สศท. จัดงาน SACIT Craft Power 2025 : Symposium วิเคราะห์แนวโน้มหัตถกรรมปี 68 ผลักดันหัตถกรรมไทยสู่ตลาดโลก

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. จัดกิจกรรม SACIT Craft Power 2025 : Symposium โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ ซึ่งอยู่ในวงการศิลปหัตถกรรม และการออกแบบระดับโลก เพื่อถ่ายทอดทิศทางหรือแนวโน้มงานศิลปหัตถกรรมไทยและองค์ความรู้เกี่ยวกับงานศิลปหัตถกรรม และการพัฒนางานคราฟต์เชิงพาณิชย์ ร่วมผลักดันงานคราฟต์ของไทยให้ก้าวไกลไปสู่ตลาดโลก

นางพรรณวิลาส แพพ่วง รักษาการแทนผู้อำนวยการ สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. เปิดเผยว่า การกำหนดทิศทางหรือแนวโน้มงานศิลปหัตถกรรมไทยให้ชัดเจน ถือเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาอย่างครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ ดังนั้น สศท. จึงได้จัดกิจกรรม SACIT Craft Power 2025 : Symposium ซึ่งในครั้งนี้ ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ ทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ จากหลากหลายวงการ มาร่วมถ่ายทอดความรู้ แลกเปลี่ยนแนวคิด และมุมมอง เกี่ยวกับงานศิลปหัตถกรรม และการพัฒนางานคราฟต์เชิงพาณิชย์ กลยุทธ์ทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงเทรนด์วิถีชีวิตของคนปัจจุบัน

โดย Speaker มาร่วมให้ความรู้ใน 3 หัวข้อหลัก ซึ่งล้วนเป็นหัวข้อที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้ร่วมงานได้เข้าใจถึง SACIT Craft Power 2025 อย่างชัดเจนได้แก่ 1. “ศิลปหัตถกรรมไทย สู่สากล” จากรากเหง้าสู่สากล พัฒนางานศิลปหัตถกรรมสู่เวทีระดับโลก Speaker โดย คุณศรัณญ อยู่คงดี ผู้ก่อตั้ง ‘SARRAN’ แบรนด์เครื่องประดับที่นำเสน่ห์หญิงไทยโบราณได้อย่างเฉียบคม รวมทั้งยังได้รับรางวัลนักออกแบบแห่งปี สาขา Jewelry Design ปี 2021 และรางวัล Craft Design Award จาก World Crafts Council แห่ง UNESCO และ Mr. Jean Charles Chappuis ที่ปรึกษาประธานกรรมการบริษัท Currey & Company ผู้นำเข้างานศิลปะ และของแต่งบ้านจากเอเชียสู่ตลาดยุโรป

2. “ถอดรหัสศิลปหัตถกรรม สู่งานศิลปะร่วมสมัย” การค้นหาอัตลักษณ์แห่งชนชาติ ต่อยอดสู่ศิลปหัตถกรรมร่วมสมัย Speaker โดย คุณนักรบ มูลมานัส ซึ่งเป็นศิลปิน นักสร้างสรรค์ด้านภาพ ที่ทำงานโดยใช้สื่อตัดแปะเป็นหลัก โดยการนำชิ้นส่วนประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมภาพในท้องถิ่น และความแปลกใหม่มาวางเคียงกัน เป็นการผสมผสานกับสุนทรียศาสตร์ร่วมสมัย ซึ่งได้รับรางวัลจาก Cité Internationale des Arts ในปารีส และเป็นหนึ่งในศิลปินของ Bangkok Art Biennale และ Mr. Haoyang Sun ทูตศิลปะและการออกแบบระดับนานาชาติ, ภัณฑารักษ์โครงการเครื่องประดับระดับนานาชาติ

3. “โลกตื่นตัวเรื่อง Sustainability ไทยตื่นตัวเรื่อง Soft Power” ซึ่งจะเป็นการขับเคลื่อนศิลปหัตถกรรมด้วยพลังแห่งความยั่งยืน Speaker โดย รศ.ดร. สิงห์ อินทรชูโต อาจารย์ทางด้านนวัตกรรมอาคาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบด้านสิ่งแวดล้อม (Eco-Design) และ Mr. Martin Venzky-Stalling ที่ปรึกษาอาวุโส อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเป็นผู้เปิดช่องทางการสั่งซื้องานหัตถกรรมภาคเหนืออย่าง salah made ช่วยก่อตั้งรางวัล CDA (Creative Design Awards) สำหรับงานดีไซน์ภาคเหนือ

ซึ่งเป้าหมายในครั้งนี้ สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. ตระหนักถึงกลไกแห่งการขับเคลื่อนศิลปหัตถกรรมไทยให้เกิดความยั่งยืน สนับสนุนกลยุทธ์และระบบการบริหารจัดการที่สร้างสรรค์ อันประกอบด้วย กลไกการค้นหา กลไกการรักษา และกลไกการพัฒนา เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ ตอบรับกระแสตลาดไทยและตลาดโลก ต่อยอดองค์ความรู้ในมุมใหม่ๆของวงการหัตถศิลป์ไทย ผลักดันงานศิลปหัตถกรรมให้เป็นกลไกสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม อย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน

ผู้สนใจงานในด้านศิลปหัตถกรรมไทย และแนวโน้มงานหัตถกรรมโลก ติดตามข้อมูลได้ผ่านทางหนังสือ SACIT Craft Power Book 2025 ในรูปแบบ E-book ได้ที่ https://www.sacit.or.th/th/detail/2024-06-20-16-40-45 หรือติดต่อขอรับหนังสือได้ที่ ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรม สำนักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรม สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. โทร. 0-3536-7054-9 ต่อ 1712

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สศท.ชวนชื่นชมเสน่ห์งานหัตถศิลป์จากช่างฝีมือในชุมชนหัตถกรรม

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. อวดโฉมชุมชนเรียนรู้หัตถกรรมเชื่อมโยงการท่องเที่ยว (Craft Communities) ยกงานหัตถกรรมจากกลุ่มเครื่อง สังคโลกและเครื่องปั้นดินเผา จ.สุโขทัย และวิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี ที่โดดเด่นเรื่องการทอผ้าเอกลักษณ์ของตำบลนาหมื่นศรี จ.ตรัง รวบรวมไว้ในงาน Crafts Bangkok 2024 ระหว่างวันที่ 24 - 28 สิงหาคมนี้ ตั้งแต่เวลา 10.00 - 20.00 น. ณ ฮอลล์ 98 - 99 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค

วิรัช ทะไกรเนตร ครูศิลป์ของแผ่นดิน ปี 2567 ผู้สร้างสรรค์ “จิตรกรรมเบญจรงค์ร่วมสมัย” หัตถศิลป์ที่ผสานองค์ความรู้อันทรงคุณค่า

จุดเริ่มต้นเกิดจากความรักในงานศิลปหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผา และความสุขของการได้ทำงานจิตรกรรม จึงได้รวบรวมองค์ความรู้ของงานทั้ง 2 ประเภท

ครูผู้สืบสานงานหัตถกรรมเครื่องลงยาสีร้อน และส่งต่อเป็นมรดกทางภูมิปัญญาไม่ให้สูญหาย

งานเครื่องลงยาสี เป็นงานศิลปหัตถกรรมไทย ที่ช่างฝีมือสร้างสรรค์ไว้บนเครื่องใช้ เครื่องประดับ ที่แสดงออกถึงเอกลักษณ์ไทย

สศท.ชวนผู้สนใจงานหัตศิลป์ อัปสกิลฝีมือเชิงช่าง ที่ SACIT e-Learning

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. นำองค์ความรู้งานศิลปหัตถกรรม มาพัฒนาในรูปแบบสื่อเพื่อการเรียนรู้

สศท. นำเทรนด์แฟชั่นต่อยอด สร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทย จากฝีมือผู้ต้องการโอกาสในโครงการกำลังใจ

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. นำเทรนด์แฟชั่น เทคนิค มาต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มให้กระเป๋าสม็อคฝีมือการสร้างสรรค์จากกลุ่มผู้ต้องการโอกาสในโครงการกำลังใจ

สศท. เชิดชูครูศิลป์ฯ ครูช่างฯ ทายาทฯ ด้านงานหัตถศิลป์ไทยประจำปี 2567 หวังสืบสานส่งต่อองค์ความรู้และภูมิปัญญาอันทรงคุณค่าของไทย

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ สศท. เฟ้นหาผู้สร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมจากทั่วประเทศไทย เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นครูศิลป์ของแผ่นดิน