มะพร้าว ยังคงเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ มีพื้นที่ปลูกโดยรวมทั้งประเทศ 862,718 ไร่
โดยให้ผลผลิตแล้วเนื้อที่ 834,000 ไร่ ผลผลิตออกสู่ตลาด 842,306 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 1,010 กิโลกรัมต่อไร่ สร้างมูลค่ากว่า 6,887 ล้านบาท ซึ่งจังหวัดชุมพรเป็นแหล่งผลิตมะพร้าวที่สำคัญของประเทศ มีพื้นที่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ รองจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พื้นที่ปลูกของจังหวัดชุมพร 97,155 ไร่ ผลผลิต 113,635 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 1,246 กิโลกรัมต่อไร่ มีแหล่งปลูกที่สำคัญ ได้แก่ อำเภอเมืองชุมพร อำเภอสวี อำเภอหลังสวน
นายวีรศักดิ์ บุญเชิญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า การผลิตมะพร้าวให้มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับของตลาด จะต้องพัฒนาศักยภาพการผลิตและเสริมสร้างภาพลักษณ์คุณภาพมะพร้าวชุมพรให้ได้มาตรฐาน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค และเพิ่มมูลค่าทางการตลาดให้เกษตรกร กรมส่งเสริมการเกษตร โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร ร่วมกับหน่วยงานภาคีระดับท้องถิ่น ร่วมผลักดันให้เกษตรกรในโครงการระบบส่งเสริมเกษตร
แบบแปลงใหญ่ สร้างมาตรฐานให้กับแปลงตนเอง ตั้งแต่การใช้ต้นพันธุ์ดี การดูแลบำรุงรักษา ตลอดจนการเก็บเกี่ยว ให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ รวมถึงกระบวนการส่งออกที่รักษาคุณภาพจนถึงผู้บริโภค แลได้รับมาตรฐาน GAP และมาตรฐาน GAP Monkey Free Plus คือกระบวนการไม่ใช้แรงงานลิง จะเป็นระบบที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดสายการผลิต จึงสามารถสร้างความเชื่อมั่นต่ออุตสาหกรรมมะพร้าวส่งออกไทยได้ ปัจจุบันจังหวัดชุมพร มีเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวในโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ ได้รับรองมาตรฐาน GAP จำนวน 186 แปลง จำนวน 158 ราย พื้นที่ 1,119.25 ไร่ และมาตรฐาน GAP Monkey Free Plus จำนวน 163 แปลง จำนวน 135 ราย พื้นที่ 967.5 ไร่
สำหรับวิธีทดแทนหลักภูมิปัญญาชาวบ้านจากการใช้แรงงานลิงเก็บเกี่ยวผลผลิต เพื่อป้องกันการร้องเรียนการใช้แรงงานสัตว์ และเป็นไปตามมาตรฐาน GAP Monkey Free Plus สำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร เสนอทางเลือก ให้เกษตรกรหันมาใช้นวัตกรรมในการเก็บเกี่ยวผลผลิตมะพร้าวอย่าง เครื่องปีนต้นมะพร้าว หรืออุปกรณ์เก็บเกี่ยวมะพร้าวแบบต่อด้ามยาวถอดประกอบได้สำหรับการเก็บเกี่ยวมะพร้าวต้นสูง ที่พัฒนาขึ้นโดยศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรม สุราษฎร์ธานี
เกษตรกรกลุ่มแปลงใหญ่มะพร้าวตำบลบางสน อำเภอปะทิว เกิดจากการรวมตัวของเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวเพื่อที่จะหาแนวทางแก้ไขปัญหาการขายผลผลิตในรูปผลสด ซึ่งผู้ซื้อเป็นผู้กำหนดราคา ทำให้ในบางช่วงเวลาราคาผลผลิตจะต่ำและหยุดการรับซื้อ กลุ่มจึงได้ทำการแก้ไขผลผลิตที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ โดยทำการเลือกผลมะพร้าวต้นที่มีคุณภาพดีทำการเพาะพันธุ์ เพื่อสร้างมูลค่าแทนการปล่อยให้สูญเสียผลผลิตโดยไร้ประโยชน์ โดยใช้ชื่อว่าต้นกล้าพันธุ์มะพร้าวแกง ตำบลบางสน ชายทะเลชุมพร ปัจจุบันกลุ่มมีสมาชิกจำนวน 49 ราย มีพื้นที่ปลูก 450 ไร่ ทางกลุ่มได้สนับสนุนให้สมาชิกดำเนินการพัฒนาศักยภาพการผลิต ตามคำแนะนำ และการสนับสนุนของกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อให้ได้มาตรฐาน GAP และมาตรฐาน GAP Monkey Free Plus จนปัจจุบันสมาชิกได้รับมาตรฐาน GAP แล้วจำนวน 45 ราย ได้รับมาตรฐาน IFOAM จำนวน 1 แปลง และมาตรฐาน GAP Monkey Free Plus แล้วจำนวน 30 ราย สามารถส่งขายไปยังต่างประเทศ สร้างรายได้ให้เกษตรกร และนอกจากส่งผลสดขาย ทางกลุ่มยังมีการแปรรูปผลผลิตมะพร้าว โดยการผลิตมะพร้าวขาว น้ำมะพร้าวขายภายในประเทศ และอนาคตเพื่อต่อยอด และเพิ่มมูลค่าสินค้า จะนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรคือ กะลามะพร้าว ผลิตเป็นถ่านกะลามะพร้าวและถ่านอัดแท่ง ผิวมะพร้าวดำ และเศษเนื้อมะพร้าวเหลือจากการผลิตมะพร้าวขาวอบแห้ง ส่งโรงงานบีบสกัดน้ำมัน รวมถึงผลผลิตน้ำส้มควันไม้ ที่ได้จากการเผาถ่าน สร้างรายได้เพิ่มให้กับสมาชิกกลุ่มอีกทางหนึ่ง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แปลงใหญ่กล้วยน้ำว้า เพชรบุรี วางแผนกู้วิกฤต
นายวีรศักดิ์ บุญเชิญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตร เช่นเดียวกับเกษตรกรแปลงใหญ่กล้วย หมู่ 2,3,6
กรมส่งเสริมการเกษตร ดัน 'กาแฟบ้านมณีพฤกษ์' สู่แปลงใหญ่ เพิ่มรายได้เกษตรกร
กรมส่งเสริมการเกษตร เข้าพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนกาแฟบ้านมณีพฤกษ์ สู่แปลงใหญ่กาแฟบ้านมณีพฤกษ์ และมุ่งเป้าพัฒนาสู่เกษตรมูลค่าสูง ภายใต้แนวคิด ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม
แปลงใหญ่ผักบ้านบางท่าข้าม สุราษฎร์ธานี ผลิตพืชผักคุณภาพ ปลอดภัย ได้มาตรฐาน สร้างรายได้สู่ชุมชนกว่า 4 ล้านบาทต่อปี
นายวีรศักดิ์ บุญเชิญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ในปี พ.ศ. 2558 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบนโยบายสำคัญในการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร
กรมส่งเสริมการเกษตรดันฉะเชิงเทราเป็นแหล่งผลิตมะม่วงคุณภาพดี ส่งเสริมการรวมกลุ่มแปลงใหญ่ พัฒนาเป็นผลไม้อัตลักษณ์ ก้าวสู่สินค้า GI
นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า มะม่วงเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดฉะเชิงเทรา เนื่องจากมีรสชาติดี
กรมส่งเสริมการเกษตรสนับสนุนต้นพันธุ์เบญจมาศสะอาด ส่งเสริมสมาชิกแปลงใหญ่ จ.อุบลฯ
แปลงใหญ่ไม้ดอกไม้ประดับบ้านตาติด จ.อุบลราชธานี ขยายพื้นที่ปลูกเบญจมาศมากขึ้น หลังตลาดอีสานขยายตัว ทำให้ต้องการต้นพันธุ์ดีจำนวนมาก ด้านกรมส่งเสริมการเกษตรโดยศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 5
ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลโรงเข้ คว้ารางวัลชนะเลิศระดับประเทศ
กรมส่งเสริมการเกษตร ประกาศรายชื่อศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) ดีเด่น ระดับประเทศ ประจำปี 2566 โดย ศจช. ตำบลโรงเข้ จังหวัดสมุทรสาคร ได้รับรางวัลชนะเลิศ ศจช. ดีเด่น