ยกย่ององค์กรต้นแบบรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ สร้างแรงบันดาลใจขับเคลื่อนสังคมพ้นภัย

เทคโนโลยีที่ทันสมัย การสื่อสารไร้ขอบเขต สามารถกลับกลายเป็น "ดาบสองคม" ได้ หากผู้บริโภคหรือผู้รับสื่อ "รู้ไม่เท่าทัน" โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนในโลกยุคดิจิทัลปัจจจุบัน จำเป็นต้องเข้าไปใกล้ชิดและท่องอยู่ในโลกออนไลน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม เสมือนหนึ่งเป็นปัจจัยที่ 5 ของการดำรงชีวิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น

จากผลสำรวจพฤติกรรมพนันออนไลน์ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ปี 2566 โดยศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำรวจกลุ่มตัวอย่างอายุ 15-25 ปี จำนวน 3,418,000 คนจากทั่วประเทศ พบเด็กไทยถูกชักชวนผ่านสื่อออนไลน์ให้เล่นพนันออนไลน์ 3 ล้านคน ในจำนวนนี้มีถึง 1.4 ล้านคนที่เสี่ยงกลายเป็นนักพนันหน้าใหม่ นำไปสู่โรคติดพนัน  เพราะการเล่นพนันมีผลโดยตรงต่อสมองของเด็ก เสี่ยงต่อการป่วยซึมเศร้า ฆ่าตัวตาย ที่สำคัญยังมีความเสี่ยงที่จะใช้สารเสพติดสูงกว่าคนไม่เล่นการพนันถึง 5 เท่า ที่น่าตกใจ  เด็ก 97% ระบุว่าเคยพบเห็นบุคคลในครอบครัว เพื่อน  คนใกล้ชิดเล่นพนันออนไลน์ นอกจากนี้ยังมีการแชร์ บอกต่อ หรือชักชวนให้ร่วมเล่นพนันอีกจำนวนมาก

สะท้อนบอกว่า สื่อออนไลน์ในปัจจุบันถูกใช้เป็นเครื่องมือของอาชญากรในการหลอกลวง และนำเสนอเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมในเรื่องยาเสพติด เหล้า  พนัน และความรุนแรงรูปแบบต่างๆ ก่อให้เกิดความเสียหาย โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน

ด้วยตระหนักถึงปัญหาใกล้ตัวในการใช้สื่อออนไลน์แบบสุ่มเสี่ยง และรู้ไม่เท่าทันนี้เอง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงได้ร่วมมือกับ สมาคมวิทยุและสื่อเพื่อเด็กและเยาวชน (สสดย.) จัดงานประกาศรางวัลดีเด่นด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และการรู้เท่าทันสื่อ ประจำปี 2567 ด้วยวัตถุประสงค์ มุ่งเป้าสนับสนุนให้เกิดนักสื่อสารสุขภาวะในกลุ่มเด็ก  เยาวชน ครอบครัว และกลุ่มเปราะบาง พัฒนากลไกเฝ้าระวังสื่อที่สร้างผลกระทบเชิงลบต่อสังคม ยกระดับนวัตกรรมการสื่อสารให้เกิดระบบสื่อสุขภาวะ และสุขภาวะทางปัญญาครอบคลุมทุกพื้นที่ สร้างความตระหนักรู้ในเรื่องความสำคัญของการรู้เท่าทันสถานการณ์โลกยุคดิจิทัล

นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร รองผู้จัดการ สสส. ระบุว่า ขณะนี้โลกยุคดิจิทัล เด็กและเยาวชนกำลังเผชิญปัญหากับภัยคุกคามบนสื่อออนไลน์ที่แสวงหาผลประโยชน์ทางเพศ เกม พนัน และการโฆษณาชวนเชื่อ โดยเฉพาะเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าที่มุ่งเป้าไปยังกลุ่มเยาวชนอย่างชัดเจน การร่วมกับ สสดย.นั้นเพื่้อการสรรหาบุคคล และองค์กรต้นแบบที่ประกาศเจตนารมณ์ต่อสังคมอย่างชัดเจนด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และการรู้เท่าทันสื่อ การประกาศรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติทั้งประเภทบุคคลต้นแบบ และองค์กรต้นแบบ จะสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ภาคี ในการร่วมกันขับเคลื่อนสังคมให้เกิดการใช้สื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ เกิดความตระหนัก นำไปสู่การกำหนดนโยบาย วางแผน และออกแบบกิจกรรมในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และการรู้เท่าทันสื่อให้แก่เด็กและเยาวชน และบุคคลแวดล้อมรอบตัวเด็ก ตัดโอกาสผู้กระทำผิด ช่วยปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการอยู่ในโลกออนไลน์อย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย และเกิดสังคมสุขภาวะ (Healthy Communication promotes Healthy Society) ที่เข้มแข็งและยั่งยืนนั่นเอง

ดร.ธีรารัตน์ พันทวี วงศ์ธนะเอนก นายกสมาคมสสดย. กล่าวว่า “วันนี้มีผู้ได้รับรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติประเภทบุคคลต้นแบบ 6 คน จากผู้สมัคร 50 คน และองค์กรภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม ที่ขับเคลื่อนด้านการสร้างสรรค์การสื่อสารสุขภาวะต้นแบบ 15 แห่ง  จากภาคี 100 แห่ง ที่จะมาเป็นพลังสำคัญร่วมสร้างแรงบันดาลใจ ร่วมขับเคลื่อนให้หน่วยงาน และภาคประชาสังคม สนับสนุนการใช้สื่ออย่างมีสุขภาวะ ส่งเสริมการสร้างคุณค่า หรือนวัตกรรม ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และสร้างการรู้เท่าทันเพื่อให้ผู้ใช้สื่อรับมือกับภัยออนไลน์หลากหลายรูปแบบได้อย่างปลอดภัยในการขับเคลื่อน”

นางญาณี รัชต์บริรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา (สำนัก 11) สสส.เปิดเผยว่า บนโลกออนไลน์เราต้องมีพลเมืองรู้เท่าทันสื่อ ทุกวันนี้ทุกชนชั้นใช้อินเทอร์เน็ต 88% สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตจำนวน 98% ผ่านโทรศัพท์มือถือใช้เวลา 7-8 ชั่วโมง/วัน ทั้งการดูทีวีออนไลน์ การเล่น Social Media คนไทยติดอันดับ Top Ten ของโลก ยิ่งมีเทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยทำให้เกิด Fake News ก็ยิ่งเกิดอาชญากรมิจฉาชีพ ดังนั้นเราต้องช่วยกันสร้างสังคมรู้เท่าทันให้มากยิ่งขึ้น พ่อแม่ต้องจัดเวลาเข้ามาดูแลการใช้สื่อของลูกไปในทางที่เหมาะสม เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันอย่างดี ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมไปในทางที่ดี

“การให้รางวัลครั้งนี้เป็นการให้กำลังใจคนที่ช่วยกันสร้างนิเวศน์สื่อ รวมพลังกันรู้เท่าทันสื่อ พัฒนากระบวนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนางานต่อเนื่อง Maping เครือข่ายรายชื่อองค์กร การที่เด็กนักเรียนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นบนเวที เป็นกระบอกเสียงในการสื่อสารสุขภาวะ เป็นการอยู่ในโลกออนไลน์ที่มีความเชี่ยวชาญ เป็นวิถีชีวิตของเขา มีส่วนร่วมในการสร้างสื่อเด็กและเยาวชนได้เป็นอย่างดี” นางญาณีชี้แจง

นพ.สุเทพ เพชรมาก เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เปิดเผยว่า สช.มีภารกิจสำคัญคือ การพัฒนานโยบายสาธารณะด้านสุขภาพแบบมีส่วนร่วม  จึงได้สานพลังกับ สสส.และ สสดย.ขับเคลื่อนสังคมด้านสุขภาวะ โดยเฉพาะในประเด็นด้านการรู้เท่าทันสื่อ ซึ่งถูกกำหนดอยู่ในมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติตั้งแต่ปี 2551  มติที่ว่าด้วยผลกระทบของสื่อต่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว ทั้งนี้ การยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคลและองค์กรต้นแบบที่ขับเคลื่อนด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และการรู้เท่าทันสื่อ จะเป็นเครื่องมือหนึ่งในการประเมินผลในการขับเคลื่อนงานด้านสุขภาวะที่เกี่ยวข้องกับสื่อในสังคมไทย  ที่ สช.สานพลังร่วมกับภาคีขับเคลื่อนมากว่า 10 ปี และสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ทำงานด้านนี้ เพื่อให้มีขวัญและกำลังใจที่จะสืบสานการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ การรู้เท่าทันสื่อ และการสื่อสารอย่างมีสุขภาวะต่อไป.


ผู้ได้รางวัลโล่และเกียรติบัตรดีเด่น

รางวัลการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และการรู้เท่าทันสื่อ รางวัลโล่เกียรติยศ

ประเภทบุคคลดีเด่น ได้แก่ พลตำรวจตรี นิเวศน์  อาภาวศิน รอง ผบช.สอท.          

ประเภทสถานศึกษาดีเด่น ได้แก่ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี

ประเภทประเภทองค์กรภาครัฐดีเด่น ได้แก่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3    ประเภทภาคประชาสังคมดีเด่น ได้แก่ มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย โดย ดร.ศรีดา ตันทะอธิพานิช กก.ผจก.มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย

รางวัลการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ รางวัลเกียรติบัตร

ประเภทบุคคลดีเด่น ได้แก่ 1.รศ.ดร.พนม คลี่ฉายา 2.อาจารย์เจนจิรา โพธิ์ชัย 3.รศ.ดร.กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ 4.ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน 5.ดร.ดนัย หวังบุญชัย

ประเภทสถานศึกษาดีเด่น ได้แก่ 1.โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี กรุงเทพฯ 2.โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

ประเภทองค์กรภาครัฐดีเด่น 1.บ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดมหาสารคาม กรมกิจการเด็กและเยาวชน 2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขตสาม 3.สำนักงานส่งเสริมดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม  หรือดีป้า 4.สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดศรีสะเกษ

ประเภทภาคประชาสังคมดีเด่น ได้แก่ 1.ศูนย์สร้างสรรค์สื่อเพื่อเด็กเยาวชนและครอบครัว 2.กลุ่ม Critizen 3.สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทย ในพระอุปถัมภ์ฯ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชาวเชียงใหม่อุ่นใจ สสส.-มช. เดินหน้าโครงการ "Chiang Mai Greentopia" ช่วยลดสารเคมีตกค้างในเลือดได้สูง ภายใน 2 ปี ลดเหลือ 66% จาก 90%

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 13 ม.ค. 2568 ที่สวนผักฮักร้องขุ้ม อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ตัวแทนเกษตรกร ภาคีเครือข่าย และสื่อมวลชน ติดตามการดำเนินงานโครงการ Chiang Mai Greentopia : ต้นแบบการสร้างความมั่นคงทางอาหาร

พลังแห่งการเล่น..พาเด็กก้าวข้ามวิกฤต ไทยเปิดตัว"สมาคมการเล่นนานาชาติ"

การเล่นเพื่อเปลี่ยนโลก!! เชื่อว่าผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ มีปุจฉา และต้องการวิสัชนาว่า ทำไม?!? เรื่องเล่นๆ ถึงจะมาเปลี่ยนโลกได้ และท่ามกลางสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจ

สสส. สานพลัง พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม)-Mappa-กสศ.-กทม. จัดเทศกาล 'Relearn Festival 2025' ชูแนวคิด 'Intergeneration ลดช่องว่างระหว่างวัย สร้างความเข้าใจระหว่างกัน' วันที่ 11 ม.ค.-9 ก.พ.68 นี้

เปิดพื้นที่ชวนครอบครัวเปลี่ยนมุมมอง-สร้างทักษะการเลี้ยงดูเด็กยุคใหม่ ลดช่องว่างระหว่างวัยของเด็ก-ผู้ใหญ่ หลังพบเด็ก 25.6% ไม่ได้อาศัยอยู่กับพ่อแม่ ความรุนแรงในครอบครัวพุ่งสูงขึ้น 2 เท่า ในรอบ 7 ปี

เด็กไทยป่วยซึมเศร้าทะลุ 2,200 คน ต่อประชากรแสนคน เสี่ยงทำร้ายตัวเอง 17.4% ซ้ำเข้าไม่ถึงบริการสุขภาพจิต

ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สานพลังภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนงานสุขภาวะเด็กและเยาวชน จัดกิจกรรม “ดูแลวัยเด็กด้วยศิลปะด้านใน เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ปี 2568” ภายใต้โครงการโมเดลวิทยากรต้นแบบศิลปะด้านในเชิงลึกเพื่อขยายชุมชนการเรียนรู้และพัฒนาสุขภาวะเด็กก่อนวัยรุ่น เปิดพื้นที่ให้เด็ก เยาวชน พ่อแม่

กรมกิจการเด็กและเยาวชน จับมือ มูลนิธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว-สสส. จัดเสวนาสะท้อนปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ 68 เสริมแกร่งความรู้ความเข้าใจด้านสิทธิเด็ก

เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 8 ม.ค. 2568 ที่โรงแรมแมนดาริน กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) พร้อมด้วยมูลนิธิเด็ก เยาวชน และครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ชี้คนไทย"พร่อง"กิจกรรมทางกาย สสส.รณรงค์สร้างสุขกระฉับกระเฉง

โรคไม่ติดต่อ (NCDs) เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 1 เฉลี่ย 3 แสนคนต่อปี คิดเป็น 75% ของสาเหตุการตายทั้งหมด ส่งผลให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจสูง