"พิพัฒน์" ยินดี ประกันสังคม 34 ปี ลั่น ปี 68 เดินหน้า แก้กฎหมายเพิ่มสิทธิ์เตรียมลุยมาตรการ 3 ขอ "ขอเลือก ขอคืน ขอกู้" ให้ผู้ประกันตน

3 กันยายน 2567 วันคล้ายวันสถาปนาสำนักงานประกันสังคมครบรอบ 34 ปี นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดงาน และให้เกียรติเป็นประธานในพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณแก่ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อสำนักงานประกันสังคมและรางวัลสถานพยาบาลในดวงใจ โดยมี นายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานผู้บริหารกระทรวงแรงงาน ให้การต้อนรับ ณ สำนักงานประกันสังคม จังหวัดนนทบุรี
.
นายพิพัฒน์ กล่าวว่า ในโอกาสที่สำนักงานประกันสังคมดำเนินงานมาเป็นระยะเวลา 34 ปี ผมขอแสดงความยินดีกับสำนักงานประกันสังคม ที่สามารถดูแลอยู่เคียงข้างเป็นที่พึ่งของลูกจ้าง ผู้ประกันตน โดยยึดมั่นภารกิจในการสร้างหลักประกันความมั่นคง เพื่อคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น โดยผมได้มอบนโยบายหรือทิศทางการขับเคลื่อนงานประกันสังคมในปี 2568 โดยให้ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้ผู้ประกันตน ตามร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่...) พ.ศ. ... อาทิ ขยายฐานอายุผู้ประกันตนมาตรา 33 เป็น 65 ปี ผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือ 39 ที่มีสิทธิรับเงินบำนาญชราภาพ สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39/1 เพื่อรับสิทธิประโยชน์ 3 กรณี คือประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ และตาย อีกทั้ง กรณีผู้ประกันตนออกจากงานจะได้สิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตรต่ออีก 6 เดือน เพิ่มเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรจากเดิมในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเป็นเวลา 90 วัน เพิ่มเป็น 98 วัน เพิ่มเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพเป็นร้อยละ 70 (เดิมร้อยละ 50) กรณีว่างงานให้ลูกจ้างที่มีอายุไม่เกิน 60 ปี มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจนเสร็จสิ้นก่อนแล้วจึงจะได้รับเงินกรณีชราภาพ
.
ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ยังได้กล่าวถึงมาตรการ 3 ขอ คือ ขอเลือก ผู้ประกันตนที่มีสิทธิรับเงินบำนาญชราภาพ สามารถเลือกรับเป็นเงินบำเหน็จหรือบำนาญได้ ตามข้อกำหนด ขอคืน กรณีเกิดภัยพิบัติที่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกันตนอย่างร้ายแรง สามารถขอรับเงินชราภาพบางส่วนได้ก่อนอายุครบ 55 ปี ตามข้อกำหนด ขอกู้ ผู้ประกันตนสามารถนำเงินชราภาพบางส่วน ใช้เป็นหลักประกันกับสถาบันการเงินที่ทำความตกลงกับสำนักงานประกันสังคม ตามข้อกำหนด อีกทั้งสำนักงานประกันสังคมยังได้มีการพัฒนาสิทธิประโยชน์ใหม่ๆ ให้ผู้ประกอบอาชีพอิสระ มาตรา 40 ดังนี้

1. กรณีทุพพลภาพ ปรับเพิ่มสูงสุด 3,000 บาท คุ้มครองตลอดชีวิต

2. กรณีสงเคราะห์บุตร ปรับเพิ่มเป็นจำนวน 300 บาท ต่อบุตร 1 คน สูงสุดไม่เกินคราวละ 2 คน อายุไม่เกิน 7 ปีบริบูรณ์

3. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เป็นเงินทดแทนการขาดรายได้
(1) กรณีที่ไม่ได้พักรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลและไม่มีความเห็นของแพทย์ให้หยุดพักรักษาพยาบาล (ไป-กลับ) ทางเลือกที่ 1 และทางเลือกที่ 2 ปรับเป็นอัตราครั้งละ 200 บาท จำนวน 3 ครั้งต่อปี
(2) ผู้ประกันตนทั้ง 3 ทางเลือก สามารถรับเงินทดแทนการขาดรายได้ ในกรณีที่แพทย์มีความเห็นให้หยุดพักรักษาพยาบาล ตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป ขณะนี้อยู่ระหว่างร่างกฎหมายและเสนอตามขั้นตอนต่อไป
.
ด้านนายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการ สปส. กล่าวว่า สำนักงานประกันสังคมมีภารกิจในการสร้างหลักประกันความมั่นคงในการดำรงชีวิต ดูแลลูกจ้างและผู้ประกันตน จวบจนวันนี้เป็นเวลากว่า 34 ปีแล้ว โดยปัจจุบันมีสถานประกอบการอยู่ในระบบประกันสังคมกว่า 526,000 แห่ง ลูกจ้าง ผู้ประกันตนอยู่ในความคุ้มครอง จำนวน 24.7 ล้านคน สำหรับผลงานในปี 2566 ที่ผ่านมา สำนักงานประกันสังคมได้ก้าวสู่ความสำเร็จ โดยมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ อาทิ สร้างการรับรู้และรับฟังความคิดเห็นงานประกันสังคม จัดการประชุมวิชาการประกันสังคม ในหัวข้อ
“SSO Sustainable for All เพราะกองทุนประกันสังคมเป็นของพวกเราทุกคน” ซึ่งผลสรุปการประชุมจะเป็นแนวทางในการบริหารงานประกันสังคมเพื่อความยั่งยืนของกองทุนในอนาคต เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกภาคส่วน ด้านบริการทางการแพทย์ สำนักงานประกันสังคมได้พัฒนาการบริการทางการแพทย์ โดยเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงการรักษาพยาบาล ลดระยะเวลารอคอย สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้ประกันตน เช่น โครงการ SSO515 และโครงการตรวจสุขภาพเชิงรุกในสถานประกอบการ ด้านการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรม มาใช้ในการบริหารจัดการและการให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น Application “SSO plus” ซึ่งทำให้ผู้ประกันตนสามารถเข้าถึงข้อมูลด้านสิทธิประโยชน์ แบบครบวงจรได้ตลอดเวลา

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"พิพัฒน์" เร่งช่วยคนงานเหตุแท่นพิมพ์หนีบศีรษะ ส่งประกันสังคม ดูแลครอบครัวรับสิทธิประโยชน์

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เผยว่า เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2567 เวลา 08.30 น. ได้เกิดเหตุเครื่องพิมพ์หนีบศีรษะลูกจ้างชาวเมียนมาเสียชีวิต ย่านจอมทอง กรุงเทพฯ และขอแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมมอบ

"พิพัฒน์" ลุยนครพนม ส่งเสริมเลี้ยงต่อหัวเสือ มอบเครื่องมือทำกินแรงงานอิสระ เพิ่มรายได้ครัวเรือน

วันที่ 30 สิงหาคม 2567 เวลา 10.00 น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานพิธีเปิดงานเทศกาลกินต่อหัวเสือโลก เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประจำปี 2567

"พิพัฒน์" พลิกโฉมแรงงานรุ่นใหม่ สู่การจ้างงานยุคดิจิทัล Thailand Digital Employer Day 2024 ผนึกเครือข่าย เตรียมคนทำงานสู่อนาคต

วันที่ 29 สิงหาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธีเปิดงาน Thailand Digital Employer Day 2024 ‘ยกระดับแรงงานดิจิทัล ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย สู่ความมั่งคั่งและยั่งยืน” พร้อมทั้งกล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ

ก.แรงงาน ผนึกกำลังมูลนิธิหัวใจบริสุทธิ์ ส่งต่อธารน้ำใจช่วยผู้ประสบอุทกภัยภาคเหนือ

วันที่ 29 สิงหาคม 2567 เวลา 10.00 น. นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานมอบเครื่องอุปโภคบริโภคให้กับ นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์

รมว.พิพัฒน์ ห่วงเหตุการณ์ดินถล่มอุโมงค์รถไฟคลองไผ่ จ.นครราชสีมา สั่งประกันสังคมเตรียมให้การช่วยเหลือสิทธิกองทุนเงินทดแทน 3 แรงงาน โดยเร่งด่วน

จากกรณีเกิดเหตุดินทรุดตัวภายในอุโมงค์รถไฟคลองไผ่ ช่วงคลองขนานจิตร ตำบลจันทึก อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นอุโมงค์ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างในโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน

ประกันสังคม ลงพื้นที่เยี่ยมผู้ได้รับบาดเจ็บพร้อมมอบเงินเยียวยาผู้เสียชีวิตจากเหตุดินโคลนถล่ม จ.ภูเก็ต

จากเหตุการณ์ดินโคลนถล่มบ้านเรือนในพื้นที่ซอยปฏัก 2 ตำบลกะรน อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 13 ราย