คนคอนศรีฯมีหนึ่งเดียว สร้างพลังชุมชนเข้มแข็ง สู่“นครแห่งความสุข”

ระหว่างวันที่ 28-29 ส.ค. 67 ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมกับ 11 หน่วยงานภาคีเครือข่าย จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการและเปิดตัวโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรรมราช นวัตกรรมทางสังคมเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งพื้นฐานของประชาธิปไตยอัตลักษณ์ไทย  นำโดย สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) หรือ พอช. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เพื่อเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้ภาคประชาชนที่มีการรวมกลุ่มกันขับเคลื่อนชุมชนและสังคม และการสร้างการมีส่วนร่วมและเสริมพลังจากคนในพื้นที่ เชื่อมร้อยความสัมพันธ์ ออกแบบรูปแบบการกระบวนการทำงานที่เหมาะสม ของคนนครศรีธรรมราช มีผู้เข้าร่วมกว่า 100 คน ณ ห้องประชุม 1 อาคารวิจัยและบริการวิชาการ อุทยานสวนพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

เส้นทางและหมุดหมายสู่“นครแห่งความสุข” จากการขับเคลื่อนงานของจังหวัดนครศรีธรรมราชที่ผ่านมาเป็นการเคลื่อนงานเชิงปัจเจก ต่างคนต่างทำ มีการร่วมตัวกันน้อยโครงการวิจัยฯถือว่าเป็นโอกาศที่ดีที่เป็นเครื่องมือสำคัญซึ่งที่ผ่านมามีการขับเคลื่อนงานที่ดี แต่ยังขาดการสนับสนุนในการร่วมกลุ่มการพัฒนากันโดยเราต้องสร้างภาพลักษณ์ความเชื่อใหม่ว่าในความเชื่อว่าคนจังหวัดนครศรีธรรมราชและบางส่วนหน่วยงานบางหน่วยงานยังมองว่าเราเป็นจังหวัดที่ใหญ่และทำงานกันยากในส่วนเเนวทางกับขับเคลื่อนงาน นวัตกรรมทางสังคมเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งพื้นฐานของ ประชาธิปไตยอัตลักษณ์ไทย หลังจากนี้จะมีการออกแบบแผนงานกิจกรรมโดยพื้นที่ดำเนินงานจะครอบคลุมทั้ง 6 เครือข่าย จะเน้นลงในกลุ่มที่จดแจ้งกับทางสภาองค์กรชุมชนทั้ง 2,220 กลุ่ม ทั้งจังหวัด

นิยายของคำว่าชุมชนเข้มแข็ง คือ สามารถพึ่งพาตนเองได้และสามารถจัดการตนเองได้ และสามารถบริหารจัดการทรัพากรในพื้นที่ได้ สร้างการรับรู้ร่วมกัน ร่วมกันขับเคลื่อน ร่วมไปถึงร่วมกันถอดบทเรียน ซึ่งผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจะเป็นเครื่องมือเพื่อขยายพื้นที่กับภาคี  นอกจากนั้นยังสามารถสร้างขบวนคนทำงานในพื้นที่ ในการพัฒนาศํกยภาพ ทั้งด้านขอมูล แกนนำชุมชน ที่ถือว่าเป็นการสร้างโอกาสให้ความเข้มแข็งในชุมชนสู่สถาบันประชาชนที่มีเป้าหมายชุมชนเข้มแข็งประชาธิปไตยยั่งยืน      

ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด  สิงคะเนติ

ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด  สิงคะเนติ คณะนิติศาสตร์ สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์  ได้กล่าวถึงการสร้างพื้นที่กลางระดับจังหวัดเสริมพลังภาคประชาชน โดยการใช้โครงการวิจัยฯเป็นเครื่องมือ ในการเชื่อมร้อย งานการพัฒนาในพื้นที่ให้เกิดความเข้มแข็งที่สืบสานเจตนารมณ์ของอาจารย์ไพบูลย์ ในการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เสาหลักในการขับเคลื่อน รัฐ ทุน ประชาชน (ประชาสังคม) เมื่อภาคประชาชนอ่อนส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมขาดอำนาจการต่อรองในฝั่งนโยบาย ซึ่งหากปล่อยไว้ในระยะยาว จะทำให้เกิดปัญหาเชิงโครงสร้างในสังคมไทย

โครงการวิจัยฯเพื่อเสริมเครื่องมือในการสนับสนุน ในระยะเวลาอันใกล้นี้ 1.องค์กรส่วนกลางในเชิงยุทธศาสตร์ 2.สนับสนุนงานเชิงพื้นที่ศูนย์กฎหมายและนโยบายสาธารณะตั้งเป้า 20 ศูนย์ทั่วประเทศ 3. งานวิจัยโดยมีภาควิชาการเป็นสนับสนุน อำนาจของภาคประชาชนต้องมีฐานมาจากพื้นที่ (การสร้างพื้นที่กลาง เช่น สมัชชาหรือสภาพลเมือง) เกิดกลไกการขับเคลื่อนระดับภูมิภาคจนถึงระดับประเทศ เพื่อให้เกิดอำนาจต่อรองในเชิงนโยบาย “พัฒนาสู่สถาบันอำนาจภาคประชาชน ที่คงอยู่และแข็งแรง” ภาพที่เราอยากเห็นร่วมกันคือ “สังคมที่มีดุลภาพ” ภาคประชาสังคมต้องเข้มแข็ง

นายไมตรี  จงไกรจักร์

นายไมตรี  จงไกรจักร์ ผู้จัดการมูลนิธิชุมชนไท ได้กล่าวว่า  การสร้างพื้นที่กลาง  บทเรียนเรื่องเล่การก้าวย่างของภาคประชาชน พบว่า ปัญหาที่เราเจอเป็นปัญหาที่คนอื่นกำหนดให้เช่่นเมื่อมีชุมชนตั้งอยู่ จึงเริ่มมีการก่อสร้าง โรงเรียน วัด หรือปัญหาที่ดินพอมีคนไปอยู่รัฐออกประกาศกฎหมายป่าไม้“กรมป่าไม้มีประวัติศาสตร์คือการตั้งขึ้นเพื่อการขายไม้ อธิบดีคนที่ 1-3 เป็นต่างชาติ” เหล่านี้สะท้อนให้เราเห็นถึงการมีปัญหาโดยการกำหนดจากระดับนโยบาย  การกำหนดนโยบายต่างๆเพื่อการสนองอำนาจเพียงเท่านั้นซึ่งประชาชนไม่ได้อยู่ในสมาการการตั้งนโยบายในการพัฒนา  การหาคนที่มีบารมีเพื่อเริ่มรวมคนเริ่มโดยอดีตผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อรวมคนแล้ววางแผน ด้วยการค้นหาต้นทุนในจังหวัด ทั้งหมด เช่น เมืองแร่กลางน้ำ บุกเบิกเกษตรกรรม ต้นทุนด้านความสุขในการรวบรวมในระดับนโยบาย เช่น พังงามีความสุขลำดับ 2 ประเทศ ศักยภาพความก้าวหน้าของคนลำดับที่ 25  หลังจากนั้นได้สร้างเป้าหมายร่วมกัน 4 มิติ 10 ยุทธศาสตร์ 1.มิติทางสังคม 2. มิติคุณภาพชีวิต 3.มิติสิ่งแวดล้อม 4.มิติเศรษฐกิจ   เป้าหมายร่วม วิญญาณร่วม 1 พังงา 2 ฐานงานวิจัย 3 ห่วง 4 ขา ทางสังคม คุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ 5 ภาคส่วนราชการ

นายปัญญา เหมทานนท์

นายปัญญา เหมทานนท์ คณะทำงานขับเคลื่อนจังหวัดบูรณาการนครศรีธรรมราช กล่าวถึง ต้นทุนศักยภาพในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มีการเคลื่อนงานในพื้นที่ที่หลากหลาย ผู้นำที่เข้มแข็งร่วมไปถึงทรัพยากรในจังหวัด ทั้ง เขา ป่า นา  และมีหน่วยงานและภาคีในการหนุนเสริมและสนับสนุนในการส่งเสริมงานในพื้นที่ แต่ยังขาดการร่วมตัวในการเคลื่อนงาน และการเชื่อมงานประสานงานส่วนกลางที่ยังมีช่องว่าง และการวิเคราะห์ศักยภาพของตำบลในการออกแบบการวางแผนงานพัฒนาในพื้นที่ ที่กำหนดทิศทางการพัฒนาในพื้นที่เอง ทำให้พื้นที่เสียโอกาสที่เกิดขึ้นทำอย่างไรเราถึงจะใช้ฐานทุนที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด

นายสมภา ใจกล้า

นายสมภา ใจกล้า นายกสมาคมสภาองค์กรชุมชนพัทลุง กล่าวว่า ในการขับเคลื่อนงานในจังหวัดนครศรีฯที่เกิดขึ้น ถือว่ามีความท้าทายของการเคลื่อนงาน จังหวัดนครศรีนฯ ยังไม่มีการกำหนดงานพัฒนาเป็นของตัวเอง ต่อไปจะโดยรัฐและทุนครวบคลุม ดังนั้นเห็นว่าจังหวัดนครศรีฯควรสร้างการพัฒนาร่วมกัน ซึ่งที่ผ่านมาจังหวัดนครศรีฯถือว่าเป็นพื้นที่ที่เข้มแข็งมากทั้งด้านข้อมูล และแกนนำการพัฒนา ในสายงาน พอช. และฐานทุนสำคัญอีกส่วนหนึ่งคือกองทุนสวัสดิการชุมชน ทำอย่างไรเราจะสามารถกำหนด 1 จังหวัด 1 แผนงานได้ โดยให้ชุมชนเข้าไปมีส่วนร่วมด้วย แผนการพัฒนาจังหวัดพัทลุง เป็นแผนที่เริ่มจากการ เพื่อการสร้างพื้นที่กลาง ที่ต่างคนต่างขับเคลื่อนงานโดยมีกระบวนการ 2 ปี เพื่อกำหนดเป้าร่วมกัน พัทลุงมหานคร

นายธนพล เมืองเฉลิม

นายธนพล เมืองเฉลิม ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน กล่าวถึง ในส่วนพอช.มีความมุ่งมั่นการทำงานในพื้นที่นครศรีธรรมราช ทางพอช.มีหน้าที่ส่งเสริมภาคประชาชนหรือผู้ที่เดือดร้อน พี่น้องที่รวมกลุ่มพร้อมที่พัฒนาเพื่อจัดการตนเอง เป็นองค์กรที่ร่วมทำงานกับหน่วยงานภาคีพร้อมยื่นข้อเสนอกับหน่วยงานต่างๆ สร้างเวทีกลางในระดับตำบลและในระดับจังหวัด โดยแต่งตั้งคณะกรรมการมาดูแลเรื่องสุขภาพและสุขภาวะ ในพื้นที่ตำบลพอช.มีแนวเรื่องของ “หนึ่งตำบลหนึ่งโครงการ”จัดทำแผนให้เป็นแผนในระดับตำบลที่เห็นเรื่องของความร่วมมือ อย่างน้อยทรัพยากรของ พอช. จะเห็นที่มากกว่าสภาองค์กรชุมชน เรื่องของที่อยู่อาศัย กองทุนสวัสดิการชุมชน แต่มันสามารถที่จะไปต่อจิ๊กซอว์กับปัญหาที่เราอยากจะแก้ไขไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเปราะบาง เด็กและเยาวชนได้อีกด้วย

นอกจากนี้ในเวทียังจัดให้มีการมอบข้อเสนอนโยบายสาธารณะต่อรองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ของคณะทำงานสมัชชาสุขภาพจังหวัดนครศรีธรรมราช ข้อเสนอนโยบายสาธารณะ6ด้าน19 ภาคีเครือข่าย และ 15 หน่วยงานสนับสนุน โดยมีนโยบายดังนี้ 1.ความมั่นคงทางสุขภาพและการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ 2.ความมั่นคงทางเศรษฐกิจฐานราก 3. ความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4. ความมั่นคงทางปัจจัยพื้นฐานต่อการดำรงชีวิต 5. ความมั่นคงด้านสิทธิและสวัสดิการทางสังคม 6. ความมั่นคงด้านคุณภาพชีวิตของประชากรกลุ่มจำเพาะ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รู้แล้ว! ทำไม 'นายกฯอิ๊งค์' ไม่ลงพื้นที่น้ำท่วมชายแดนใต้ ไปแค่เมืองคอน

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า แนะนำ อุ๊งอิ๊ง จัดลำดับความสำคัญลงพื้นที่

ประกาศผล 8 กองทุน เข้ารับรางวัลองค์กรสวัสดิการชุมชนดีเด่น ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ประจำปี พ.ศ. 2567

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหารชน) หรือ พอช. ร่วมกับ คณะทำงานพิจารณารางวัลองค์กรสวัสดิการชุมชนประจำปี 2567 จัดเวทีพิจารณา รางวัลองค์กรสวัสดิการชุมชน

ชุมชนทั่วประเทศ ระดมข้อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาให้รัฐ ในการประชุม ‘ระดับชาติสภาองค์กรชุมชนตำบล’ ครั้งที่ 16 ปี 2567 เชื่อมั่น “พลังชุมชน พลังประชาชน สามารถเปลี่ยนแปลงประเทศได้”

การประชุมในระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบลครั้งที่ 16’ ปี 2567 ผู้แทนสภาองค์กรชุมชน ทั่วประเทศ ระดมข้อเสนอเชิงนโยบายให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ

“16 ปี สภาองค์กรชุมชนตำบล” “พัฒนาประชาธิปไตยฐานราก สร้างพลังชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง”

‘สภาองค์กรชุมชนตำบล’ จัดตั้งขึ้นมาตาม ‘พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551’ ปัจจุบันเป็นระยะเวลา 16 ปี มีการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนในระดับตำบล เทศบาล และเขต

“วราวุธ” มอบ "ปลัด พม." ร่วมคณะนายกฯ “แพทองธาร” ลุยน้ำท่วมนครศรีฯ - สุราษฎร์ฯ ช่วยผู้ประสบภัย

เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2567 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.)

'อิ๊งค์' นั่งเรือแจกถุงยังชีพ บอกปีนี้น้ำท่วมเยอะ แต่เงินเยียวยามาเร็วแน่นอน

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์อุทกภัยและมอบถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ โดยเมื่อเดินทางมาถึงประชาชนที่มารอต้อนรับตะโกนบอก “รักนายกฯ” พร้อมขอจับมือทักทาย ถ่ายรูปเซลฟี่กับนายกฯและสามี