“พาณิชย์” สำรวจห้างค้าปลีกชื่อดังในสหรัฐอเมริกา Trader Joe’s กว่า 500 สาขา สร้างโอกาสของสินค้า OTOP ไทย

“พาณิชย์” สำรวจห้าง Trader Joe’s ซึ่งเป็นห้างอีกรูปแบบหนึ่งของการค้าในสหรัฐอเมริกา จำหน่ายสินค้าภายใต้แบรนด์ของห้างตนเองกว่า 500 สาขา นำเข้าสินค้าจากไทยจำนวนหลายรายการ รวมทั้งสินค้า OTOP ทั้ง อาหารแช่เย็นแช่แข็ง ไอศกรีม ผลไม้อบแห้ง ซอส น้ำจิ้มไก่ เครื่องปรุงรส น้ำมะพร้าว เป็นสินค้าขายดี มอบ นโยบายเชื่อมโยงเอเย่นต์ ของห้างดังกล่าวในไทยนำเข้าสินค้าไทยมาขายเพิ่ม

นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการเดินทางไปสำรวจตลาด และศึกษาแนวทางการขยายตลาดสินค้าไทยในห้าง Trader Joe’s ร่วมกับทีมพาณิชย์ ว่า จากการสำรวจตลาด พบว่า ห้างมีการจำหน่ายสินค้าอาหารและเครื่องดื่มจากไทย ภายใต้แบรนด์ของ Trader Joe’s เป็นจำนวนมาก อาทิ อาหารแช่แข็งสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน เช่น ข้าวผัดกุ้ง ผัดไท ข้าวแกงเขียวหวาน ขนมขบเคี้ยว เช่น ไอศกรีมโมจิ ผลไม้อบแห้ง ซอสพริกแดง พริกเหลือง น้ำจิ้มไก่ เม็ดมะม่วงหิมพานต์พริกมะนาว เป็นต้น

สำหรับสินค้าไทยที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก คือ ซอสปรุงรส  น้ำมะพร้าว และผลไม้อบแห้ง ซึ่งได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ที่ดูแลตลาดสหรัฐฯ เดินหน้าแสวงหาลู่ทางการขยายตลาดสินค้าไทย โดยเฉพาะการสร้างความสัมพันธ์กับบริษัทตัวแทนหรือเอเย่นต์ของห้างในประเทศประเทศไทยเพื่อเป็น ผู้เชื่อมโยงในการหาสินค้า และความต้องการของห้างป้อนสินค้าสู่ตลาดรวมถึงศึกษาโอกาสของสินค้าไทยเพื่อเข้าไปทดแทนสินค้าของคู่แข่งโดยเฉพาะสินค้า OTOP ไทยไม่ว่าจะเป็นผลไม้อบแห้ง ทั้งมะม่วง สับปะรด กล้วย มะพร้าว ซึ่งไทยมีความได้เปรียบในคุณภาพ เพื่อที่จะได้วางแผนในการส่งเสริมและผลักดันสินค้าไทยเข้าสู่ตลาดสหรัฐฯ รวมทั้งให้เดินหน้าเจรจากับผู้บริหารของห้าง และผลักดันให้สินค้าไทยเข้าไปจำหน่ายในห้างได้เพิ่มขึ้นต่อไป

ทั้งนี้ บริษัท Trader Joe's เป็น Chain Grocery Store ปัจจุบันมีสาขากระจายอยู่ทั่วประเทศสหรัฐฯ ประมาณ 569 สาขาใน 43 มลรัฐ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่รัฐ California วัตถุประสงค์หลักของบริษัท คือ การเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีที่สุดในราคาที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้า

ห้าง Trader Joe’s แห่งแรก เปิดในปี 2510 ณ เมืองแพซาดีนา รัฐแคลิฟอร์เนีย Trader Joe's เป็นห้างสรรพสินค้าที่ทำอะไรง่าย ๆ ไม่มีส่วนลด ไม่มีการสะสมคะแนนหรือระบบสมาชิกใด ๆ มีการดำเนินนโยบาย อาทิ การพยายามสั่งซื้อสินค้าจากบริษัทผู้ผลิตโดยตรง โดยไม่ผ่าน Brokers / ตัวกลาง การซื้อสินค้าในปริมาณมาก และทำสัญญาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อให้ได้ราคาดีที่สุด และหากสินค้าใดที่ไม่เป็นที่นิยมของลูกค้า จะถูกดึงออกจากชั้น เพื่อเปิดโอกาสให้ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่ ๆ ตลอดจนการที่ Trader Joe’s ไม่มีนโยบายเก็บค่าวางขายสินค้า (Slotting Fee) ซึ่งทำให้ผู้บริโภคไม่ต้องซื้อสินค้าในราคาที่สูงขึ้น ซึ่ง Chain Grocery Store ในสหรัฐฯ ส่วนใหญ่จะมีค่าธรรมเนียมดังกล่าว

นอกจากนี้ ห้างค้าปลีก Trader Joe’s นำเข้าสินค้าที่มีเอกลักษณ์และน่าสนใจจากหลายประเทศ (ส่วนมากในรูปแบบ OEM) ทั้งไทย เกาหลี ญี่ปุ่น จีน เม็กซิโก อิตาลี ฝรั่งเศส และอื่น ๆ ภายใต้แบรนด์ของ Trader Joe's กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เป็นผู้บริโภคชาวอเมริกันรุ่นใหม่ โดยในปี 2566 มียอดขายอยู่ที่ประมาณ 20 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 720 พันล้านบาท และยังมีช่องทางการจำหน่ายสินค้าในรูปแบบออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ https://www.traderjoes.com

สำหรับผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ www.ditp.go.th หรือสายตรงการค้าระหว่างประเทศ โทร 1169

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เริ่มแล้ว!! มหกรรมสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย สุดยอดสินค้า GI ทั่วไทยถึงมือผู้บริโภคใจกลางกรุง ในงาน GI MARKET 2024 ที่เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์

เริ่มแล้ววันนี้ มหกรรมสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย GI ทุกภูมิภาค ทั่วประเทศไทย รวมไว้ในงานเดียว ส่งมอบเอกลักษณ์ท้องถิ่นถึงมือผู้บริโภคใจกลางกรุง ในงาน GI MARKET 2024 จัดโดย ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมกับ กรมทรัพย์สินทางปัญญา

พาณิชย์เผยอัตราเงินเฟ้อไทยไทยต่ำเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สนค. ได้มีการติดตามข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของประเทศในกลุ่มอาเซียน เพื่อสะท้อนให้เห็นภาพเศรษฐกิจโดยรวมของกลุ่มประเทศดังกล่าวเนื่องจากเป็นคู่ค้าสำคัญของไทย

“สุชาติ” ชูนโยบาย “พาณิชย์เชิงรุกเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันทางการค้า” เน้น 3 เสาหลัก ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียในงาน Asia Economic Forum 2024

รมช.พณ.สุชาติ เปิดงาน Asia Economic Forum 2024 (AEF 2024) ตอกย้ำความสำคัญของภาคเอกชนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจการค้าของภูมิภาคเอเชีย พร้อมสนับสนุนการทำงานร่วมระหว่างภาครัฐกับเอกชน ภายใต้นโยบาย “พาณิชย์เชิงรุกเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันทางการค้า” เน้น 3

“ภูมิธรรม” เคาะ 68 มาตรการ คุมเข้มนำเข้าสินค้าและบริการไม่ได้มาตรฐานและผิดกฎหมายจากต่างประเทศ

“ภูมิธรรม” เคาะ 68 มาตรการ คุมเข้มนำเข้าสินค้าและบริการไม่ได้มาตรฐานและผิดกฎหมายจากต่างประเทศ พร้อมปรับกฎระเบียบรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลก