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เคาะ 6 ข้อเสนอ แผน 'สุขภาพจิตชุมชน' พร้อมดันสู่วาระชาติ
นายชาญชัย ทองสัมฤทธิ์ ผู้อำนวยสถาบันพัฒนาศักยภาพเพื่อความเท่าเทียมทางสังคม มูลนิธิบุญยง-อรรณพ นิโครธานนท์ ตัวแทนแกนนำขับเคลื่อนโครงการพัฒนาความร่วมมือ
'ทิกเกอร์' ตะลุย 30 โรงเรียน ซัพพอร์ตทุกความฝันวัยรุ่น Gen Z
จัดเต็มความสนุกบุกไปถึงรั้วโรงเรียนกันอีกครั้ง พร้อมจุดไอเดียความฝัน สร้างแรงบันดาลใจให้น้อง ๆ วัยรุ่น Gen Z กันถึงที่ กับกิจกรรม YUMSTER School Tour ปี 2 กิจกรรมดี ๆจากผลิตภัณฑ์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ยำยำ คัพ (YumYum Cup) เพื่อเปิดโอกาสให้น้อง ๆ นักเรียนทั้ง 30 โรงเรียนได้ร่วมสนุก พร้อมเปิดพื้นที่ให้เป็นเวทีปล่อยของคนมีฝัน
'สมชัย' ตามบี้ต่อ! ฝากคนไทยในสหรัฐพิสูจน์ 'University tower'
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า จริงหรือไม่ 1.University tower ที่ตั้งอยู่ที่เลขที่ 4199 Campus Drive
เปิดยิ่งใหญ่! ม.อ. เจ้าภาพจัดประกวดออกแบบนวัตกรรม แก้ปัญหาพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง YICMG 2024
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นเจ้าภาพจัดโครงการประกวดออกแบบนวัตกรรม แก้ปัญหาพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง The 8th Youth Innovation Competition on Lancang-Mekong Region’s Governance and Development (YICMG 2024)